พระเทพเวที เลขานุการคณะกรรมการด้านศาสนศึกษา มส.ไขข้องใจ..การศึกษาคณะสงฆ์ระดับใดเทียบเท่าม.6

          พระเทพเวที รก.เจ้าคณะภาค 6 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการด้านศาสนศึกษา มหาเถรสมาคมและกรรมการร่างพระราชบัญญัติพระปริยัติธรรมพุทธศักราช 2562 ที่ประกาศใช้แล้ว ชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับการศึกษาของคณะสงฆ์ระดับไหนจึงเทียบเทียบกับการศึกษามัยธยมปลายสอบเข้ามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งหรือแข่งขันเข้าสอบในสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้บ้าง ดังนี้

       ..ยังมีข้อสอบถามกันมาเยอะเกี่ยวกับการศึกษาสงฆ์.. หลังจากคณะสงฆ์ดำเนินการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาและรัฐบาลออก ”กฏหมาย นักธรรม- บาลี- สามัญ” มาให้เมื่อปี 2562

        ถือเป็น New Normal ของการจัดการศึกษาสงฆ์ แผนกบาลี/ แผนกธรรม/ แผนกสามัญ ตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นไป

            วันนี้ ขอเฉลย คำถาม ที่ทิ้งไว้หลายวันก่อนว่า ตกลง ป.ธ. 3หรือป.ธ. 5 หรือ ป.ธ.6 กันแน่ ที่เทียบได้ กับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ม.6 ปัจจุบัน

 มาจะกล่าวบทไป…ตอบข้อสงสัยดังนี้..

 ปัจจุบันนี้ ต้อง ป.ธ.3+ วิชาสามัญเพิ่มเติม ครับ ถึงจะเป็นวุฒิ ม.6

    หรือ อีกช่องทางหนึ่ง มาบวชตอนอายุ 16 ขึ้นไปแล้วสอบได้ป.ธ.3(ถ้าไม่ตกเลยน่าจะอายุราวๆ 18-19) แบบนี้ ถือว่าได้ ม.6 ไปเลย  (มาตรา 22 กฏหมายใช้คำว่า” มีวิทยฐานะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” ) ประมาณว่า ซื้อเหล้าพ่วงเบียร์ ดังที่เขาว่ากัน.. หรือ Buy One Get One .. ซื้อ1 แถม1 ว่าซั่น..

 ไม่ตัองเรียน ทางโลก อะไรเพิ่มเติมทั้งสิ้น.. เพราะถือว่า สูเจ้ามาบวชตอนเลย”การศึกษาภาคบังคับ”ไปแล้ว..

 คณะสงฆ์จะไม่มารับภาระจัดสอนวิชาสามัญเพิ่มเติมให้ใดๆทั้งสิ้น.. เพราะถือว่า สูเจ้าจบการศึกษาภาคบังคับมาแล้วก่อนบวช..

 แต่ถ้า มาบวชตอนอายุยังไม่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ (อายุ 7-15 ปี) ถ้าได้ ป.ธ.3 ต้อง + วิชาสามัญ ด้วย…. มาตรา 21 พ.ร.บ. บาลี-นักธรรม-สามัญ ปี 2562.. ครับ

 แต่ปัจจุบันนี้ จะเอาเพียง ป.ธ.3 ไปเข้าเรียน ป.ตรี ของมจร  ก็ได้/

 มจร จะจัดสอนพิเศษ วิชาสามัญให้ ในช่วงเวลาพิเศษ/ เหมาะสม.. เพื่อให้มีคุณสมบัติ เป็น ม. 6 ก่อนจบ ป.ตรี..

 มหา/ เณร ป.ธ. 3 รีบเลยครับ ถ้าสนใจ .. มจร มีอยู่ทั่วประเทศ/รับทั่วประเทศ .. ครับ

 วกมา คำถาม ว่า ป.ธ. 5/ ป.ธ.6  เพียวๆ จะถือว่า จบมัธยมปลาย และสมัครเข้าเรียน ป.ตรี ได้ไหม? คำตอบคือ “ตัองดูรายละเอียด”

 ปี 2518 กระทรวงศึกษา ออกประกาศรับรองว่า” ป.ธ. 6 เทียบ ม.ปลาย”

ต่อมา ปี 2526 กระทรวงศึกษาออกประกาศรับรองรองว่า” ป.ธ.  5 + ประสบการณ์การสอนนักธรรม-บาลี  300 ชั่วโมง เทียบ ม.ปลาย”

 ปี 2548 กระทรวงศึกษาธิการ ออกกฏกระทรวงรับรองว่า”ป.ธ. 3 + วิชาสามัญ เพิ่มเติม (สำหรับผู้อายุยังอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับคือไม่เกิน 15 ปี)ได้วุฒิ ม.6”

ปี 2562 รัฐบาล ออกกฏหมายรับรองว่า “ป.ธ. 3 + วิชาสามัญเพิ่มเติม (สำหรับผู้ยังอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ)ได้วุฒิ ม.6”

 กรณีนี้ ขึ้นอยู่กับว่า นักเรียนบาลี สอบได้ ป.ธ.6/ ป.ธ.5/ป.ธ.3ปีไหน..

 ถ้าสอบได้ ป.ธ 6 ตั้งแต่ปี 2518-2525 ถือว่า ได้ มัธยมปลาย ไปเลย

            ถ้าสอบได้ ป.ธ.5 ระหว่างปี 2526 – 2547 ต้องมีประสบการณ์การสอนนักธรรม- บาลี ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง.. จึงจะถือว่า ได้ ม.ปลาย”

 ถ้าสอบ ได้ ป.ธ. 3 ระหว่างปี 2548-2561 ต้องเรียนวิชาสามัญเพิ่มเติม จึงจะถือว่า ได้วุฒิ ม.6

 สำหรับนักเรียนบาลี ที่ยังไม่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ นะครับ

 ถ้าสอบ ป.ธ.3 ได้ ตั้งแต่ ปี 62 เป็นต้น ก็เช่นกัน..ต้องมี วิชาสามัญเพิ่มเติม( มาตรา 21)

         แต่ถ้าสูเจ้า อายุเกิน 15 เข้ามาบวชเรียนบาลี สอบได้ป.ธ. 3 /ตามกฏหมายใหม่ ถือว่าได้ ม.6 ไปเลย .. ไม่ต้องมีอะไรมาเพิ่มเติม ทั้งนั้น.. (มาตรา 22)

        จึงสรุปว่า ต้องดูรายละเอียดแต่ละยุค/ เพราะกระทรวงจะเทียบวุฒิให้ เขาจะดูที่ “เจตนารมณ์ของกฏหมายการศึกษาแห่งชาติแต่ละยุค” ครับ..

        แม้ ประกาศเก่า ๆ ตามหลักการกฏหมายทั่วไป ถ้ายังไม่ยกเลิก ถือว่า ยังใช้ได้.. แต่เอามาใช้กับเรื่อง”การศึกษา” ตรงนี้ไม่ได้ครับ.. ดังนั้น ประกาศเก่า ๆ ของกระทรวง ถือว่า “ยกเลิกไปโดยปริยาย” ครับ..

*************************

 

 

Leave a Reply