คิดบวก..ใช่ว่าจะดีเสมอไป ?

@ จั่วหัวเรื่องแบบนี้ผมว่าสำนักคิดบวกทั้งหลายคงจะเตรียมด่าผมไว้บ้างแล้วล่ะว่า นี่คุณกำลังคิดอะไรที่สวนทางกับชาวโลกเขามากไปหรือเปล่าหรือว่าคุณเป็นคนที่คิดลบเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย น่าคาดว่ามันจะต้องออกมาในรูปแบบนี้ ยุคนี้ทั้งโยมนักพูดและพระนักเทศน์ก็หยิบเอาเรื่อง “คิดบวก” นี้มากล่อมเกลาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลาว่า “คิดบวกเข้าไว้ อะไรจะได้ดีขึ้น”

@ ก็ธรรมดาแหละผมมันเป็นประเภทที่คิดไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ผมคิดผมก็พยายามที่จะหาเหตุผลมารองรับอยู่ว่า ที่ผมคิดแบบนี้ไม่ได้ไร้สาระหรือสุดโต่งจนเกินเหตุ เพราะในโลกนี้ คนในโลกส่วนมากชอบอะไรที่ “สุดๆไปเลย” ทำงานก็สุดๆไปเลย จนบางครั้งก็กลายมาเป็นคนบ้างานไป เที่ยวก็สุดๆไปเลย ที่สุดก็กลายมาเป็นนักเมานักเที่ยว หยำเป..เอาเป็นว่า เราจะเอาอะไรดีถ้าเราตั้งคำถามว่า “คิดบวกก็ใช่จะดีเสมอไป ?”

@ นักคิดเชิงบวกหรือครูสอนคิดบวกในสมัยพุทธกาล ?

ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผมว่ามาดูวิธีคิดของพระพุทธเจ้ากันก่อนไหมครับว่า ทรงสอนให้คิดกันอย่างไรหรือพระองค์ทรงคิดอย่างไร ต่อเรื่องของโลกและคิดให้เป็นแบบชาวโลก ผมว่าอินเดียยุคนั้นมีนักคิดจำนวนมากมี “คุรุ” ก็ดาษดื่นมากมายสอนกันไปทั่วอินเดียเอาตัวเลขคร่าวๆที่สอนร่วมสมัยกับพระพุทธองค์เอาตัวเลขมากๆนะ คือมีทั้งหมด ๖๒ สำนักที่สอนกัน () แต่ถ้าจะสรุปเอาแค่สั้นๆเล็กๆน้อยก็มีอยู่ ๖ สำนักหรือที่เราเรียกว่าครูทั้ง ๖ (ที.ม.(ไทย)๙/๑๖๐-๑๖๙/…) นั่นเอง โดยที่ครูทั้ง ๖ นี้สอนวิธีคิดแบบเอาใจชาวบ้านทั้งนั้นว่า

ครูคนที่ ๑ ปูรณกัสสปะ สอนว่า ทำชั่วก็ทำไปเถอะไม่มีความผิดคนทำก็ไม่เป็นคนทำบุญบาปไม่ได้มาถึงคนทำอย่าคิดมากไปข่มขืนใครก็ไม่มีความผิดเพราะเราไม่ได้ข่มคืนใครทุกอย่างเกิดขึ้นเองตามกระบวนการของสสาร เกิดแล้วจบไปอย่าไปติดอย่าไปข้องอะไรทั้งนั้น บุญบาปไม่มีอย่าไปคิดมาก

ครูคนที่ ๒ มักขลิโคศาล สอนว่า ทุกอย่างถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้เราต้องคิดมากทุกอย่าเกิดเองไปตามที่ถูกกำหนดไว้ ดีชั่วไม่มีผลอะไร เราเกิดมาไม่ต้องไปคิดพยายามทำอะไร ถ้าจะรวยมันจะรวยขึ้นมาเองเพราะความรวยหรือจนถูกำหนดไว้เรียบร้อย อย่าไปซีเรียด ครูท่านนี้จัดเป็นกลุ่ม “อเหตุกวาทะ” คือกล่าวว่า “ความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ของสัตว์ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ”

