กรณีดราม่า’แพ้เป็นพระ ชนะเป็นเณร’ แข่งขันทักษะสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่ข่อนแก่น

วันที่ 20 ส.ค.2562 เฟซบุ๊ก Naga King ได้โพสต์ข้อความว่า กรณีดราม่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นเณร ” ใครจะเป็นคนตอบคำถามเรื่องความหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ?

@ กลายเป็นเรื่อง เมื่อทีมสามเณรแข่ง speed drifter ชนะทีมโยมที่ ม.มข.นค. ?

ผมพึ่งเห็นข่าวที่แชร์กันทางหน้าเฟซบุ๊กเมื่อไม่กี่วันมานี้ เรื่องที่สามเณรจากโรงเรีบนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อ.เมือง จ.หนองคาย แข่งขันทักษะทางวิชาการในงานสัปดาห์วิชาการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ซึ่งมีภาพการมอบรางวัลชนะเลิศให้กับสามเณร 4 รูปที่ชนะการแข่งขัน E-sport ซึ่งผมมองแว็บแรกก็รู้สึกดีอยูนะครับว่า เออ..สามเณรบ้านผม(หนองคาย)นี่ก็เก่งไม่หยอกเหมือนกันที่ไปเอาชนะชาวบ้านได้ในงานแข่ง แต่ใจหนึ่งลึกๆก็มองเห็นภาพแล้วก็เกรงว่าจะมีคนหยิบไปเป็นประเด็นทางสังคมถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเป็นแน่ ซึ่งความกังวลของผมก็เป็นจริงเมื่อต่อมาโลกออนไลน์ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามธรรมวินัยหรือไม่

เรื่องนี้ทางผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงราม เหมือนฤทธิ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้จัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 15-18 ส.ค.62 เป็นการจัดงานร่วมกัน 2 งาน เนื่องจากสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อบริการงานด้านวิชาการทั้งด้านวิทยาศาสตร์และแขนงต่าง ๆ ที่วิทยาเขตหนองคายได้เปิดสอน โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าร่วมการแข่งขันด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง Soft Skill ซึ่งไม่เน้นหนักทั้งวิชาการหรือวิทยาศาสตร์เสียทีเดียว ให้เด็กได้แสดงความสามารถที่เด็กชอบออกมา และเป็นการให้นักศึกษาทั้ง 4 คณะของวิทยาเขตหนองคายได้มีเวทีในการนำเสนอความรู้มาใช้จริงในรูปแบบของสตาฟจัดการแข่งขัน เป็นผู้ให้ความรู้ และเป็นวิทยากร ซึ่งกิจกรรมมีหลากหลายทั้งการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ และการกีฬา ฟุตซอล, E-sport รวม 29 กิจกรรม การที่จัดแข่ง E-sport ขึ้นมาเพราะวิทยาเขตมีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

ดังนั้น E-sport เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สาขาคอมพิวเตอร์ฯ ต้องเข้ามามีบทบาท โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขันก่อนจะประกาศให้ทราบว่าโรงเรียนใดมีคุณสมบัติเข้าร่วมได้ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า โดยโรงเรียนพระปริยัติธรรมก็เทียบเท่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์จะเป็นทางโรงเรียนเป็นผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ใช่ตัวนักเรียนสมัครเอง

สำหรับการแข่งขัน E-sport มีอยู่ 2 รายการ คือ ROV และ speed drifters ซึ่งสามเณรที่ชนะเลิศ ไม่ใช่ ROV แต่เป็น speed drifter แต่คนทำป้ายด้านหลังเวที ทำระบุไว้เฉพาะ ROV ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นรางวัลชนะการแข่งขัน ROV ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าทุกคนเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียน ไม่ว่าเป็นนักเรียนธรรมดา หรือ นักเรียนสามเณร บาลีศึกษา, จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็ถือเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีแผนการเรียนเหมือนโรงเรียนมัธยมทั่วไป ที่ต้องการพัฒนาทักษะการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ และมีครูโรงเรียนส่งเข้าร่วมแข่งขันตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงราม เหมือนฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของสามเณร ทางวิทยาเขตได้สอบถามไปยังกรมการศาสนาแล้วและได้คำตอบว่า กิจกรรมนี้เป็นการแข่งขันทักษะทางคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นการแข่งขันที่ผิดวินัยแต่อย่างใด.(https://www.one31.net/news/detail/13489)

@ ประเด็นคือ “ความเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม ?

สำหรับเรืื่องนี้ที่เป็นปัญหานั้นก็คือการที่สังคมพยายามที่จะถามหาความเหมาะสมของการที่สามเณร (1) เข้าร่วมการแข่งขัน (2) ได้รับรางวัลในการแข่งขันแล้วมีภาพออกทางสื่อ ซึ่งการรับรางวัลและการแข่งขันนั้น สังคมอาจจะมองว่า มันเหมือนกับทางโลกเกินไปไหม ?

