“สาทิตย์” ให้สัมภาษณ์ พระนิสิตป.เอก สันติศึกษา”มจร” ฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สัมภาษณ์แก่พระมหาธีระยุทธ จิตฺตปุญฺโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดตันตยาภิรม พระอารามหลวง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองตรัง ผู้ก่อตั้งชมรมจิตอาสาศาสนานำสุข พระนิสิตปริญญาเอกสาขาวิชาสันติศึกษา รุ่น 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อยจ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อประกอบในการวิจัยทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามแนวพุทธสันติวิธี กรณีศึกษา : อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง”

หลังจากได้นำโมเดลไปทดสอบเชิงปฏิบัติการเช่นการเปิดค่ายรูปแบบการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบจังหวัดตรังตามแนวพุทธสันติวิธี ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 102 บ้านเกาะเต่า ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ขณะเดียวกันวันนี้(9ส.ค.) เป็นการเปิดเรียนวันแรกของนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รุ่น 5 โดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ในฐานะอาจารย์ประจำเป็นผู้บรรยาย โดยได้เปิดฉากพื้นฐานเกี่ยวกับสันติศึกษา โดยบรรยายแลกเปลี่ยนในรายวิชาแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับสันติศึกษา ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของการเป็นวิศวกรสันติภาพ โดยกล่าวว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยการเมืองการปกครองออกแบบมาเพื่อจัดการความขัดแย้งในการปกครอง แต่อาจจะใช้อำนาจทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยตั้งคำถามว่า นึกถึงความขัดแย้ง เรา #นึกถึงอะไร โดยแต่ละท่านเสนอมุมมองของตนเองว่า ในมิติความขัดแย้งภายใน และความขัดแย้งภายนอก ขึ้นอยู่ว่าเราจะมองความขัดแย้งด้วยการนิยามอย่างไร? บางคนมองความขัดแย้ง #เป็นโอกาส บางคนมองความขัดแย้ง #เป็นวิกฤต บางคนมองความขัดแย้งเป็นความทุกข์ บางคนมองความขัดเแย้งเป็นการพัฒนา

การจัดการความขัดแย้งจะต้องทราบ Context เป็นบริบทของความขัดแย้ง จากนั้นศึกษา Concept แนวคิด หลักการ ทฤษฏีในการจัดการความขัดแย้ง และนำไปสู่ Content เนื้อหา วิธีการ กระบวนการในการจัดการความขัดแย้ง เราจึงต้องมองให้ดี อย่าให้เหมือน #ตาบอดคลำช้างสร้างความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องตระหนักคือตาบอดคลำช้าง ควรจะคลำช้างทั้งตัวอย่าคลำเฉพาะขาเท่านั้น ความขัดแย้งจึงต้องมองให้รอบด้าน บทบาทสำคัญของวิศวกรสันติภาพจะต้องมอบให้รอบด้าน เพราะ #ตาบอดคลำช้าง สมัยหนึ่งในนครสาวัตถีสมณะ พราหมณ์ ปริพาชก จำนวนมากมาย ต่างลัทธิ ต่างทฤษฎี ต่างถือลัทธิทฤษฎีของตนว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งสิ้น จึงเกิดการทะเลาะวิวาท จึงใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่ใช่อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายนำความมากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสเล่าว่า เรื่องเคยมีมาแล้วราชาพระองค์หนึ่งในนครสาวัตถี ได้ตรัสสั่งให้ราชบุรุษให้ไปนำเอาคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งหมดเท่าที่มีในเมืองสาวัตถี มาประชุมกัน ครั้นแล้วโปรดให้นำช้างตัวหนึ่ง มาให้คนตาบอดเหล่านั้น ทำความรู้จัก ราชบุรุษแสดงศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่ง แสดงหูช้างแก่อีกพวกหนึ่ง แสดงงาช้างแก่อีกพวกหนึ่ง แสดงงวงช้าง ตัวช้าง เท้าช้าง หลังช้าง หางช้าง ปลายหางช้าง แก่คนตาบอดทีละพวกๆ ไปจนหมด บอกว่าช้างอย่างนี้นะ ช้างอย่างนี้นะ เสร็จแล้วกราบทูลพระราชาว่า คนตาบอดทั้งหมดได้ทำความรู้จักช้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ครั้งนั้น พระราชาจึงเสด็จมายังที่ประชุมคนตาบอด แล้วตรัสถามว่า พวกท่านได้เห็นช้างแล้วใช่ไหม? คนตาบอดกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามต่อไปอีกว่า ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ได้เห็นช้างแล้วนั้น ช้างเป็นเช่นไร? คราวนั้นคนตาบอดที่ได้คลำศีรษะช้าง ว่าช้างเหมือนหม้อ คนที่ได้คลำหูช้าง ว่าช้างเหมือนกระด้ง คนที่ได้คลำงาช้างก็ว่าช้างเหมือนผาล คนที่ได้คลำงวงช้าง ว่าช้างเหมือนงอนไถคนที่ได้คลำตัวช้าง ว่าช้างเหมือนยุ้งข้าว คนที่ได้คลำเท้าช้าง ว่าช้างเหมือนเสา คนที่ได้คลำหลังช้างว่าช้างเหมือนครกตำข้าว คนที่ได้คลำหางช้าง ว่าช้างเหมือนสาก คนที่ได้คลำปลายหางช้าง ว่าช้างเหมือนไม้กวาด เสร็จแล้วคนตาบอดเหล่านั้น ก็ได้ทุ่มเถียงกันว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ช้างไม่ใช่อย่างนั้น จนถึงชกต่อยชุลมุนกัน เป็นเหตุให้พระราชานั้น ทรงสนุกสนานพระทัยมาก จบชาดก พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานเป็นคาถาความว่า “นี่ละหนอ สมณะและพราหมณ์บางพวก #ย่อมมัวติดข้องกันอยู่ในสิ่งที่เป็นทิฏฐิทฤษฎีเหล่านั้น คนทั้งหลายผู้เห็นเพียงส่วนหนึ่ง พากันถือต่างถือขัดแย้งกัน” จึงทะเลาะวิวาทกันเพราะช้างในความรู้จักของคนตาบอด ทฤษฎีของคนต่างลัทธิ จึงแสดงให้เห็นว่า การมองความขัดแย้งต้องมองแบบองค์รวม

