คำต่อคำ : คำแถลงโฆษกพุทธฯ “พระต้องคดีอาญาถูกกักขัง ขาดจากความเป็นพระหรือไม่”

          กลายเป็นประเด็นร้อนและกังขาในหมู่พระสงฆ์และชาวพุทธพอสมควรกับคำแถลงข่าวของนายสิปป์บวร แก้วงาม   ผู้ตรวจการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับพระสงฆ์ เมื่อต้องคดีอาญาแล้วถูกกักขัง แม้ไม่ได้กล่าวคำลาสิกขา ก็ถือว่า “ขาดจากความเป็นพระ”

        เพื่อให้ทราบรายละเอียดประเภทคำต่อคำเนื้อหาคำแถลงของโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ถอดเทปดังนี้

       …ในวาระการประชุม เรื่องวาระการประชุม วันนี้ เรื่องนี้ขอเรียนอย่างนี้ นะครับ มีเรื่องที่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่สังคมชาวพุทธ นะครับ และในหมู่ของพระภิกษุสงฆ์ ในบางเรื่อง ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ก็เลยนำเสนอเรื่องนี้ ต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดทราบ ก็คือกรณีการพ้นจากความเป็นพระภิกษุ กรณีต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ซึ่งในเรื่องนี้ ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ก็ได้ยกกรณีตัวอย่าง ได้ยกข้อกฎหมายมาเทียบเคียง นะครับ เพื่อนำเรียนต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีหลายประเด็นที่เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ยิ่ง นะครับ และที่ประชุมก็ได้ให้การรับทราบ แล้วก็เติมเต็ม ในเรื่องที่จะนำเสนอต่อไป ออกเป็นมติที่จะเวียนไปยังคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ได้รับทราบ

          ในเรื่องนี้มีสาระสำคัญอย่างนี้ จากกรณีที่มีพระภิกษุถูกจับกุม กรณีต้องหาว่า กระทำความผิดอาญา และเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ชาวพุทธ ที่เกี่ยวกับพระภิกษุที่ถูกจับกุม เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการ ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ โดยที่พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้เปล่งวาจา จะถือว่า พ้นจากความเป็นพระภิกษุหรือไม่ และกรณีพระภิกษุรูปนั้น ได้รับการประกันตัวออกมา หรือ พ้นโทษออกมาแล้ว จะกลับมานุ่งห่มจีวร โดยไม่ได้อุปสมบทใหม่ ได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ก่อให้เกิดความสับสนแก่ชาวพุทธ และก็ได้มีผู้แสดงทัศนะในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างกว้างขวาง และเผยแพร่ลงยังช่องทางข่าวในหลายๆ ช่องทางด้วยกัน  ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย กระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

          ในส่วนนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็ได้เสนอมหาเถรสมาคม นะครับ เพื่อได้โปรดทราบถึงแนวปฏิบัติที่บัญญัติไว้ ในข้อกฎหมาย ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

          ในการนี้ ก็ได้นำเอามาตราหลักที่ได้กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 ปรับปรุงแก้ไข 2535 ก็คือ มาตราที่ 28, 29 และ 30มาเป็นหลักในการอธิบาย โดยมีสาระสำคัญอย่างนี้

           พระสงฆ์รูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึกภายใน 3 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

           ข้อที่ 2 หรือ ประเด็นที่ 2 พระภิกษุรูปใด ถูกจับโดยต้องหาว่า กระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด ไม่รับมอบตัวไปควบคุม หรือพนักงานสอบสวน ไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้น มิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการ ให้พระภิกษุรูปนั้น สละสมณเพศเสียได้  ซึ่งตรงนี้ก็เคยอธิบายไปรอบหนึ่ง นะครับ

          ข้อที่ 3 เมื่อต้องจำคุก กักขัง หรือ ขังพระรูปใดตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล ให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ ปฏิบัติงาน ปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณะเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น

          กรณีที่จำเลยยอมสึก ถอดจีวรออก เพราะถูกจับตามความผิดอาญา และพนักงานสวบสวนไม่ให้ประกันตัว ต่อมา ได้รับการประกันตัว กลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุอีก โดยมิได้อุปสมบทใหม่ จะมีความผิดฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องที่แสดงว่าเป็นพระภิกษุสามเณร โดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่า ตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น  ซึ่งก็จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208นะครับ

         อีกกรณีหนึ่ง พระภิกษุที่สละสมณเพศกรณีกระทำความผิดอาญา และศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

        1. ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้จำคุก และรับโทษตามคำพิพากษาศาลแล้ว เมื่อพ้นออกจากคุกสามารถมาบวชได้