ผมว่าสองประเด็นนี้แหละที่ชาวพุทธในสังคมโซเชียลเป็นกังวล ความจริงผมว่าเรื่องที่เขากังวลมองในมุมหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับเพราะเป็น “คำถามเชิงตรวจสอบ” เพื่อให้ผู้รู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาตอบคำถามนี้ หรือ ให้นักวิชาการออกมาให้คำอธิบายในเรื่องนี้ บางทีผมว่าไม่ควรมองว่าปัญหาหรือคำถามที่ถามแบบนี้เป็นคำถามที่หาเรื่องจนเกินไป แต่ควรมองว่าเป็นคำถามที่เขาเหล่านั้นไม่รู้หรือยังไม่ค่อยเข้าใจ และพยายามที่จะแสวงหาคำตอบจากเรื่องนั้นๆอยู่ว่า มันคืออะไร ผมว่าเป็นคำถามที่ดีครับ เมื่อไม่รู้ก็ต้องถาม

สำหรับคนที่จะต้องออกมาตอบคำถามเรื่องนี้ ผมว่าทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายไม่ควรถามข้ามหัวคณะสงฆ์ในพื้นที่ หรือหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย แต่ควรถามตรงไปที่หน่วยงานในพื้นที่เลยก็ได้ครับ คือ

(1) ถามตรงไปที่สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด
(2) ถามตรงไปที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดหนองคาย
(3) ถามตรงไปที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
(4) ถามตรงไปที่มหางิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

ผมว่าหน่วยงานในพื้นที่นั่นแหละจะเป็นผู้ที่ออกมาตอบคำถามได้ดีว่า “ควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม” เพราะหน่วยงานที่ผมว่ามานั้น “มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและมีผู้รู้อยู่เต็มไปหมด” เรื่องที่เกิดขึ้นมาในพื้นที่ไหนก็ควรใช้องค์ความรู้และความรู้ความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป็นผู้ที่ออกมาตอบคำถาม ไม่ควรไปถามหน่วยงานส่วนกลางเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการไม่เห็นความสำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น เหตุการณ์เกิดที่เชียงใหม่ แต่นักข่าวกลับไปถามคนที่ยะลา ผมว่าทำไมไม่ถามคนเชียงใหม่หน่วยงานที่เชียงใหม่ก็จบไปแล้ว อันนี้เป็นข้อที่หนึ่งนะครับที่ผมฝาก

ข้อที่สอง เป็นประเด็นเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น ผมว่า ต้องพิจารณากันในแง่ของ

(1) เนื้อหาของงานที่จัด คืองานที่จัดเป็นงานอะไรถ้าเป็นเรื่องทักษะวิชาการของเด็นักเรียนมัธยมผมว่าสามเณรท่านก็ไปร่วมแข่งขันในฐานะที่เป็นนักเรียนได้ แต่ที่สำคัญผู้ควบคุมดูแลจัดงานต้องจัดพื้นที่ให้ท่านแข่งขันให้เหมาะสมโดยประสานกับโรงเรียนในสังกัด ไม่ให้นั่งใกล้นักเรียนหญิงหรือครูผู้หญิงมากไป การจัดโซนแบบนี้ผมว่าภาพลักษณ์ของสามเณรจะออกมาดีครับ

(2) การจัดการเรื่องสื่อ ผมเห็นว่า ภาพที่ปรากฎทางสื่อมันเร็วเพราะปัจจุบันนี้สื่อมันเร็วกดส่งปั๊บรู้ไปทั่วโลก การรับรางวังของสามเณรหากผู้จัดงานพอเข้าใจวัฒนธรรมของชาวพุทธ คืออาจจะให้ทางโรงเรียน “ส่งตัวแทนขึ้นไปรับรางวัล ซึ่งอาจจะเป็นครูอาจารย์ที่ท่านควบคุมดูแลสามเณรมาร่วมงานหรือร่วมการแข่งขัน ผมว่าหากเป็นแบบนี้ภาพน่าจะสวยงามกว่านี้และไม่ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายเท่านี้” ส่วนจะไปชื่นชมสัมภาษณ์ว่าได้มาอย่างไรนั้นให้เป็นอีกเทคหนึ่งต่างหาก

ส่วนเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมผมว่า เหตุการณ์มันผ่านมาแล้ว อยากให้ผู้เกี่ยวข้องออกมาตอบโดยตรงดีกว่า แต่สำหรับผมผมแอบชื่นชมพี่เณรที่ตั้งใจเรียนรู้และเอาชนะการแข่งขันได้ครับ ส่วนข้อแนะนำก็คือ (1) ผู้ปกครองหรือดูแลสามเณรต้องรู้สมณภาวะของสามเณรต้องให้แข่งในส่วนที่แข่งได้ (2)ผู้จัดการแข่งขันต้องหาพื้นที่ให้ท่านพระเณรได้นั่งในที่เหมาะสม (3) การจัดการรับรางวัลครั้งต่อไปควรให้ตัวแทนขึ้นเวทีไปรับแทนสามเณรจะดีกว่าครับ

ส่วนเรื่องควรไม่ควรเหมาะสมไม่เหมาะสมตามพระธรรมวินัยหรือไม่นั้น ผู้รู้ในจังหวัดหนองคายมีเยอะครับทั้งพระทั้งโยม ช่วยกันออกมาตอบก็จะเป็นการดีที่สุดครับ

Naga King

Leave a Reply