ครูคนที่ ๓ อชิตเกสกัมพล ครูคนนี้สอนเอาแบบสบายๆว่าเราเกิดมาจากธาตุ ๔ คือ ดินน้ำ ลมไฟ เมื่อธาตุทั้ง ๔แตกสลายทุกอย่างก็จบกันไม่มีชาติหน้ามีแต่ชาตินี้ ดังนั้น กินเที่ยวให้เต็มคราบ อย่ายั้ง ตายไปเราไม่ได้เอาอะไรไปได้สักอย่างเพราะมันจบแค่ชาตินี้ชาติเดียว แหม..มันช่างเข้ากับสังคมบ้านเราทุกวันนี้เสียจริงๆ ครูท่านนี้เป็นพวก “วัตถุนิยมจ๋า” ทีเดียว

ครูคนที่ ๔ ปกุธกัจจายนะ ท่านสอนเหมือนครูคนที่ ๓ คือสอนว่า สรรพสิ่งเกิดมาจากธาตุ ๗ อย่างเมื่อธาตุนั้นแตกสลายก็จบสิ้นกัน ไม่มีบุญไม่มีบาป พ่อแม่ไม่มีบุญคุณ หรือสมณพราหมณ์ทั้งหลายก็แค่คนธรรมดาไม่มีบุญอะไรให้ใครหรือบาปตกแก่ใครเพราะทุกอย่างเกิดมาแล้วสูญ (อุจเฉททิฏฐิ)

ครูคนที่ ๕ สญชัยเวลัฏฐบุตร ครูคนนี้สอนแบบเอาใจชาวบ้านสุดๆคือใครมาถามอะไร ใครคิดอย่างไรไม่เคยขัดใจใคร ใครว่าอย่างไรก็ถูกสำหรับคนๆ ครูประเภทนี้มีวาทะไหลลื่นตามความพึงพอใจของคนเที่ยว เสพสุข สุรานารีดีไหมครับ ก็ตอบว่าดีๆเห็นด้วยๆ ไม่เคยขัดใจใคร (อมราวิเขปกทิฏฐิ) ครูประเภทนี้ไม่คิดจะขัดใจคน เอาใจคนแบบสุดๆทุกคนดีเท่าเทียมกันไม่มีใครเลวกว่ากัน หรือทุกคนถูกหมดไม่มีใครผิดนั่นเอง

ครูคนที่ ๖ นิครนถนาฏบุตร ครูคนสุดท้ายนี้สอนเอาใจสายเหนียวหรือสายเคร่งครัด ประเภทต้องตรงตามแบบเป๊ะๆปฏฺบัติเคร่งเอาใจคนที่ชอบแบบเคร่งๆเคร่งขนาดเปลือยกายปฏิบัติแบบไม่เอาอะไรกับชีวิตเพื่อค้นหาพระนิพพาน คือรู้ว่าคนกลุ่มนี้ชอบเคร่งๆก็สอนเรื่องเคร่งๆนี่แหละเพื่อเอาใจคน