       2. ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้รอลงอาญา เมื่อพ้นจากระยะเวลาการรอลงอาญา สามารถเข้ามาบวชได้ เว้นแต่ผู้ที่พ้นจากความเป็นพระภิกษุ เพราะต้องปาราชิกมา ตรงนี้หมายความว่า ต้องคดีอาญาด้วย นะครับ ต้องคดีอาญาด้วย และก็ต้องปาราชิกมาด้วย ไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับที่2 พ.ศ.2535หรือไม่ก็ตาม จะบรรพชาอุปสมบท อีกไม่ได้ เป็นปาราชิก นะครับ ความผิดปาราชิกสึกเพราะปาราชิก แล้วก็สึกทางอาญาด้วย มีความผิดปาราชิกด้วย จะกลับมาบวชอีกไม่ได้ ถ้าหากว่า ผู้ที่โดนสึกในกรณีดังกล่าวตามข้อ 3 มารับบรรพชาใหม่ โดยกล่าวเท็จ หรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษจำคุก นะครับ

         นี่คือในส่วนของข้อกฎหมาย นะครับ ที่นำเรียนที่ประชุมมหาเถรสมาคม และรับทราบในเรื่องนี้ และเรื่องนี้ก็จะออกเป็นมติ ในการจะเผยแพร่ออกไป ยังส่วนราชการ ยังคณะสงฆ์ จะได้รับทราบตรงกัน เข้าใจตรงกัน นะครับ

ผู้สื่อข่าวถาม : ขอถามข้อที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปล่งวาจาลาสิกขา

       โฆษกสำนักพุทธตอบ : จริงๆ ตัวนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา ทีนี่ เมื่อสึกไปตามประมวลกฎหมายอาญาตัวนี้แล้ว หากเมื่อไรมาอ้างว่า ไม่ได้เปล่งวาจา อ้างว่า ไม่ได้เปล่งวาจา เขาถือว่ายังเป็นพระอยู่ แล้วเอาผ้ามาห่ม นึกออกไหมครับ เอาผ้ามาห่ม เขาจะเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๘ ที่กล่าวไปเมื่อกี้ ก็คือ การแต่งกายเลียนแบบพระ

ผู้สื่อข่าวถาม : ถ้าเกิดในกรณีเคสพระภิกษุที่ยังเป็นพระอยู่ แต่ว่า โดนตัดสินว่า “ผิด” แล้วให้รอลงอาญา เคสอย่างนี้

          โฆษกสำนักพุทธตอบ : จริงๆ อย่างนี้ไม่มีครับ ในกรณีที่เป็นพระภิกษุ นะครับ เป็นพระภิกษุ ในกรณีที่ว่า หมายถึงว่า พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการให้ประกันตัวใช่ไหมครับ

ผู้สื่อข่าวถาม : ในกรณีพระวัดกัลยาณมิตร คือว่า ท่านโดนตัดสินคดีอยู่แล้ว       แล้วรอลงอาญา เคสอย่างนี้

        โฆษกสำนักพุทธตอบ : ถ้าเคสอย่างนี้ก็ถือว่า ยังไม่พ้น ตรงนี้ ถือว่า ยังไม่พ้นจากความเป็นพระ นะครับ เพราะว่า หนึ่งประเด็นอยู่ที่เน้นคำว่า “กักขัง” นึกออกไหมครับ คือ กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และกักขัง แต่บังเอิญว่า “ในส่วนของวัดกัลยาณมิตร ท่านไม่ถูกกักขัง นะครับ” คดีก็เดินไป แล้วศาลพิพากษาให้ถึงที่สุด จนสุดท้ายก็ให้รอลงอาญา ซึ่งถือว่า “ตรงนี้ไม่ได้กักขังท่าน” ในกรณีนี้ไม่เข้าข่าย ตามหลักนี้ เพราะว่า ในนี้มันจะมีหัวอย่างนี้ มันมีหัวอย่างนี้ว่า ภิกษุที่สละสมณะเพศ กรณีกระทำผิดกฎหมายอาญา คือ หลักมันอยู่ตรงนี้ก่อน ต้องสละสมณะเพศ เพราะกระทำผิดกฎหมายอาญา นึกออกไหมครับ ทีนี้ ในกรณีของพระเดชพระคุณวัดกัลยาณมิตร ตรงนี้ หนึ่ง ท่านไม่ถูกกักขัง เมื่อไม่ถูกกักขัง ก็ไม่เป็นเหตุให้สละสมณะเพศ นะครับ  “ซึ่งมันคนละเคสกัน”

ผู้สื่อข่าวถาม : กรณีที่ถูกกักขัง แม้ว่า ตนเองไม่ได้เปล่งวาจา แล้วอำนาจการจับสึกก็เป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน (ใช่หรือไม่?)