ความขัดแย้งเป็นทั้งบุญและเป็นบาป เมื่อเกิดความขัดแย้งเราต้องหาความต้องการที่แท้จริง ความขัดแย้งจึงมีการพัฒนาตามลำดับ เราจึงเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง อย่าลืมว่าความขัดแย้งเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติ คนเดียวยังต้องมีความขัดแย้ง แต่ความขัดแย้งที่อันตรายคือ #ความขัดแย้งหลบใน ซึ่งพัฒนาการของความขัดแย้ง จะมี 3 ประการคือ

1) #ตั้งตัว จะใช้เครื่องมืออะไรในการจัดการความขัดแย้ง 2) #ตื่นตัว จะใช้เครื่องมืออะไรในการจัดการความขัดแย้ง 3) #แตกตัว จะใช้เครื่องมืออะไรในการจัดการความขัดแย้งเมื่อแตกตัวไปแล้ว ความขัดแย้งแบบหลบในจึงทำลายความสัมพันธ์จากเรื่องนิดเดียว ตามทฤษฏีขนนก เรียกว่า #เบาบางแต่รุนแรง ความขัดแย้งจึงเกิดจากสิ่งเล็กๆ ที่สะสมไว้รอวันระเบิด แต่ละคนมีเหตุผลคนละชุด เหตุผลของความจริงและเหตุผลของความรู้สึก

ประเภทของสาเหตุของความขัดแย้ง (Types of Conflict) 5 ประการ คือ ข้อมูล ความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ โครงสร้าง และค่านิยม รวมถึงศาสนาถูกนำไปถูกอ้างหรือบิดเบือนไปสนับสนุนเพื่อให้เกิดความขัดแย้ง นักวิชาการศาสนาจึงเสนอว่าผู้นำศาสนา #กล้าวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาตนเองหรือไม่? ในชุดคำสอนความเชื่อ ในความขัดแย้งด้านโครงสร้างและผลประโยชน์เจรจายาก ส่วนความขัดแย้งด้านข้อมูล ด้านความสัมพันธ์ และด้านค่านิยมเจรจาง่าย ต้องอาศัยเครื่องมือและผู้คนมาหาทางออกร่วมกัน ความขัดแย้งจึงเป็นการที่คนสองคนต้องการสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน จึงนำไปสู่สามแยกของความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงคือ #แปลกแยก #แตกแยก และ #แบ่งแยก เราจึงต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับส้ม จะถามเกี่ยวกับการซื้อส้ม คือ ใคร ทำไม อะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ที่ไหน สอดรับกับทฤษฏีการแบ่งเค้กให้มีความรู้สึกเท่ากัน

ดังนั้น ในการเรียนแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับสันติศึกษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาวิศวกรสันติภาพ เพราะฐานสำคัญคือ ปริยัติ ปฏิบัติ จึงนำไปสู่ปฏิเวธ ทฤษฏีจึงเป็นฐานของการสร้างสันติภาพ จึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญก่อนจะพัฒนาเครื่องมือการเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป

Leave a Reply