จะเห็นว่า “เจ้าลัทธิทั้ง ๖” คนนี้ถือว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มแนวคิดหรือวิธีคิดของคนอินเดียในยุคนั้น โดย ครูคนที่ ๑-๕ กลุ่มนี้สอนแบบ “เอาใจคนสอนเอาที่สบายๆไม่อยากให้คนคิดมากก็คือสอนให้คิดบวกกับชีวิตนั่นเอง คือมีบางคนไปฆ่าคนมา ไปข่มขืนฆ่าลูกสาวชาวบ้านมา เมื่อทำกรรมมาแล้วเกิดความทุกข์ก็ไปหาครู คนที่ ๑-๕ นี้ ครูกลุ่มนี้ก็อัดความคิดบวกเข้าไปเลยว่า “มึงอย่าคิดมากบุญบาปไม่มีตกมาถึงมึงหรอกเพราะหลักการว่าอย่างนี้ๆมึงอย่าคิดมากไปเลยไม่มีความผิดใดๆอย่าคิดมากคิดบวกเข้าไว้ คือ พวกครูทั้ง ๕ คนแรกนี้มีลัทธิขึ้นมาเพื่อเอาใจคน ผ่อนความรู้สึกผิดของคนที่ทุกข์มาแล้วจะมีทางออกอย่างไร ก็ตอบมันไปแบบนั้นๆพอเขาสบายใจเขาก็เอาลาภสักการะมาให้ สอนคิดบวกมันก็แค่นั้นจริงๆ ส่วนครูคนที่ ๖ ครูคนนี้ดักพวกพุทธจริต กับพวกวิตกจริต กลัวนั่นกลัวนี่อยากได้อาจารย์ที่เคร่งๆก็จัดเต็มตามที่ขอเอาเคร่งๆเลยด้วยการทรมานร่างกายตัวเองไปเลย คนจริตที่มาทางนี้ก็ชอบสิครับ โอ่โห ยกย่องเชิดชูกันไปใหญ่ แหม.ดีโคตรๆเลย

@ พระพุทธเจ้าสอนให้วางท่าทีต่อกลุ่มความคิดบวกแบบนี้ไว้อย่างไร ?

เอาล่ะมาถึงประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าคิดอย่างไรกับพวกนักบวช “ตอแหล” สอนคิดบวกแบบสุดโต่งแบบนี้ คือแบบที่ว่ามาทั้งหมดนั้น คำตอบคือพระพุทธองค์ทรงสรุปแนวคิดเชิงบวกแบบตอแหลๆทั้ง ๖ สำนักนั้น เป็น ๒ กลุ่ม คือ

(๑) ทรงจัดเจ้าสำนักที่ ๑-๕ ไว้ในกลุ่มของ “กามสุขัลลิกานุโยค” คือกลุ่มนักคิดนักบวชที่สอนวิชาเอาใจคนส่งเสริมสนับสนุนให้คนติดสุขหาความสุขให้เกิดกับตนแบบไม่รับผิดชอบบางสำนักสอนให้ปฏิบัติแบบสุดโต่งเพราะเชื่อว่ามีเฉพาะโลกนี้โลกหน้าไม่มี ดังนั้น จงจัดเต็ม ให้กับชีวิตแบบว่า เป็บซี่ดีที่สุดก็ไม่ปาน พวกคิดบวกพวกนี้เรียกง่ายๆว่าเป็นพวกคิดบวกแบบตอแหลเอาใจชาวบ้านไม่ได้สอนวิธีคิดตามที่เป็นจริง

(๒) ทรงจัดเจ้าสำนักหรือเจ้าลัทธิที่ ๖ คนสุดท้ายนี้ไว้ในกลุ่มของ “อัตตกิลมถานุโยค” คือพวกสอนคิดเชิงบวกแบบเฉพาะกลุ่มของตนที่ชอบความเคร่งครัดชนิดผิดนิดผิดหน่อยก็ไม่ได้ต้องเาอใ้ชัดเจนสุดๆไปเลยกับชีวิต ด้วยการทำลายตนเองด้วยการเปลือยกายอดอาหารโดยคิดว่า พวกที่มีเสื้อผ้าคือพวกที่ยึดติดยังมีความละอาย ดังนั้น ผู้ที่ไม่ยึดติดก็คือพวกที่ไม่ต้องสวมเสื้อผ้า ปล่อยวาง (แบบควายๆ)ด้วยการไม่ต้องสวมเสื้อผ้าใครทำได้คนนั้นถือว่าเป็น “พระอรหันต์” ซึ่งพ่อตาของนางวิสาขาเคยนิมนต์พระอรหันต์เปลือยพวกนี้ไปฉันที่บ้านมาแล้ว(ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๒/๙๒)