        โฆษกสำนักพุทธตอบ : ไม่ใช่จับสึก ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจอย่างนี้ครับ แต่อย่าไปเขียนอย่างนี้ครับ ถ้าเขียนอย่างนี้ เดี๋ยวสงฆ์จะโจมตีเอา คือ มีประเด็นอย่างนี้ครับ กรณีที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด หรือ กรณีต้องคดีอาญา เอาอย่างนี้ก่อน เคสแรกก่อน กรณีต้องคดีอาญา แต่พนักงานสอบสวนไม่ให้ประกันตัว นั้นแปลว่า มันเข้ากรณีที่ถูกกักขังแล้วใช่ไหมครับ ไม่ให้ประกันตัว ตรงนี้ครับ เจ้าพนักงานดำเนินการให้พระภิกษุรูปนี้พ้นเสียจากสมณะศักดิ์ (ออโทษ) พ้นจากสมณะเพศ คำว่า ดำเนินการไม่ใช่ แปลว่า สึกเองนะ คือ หมายความว่า ดำเนินการตามกระบวนการของสงฆ์ นะครับ อาจจะนิมนต์พระที่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะให้พระรูปนี้สิกขาลาเพศออกไปได้  มาดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวถาม : ถึงแม้ไม่ได้เปล่งวาจาก็ถือว่าพ้น (ใช่ไหม?)

         โฆษกสำนักพุทธตอบ: ก็พ้นโดยกฎหมาย นะครับ

ผู้สื่อข่าวถาม : ถ้าเคสกรณีที่ผ่านมานี้ ถ้าสมมติท่านเหล่านั้นอ้าง มีหลักฐานมายืนยัน ไม่มีพระผู้ใหญ่มาให้ท่านสึก มาดำเนินการ(ให้ท่านสึก)

        โฆษกสำนักพุทธตอบ : เขาทำตามขั้นตอน เขาจะไม่สึกเอง ไม่สึกเองนะครับ  ยกเว้นกรณีว่า ท่านยอมถอดผ้าเองครับ เห็นไหมครับ ท่านยอมถอดผ้าเอง ก็แปลเอานะ นั่นเป็นเรื่องของการถอดผ้า ก็ไปอีกเรื่อง เป็นเรื่องของทางพระวินัย ก็เป็นอีกมุมหนึ่ง

 ผู้สื่อข่าวถาม :  ถ้าจะสรุปแล้ว ประเด็นนี้คือ ยกเคสที่ว่า ถ้าถูกกักขัง แล้วถ้าเจ้าพนักงานสอบสวนไม่ให้ประกันตัว อย่างไงก็แล้วแต่ถือว่า “สละสมณะเพศ”

       โฆษกสำนักพุทธตอบ : ใช่ครับ

ผู้สื่อข่าวถาม : ในกรณีวัดกัลยาณมิตร ไม่ใช่เคสนี้

      โฆษกสำนักพุทธตอบ : ไม่ได้เข้าเคสนี้

ผู้สื่อข่าวถาม : เพราะว่า ท่านไม่ได้ถูกกักขัง

     โฆษกสำนักพุทธตอบ : คือ เพียงแต่ท่าน ถูกกล่าวหานะครับ แล้วก็ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องการข้อมูล ก็นิมนต์ท่านไปให้ข้อมูล ให้ถ้อยคำ และสุดท้ายมีคำพิพากษาออกมา

ผู้สื่อข่าวถาม : แล้วคำว่า รอลงออาญาละ

       โฆษกสำนักพุทธตอบ : เออ เขามีการถามนะครับว่า คำว่า รอลงอาญา หมายถึง พระสงฆ์หรือไม่  ไม่ได้เกี่ยวกัน อันนี้หมายถึง ผู้ที่กระทำความผิด แล้วก็ถูกสึกมาก่อนแล้ว นึกออกไหมครับ ถูกสึกมาก่อนแล้ว สึกโดยกฎหมายตัวนี้

ผู้สื่อข่าวถาม : ยังไงก็แล้วแต่ หมายความว่า พระสงฆ์ ไม่จำเป็นต้องถูกดำเนินการให้สละสมณะเพศ ก็ไปชี้แจงต่อศาลได้  ก็ไปให้การต่อศาลได้ (ใช่ไหม?)

        โฆษกสำนักพุทธตอบ : ได้  ถ้าไม่ต้องกักขังนะ

        โฆษกสำนักพุทธตอบ : ใช่ครับ  คือ ยกตัวอย่าง อย่างนี้ เพราะมันมีคำว่า ไม่ให้ประกันตัว เข้าใจในจุดนี้ ใช่ไหมครับ สมมติถ้าพระ ก. ท่านจะโดนคดีอาญา ท่านถูกนิมนต์ไป พูดตรงๆ ว่า ถูกควบคุมตัว นั่นแหละ แต่ไปถึงก็ยื่นประกันตัว แล้วพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการให้ประกันตัว ตรงนี้กระบวนการกักขังหายไป

         อันนี้มันคนละเคสกัน…

*****************************

Leave a Reply