กล่าวโดยสรุป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า แนวคิดเชิงบวกของอินเดียยุคนั้น มีอยู่ ๒ กลุ่มนี้ก็คือ (๑)กลุ่มกามสุขัลลิกานุโยค และ (๒) กลุ่มอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งทรงตรัสชัดเจนว่า “พวกคิดบวกทั้ง ๒ กลุ่มนี้เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” (วิ.ม.(ไทย)๔/๑๓/..)

@ แนวทางการ “คิดบวกเชิงพุทธ” เป็นอย่างไร ?

คำถามที่จะตามมาก็คือ เมื่อทรงจัดกลุ่มแนวคิดเชิงบวกร่วมสมัยในอินเดียยุคนั้นเป็นสองกลุ่มแล้ว ถามว่าทรงมีท่าทีหรือ “ทรงกำหนดแนวคิดเชิงบวกของชาวพุทธ”เอาไว้อย่างไร ? คำตอบง่ายๆครับ เมื่ทรงชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเชิงบวกของครูทั้ง ๖ เป็นอย่างไรแล้วพระพุทะองค์ก็ทรงกำหนดแนวคิดเชิงบวกของพระพุทะองค์เองว่าเป็นรูปแบบการคิดบวกแบบ “มัชฌิมาปฏิปทา” นั่นเอง คำว่ามัชฌิมาปฏิปทา ก็คือการคิดบวกแบบทางสายกลางไม่เอนเอียงไปสู่ที่สุด ๒ ประการที่ได้กล่าวมานั้น คือ ความคิดเชิงบวกของพระพุทธศาสนานั้นจะต้อง “ไม่สุดโต่ง” ต้องเป็นกลางๆ คือ คิดแบบอริยสัจ ๔ คือ (๑) คิดเห็นปัญหา (๒) คิดหาสาเหตุของปัญหา (๓) คิดถึงผลของการแก้ไขปัญหา และ(๔) คิดถึงมรรคาหรือวิถีทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา (วิ.ม.(ไทย)๔/๑๔/..)

กล่าวคือ “วิธีคิดเชิงบวกแบบพุทธ” ก็คือ การคิดแบบมีเหตุมีผลไม่ได้เป็นการคิดแบบเอาใจคนหรือเพื่อทำจิตใจให้สบาย โล่งขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการคิดเพื่อให้เห็นปัญหา เห็นองค์ประกอบของปัญหาและพยาบามหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆให้ได้ ซึ่งการคิดบวกแบบนี้เรียกว่าเป็นการคิดแบบทางสายกลาง ไม่ได้คิดเพื่อเอาใจคนหรือคิดเพื่อเอาใจเข้าข้างตนเองปลอบประโลมใจตนเองให้มีความสุขให้มันหมดไปวันๆเท่านั้น แต่เป็นการคิดเพื่อสร้างความสุขให้กับชีวิตแบบยั่งยืนคือคิดเพื่อแก้ไขปัญหาหรือคิดเพื่อแก้ไขความทุกข์ของตนเองและสังคมนั่นเอง

@ เอาล่ะครับ เห็นไหมครับว่า “คิดบวก” บางอย่างก็ไม่ได้ดีเสมอไปนะครับ คิดบวกที่ดีต้องคิดเพื่อแก้ทุกข์ไม่ได้เป็นคิดเพื่อปลอบใจให้ติดในสุขหรือเพิ่มทุกข์เท่านั้นนะครับ เอาล่ะเช้านี้กผมก็มีอะไรๆทมาสะกิดต่อมความสงสัยของท่านเพียงเท่านี้นะครับ ได้อะไรก็บอกกันบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

FB-Naga King

Leave a Reply