“มารค ตามไท”ชี้สังคมไทยขัดแย้งดื้อยา แนะใช้สันติวัฒนธรรมแก้

วันที่ ๑๙ ธ.ค.๒๕๖๓ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นักศึกษาหลักสูตรประกาศนีบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น ๕ สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า ทุกวันศุกร์ได้เติมเต็มเครื่องมือการทำงานด้านสันติวิธี โดยเรียนแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น ๕ สถาบันพระปกเกล้า จึงถอดบทเรียนของพัฒนาการของการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีในสังคมไทย บรรยายโดย รศ. ดร. มารค ตามไท อาจารย์สาขาการสร้างสันติภาพมหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่ ที่ระบุว่า

“การจัดการความขัดแย้งในอดีตมนุษย์มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับ ปัจจุบันมีการแก้อย่างเป็นระบบ มิใช่แก้ปัญหาตามสัญชาตญาณ จึงใช้คำว่า สันติวิธี สองความหมาย คือ ๑) #การต่อสู้เรียกร้องโดยสันติวิธี ๒) #การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี เช่น มีการประท้วงโดยสันติวิธี แต่ฝ่ายที่จัดการผู้ประท้วงก็พยายามบอกว่าใช้วิธีการจัดการโดยสันติวิธี ทำให้เกิดความสับสน การต่อสู้เรียกร้องโดยสันติวิธี (non-violent action) เช่น ชูป้าย เดินขบวนรูปแบบต่างๆ ติดสัญลักษณ์ตามเสื้อผ้า ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ยุติการชุมชน ประชัดประชันเอาสินค้าไปเผา ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่คิดว่าไม่เป็นธรรม พยายามจะล้มกฏหมายด้วยการไม่ทำตามกฎหมาย เพราะไม่เห็นด้วย จงไม่ทำตาม เหมือนเด็กไม่ทำตามพ่อแม่ ฐานของการประท้วงทั่วโลกพยายามจะเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ซึ่งอยากจะเปลี่ยนในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเราเอากฎหมายอย่างเดียวไม่สนใจความเป็นมนุษย์ทำให้เกิดความขัดแย้ง กฎหมายจะต้องใช้ความเป็นธรรม มีกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม จึงใช้ Civil disobedience คือ การดื้อแพ่ง อารยะขัดขืน การประท้วงของภาคประชาสังคม ลักษณะของ Civil disobedience ให้การศึกษาแก่สังคมยอมรับโทษที่ตามมา ทำด้วยจิตใจที่มั่นคง มีเป้าหมายทางบวกไม่ใช่แค่ทางลบ เป้าหมายคือ พัฒนาคุณธรรมการปกครองของสังคม

คำถามคือ มีกฏหมายใดที่เรามองว่ามายังไม่ถูกต้อง การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่คิดว่าไม่เป็นธรรมเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร เช่น สิทธิของสตรีชาวฟินแลนด์เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้สิทธิสตรี ย้อนไปร้อยปีสตรีไม่มีบทบาททางการเมืองหรือสิทธิ สตรีจึงมีการประท้วงหรือเรียกร้องสิทธิด้วยสันติวิธี ทำให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมผู้ชายในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันยังมีบางประเทศที่ไม่ให้สิทธิสตรี รวมถึงแรงงานเด็ก การใช้แรงงานเด็กในมิติต่างๆ สหภาพแรงงาน การเจรจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

การเหยียดหยามและจำกัดสิทธิพลเมืองบนฐานชาติพันธุ์ บางชาติพันธ์เป็นพลเมืองชั้นสอง กรณีคนผิดดำคนผิวขาว ซึ่งจะมีกฎหมายแปลกๆ ปรากฏให้ปฏิบัติ ประเด็นต้องพิจารณาในการต่อสู้โดยใช้สันติวิธี คำถามคือ ในการเคลื่อนไหวอย่างไรที่ชื่อว่าสันติวิธี คำตอบคือ มิติทางวัฒนธรรมของการต่อสู้แบบสันติวิธี เพราะสันติวิธีจะไม่ใช้ความรุนแรง สันติวิธีคือไม่ใช้ความรุนแรง ในทางกายทางวาจาทางใจ ทำให้เจ็บใจ เช่น ล้อเลียนในสิ่งที่เราเคารพ หรือ ด่าตรงๆ ถือว่าเป็นความรุนแรง สันติวิธีแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างกัน ความรุนแรงทางใจจึงมีความรุนแรงมากเพราะจะนำไปสู่ความรุนแรงทางกาย

“เราเคลื่อนไหวเพราะอยากให้สังคมดีขึ้น อยากให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง แต่เราจะไม่โกรธเกลียดบุคคลที่เราเรียกร้อง”

เวลาการเคลื่อนไหวต้องศึกษาบริบทที่ทำให้การต่อสู้สำเร็จหรือจะไม่สำเร็จ เช่น มหาตมคานธี มาตินลูเธอคิง ถือว่าทำสำเร็จ คำถาม เหตุผลที่มหาตมะคานธีทำการเรียกร้องสำเร็จเพราะเหตุปัจจัยอะไร สังคมไทยมองสันติวิธีอย่างไร เช่น นักเรียนใช้สันติวิธีกับครูในการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ปฏิกิริยาคือ เวลามีคนเรียกร้องเรารับฟังหรือมองว่ามาท้าทายอำนาจ

การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี เริ่มต้นจากความขัดแย้งจากสิ่งเล็กๆ เช่น ระหว่างบุคคล ต่อมาพัฒนาการเป็นสถาบันในการจัดการความขัดแย้ง เริ่มต้น การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี แบ่งออก ๓ ระดับ คือ

๑) Conflict Management บริหารจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง กำหนดระดับการสูญเสีย กำไร ทรัพย์สิน ชีวิต ที่พอรับได้ เช่น การพูดคุยเพื่อสันติสุข ปี ๒๕๔๙ อย่าให้เกิดความรุนแรงหรือ อย่าให้เกิดการสูญเสีย มากไปกว่านี้ ไม่ใช่ไม่มีความรุนแรงแต่ไม่ให้เกิดความรุนแรงมากกว่านี้ ถือว่าเป็นข้อที่อ่อนที่สุดในการบริหารจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง เพียงแค่ระดับว่าไม่ถูกด่าเท่านั้น

๒) Conflict Resolution (Peacemaking) คลี่คลายความขัดแย้งหรือความรุนแรงในเรื่องเฉพาะ ต้องการใช้ทักษะต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ( Win-Win ) เริ่มต้นจากการบริหารธุรกิจให้เติบโต เช่น การฟัง การสร้างทางออก หาทางออกและสร้างความเข้าใจ เช่น การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) การพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Peace talks) ส่วนมากเน้นสันติภาพเชิงลบ (Negative Peace) ยกตัวอย่าง แย่งส้มในตลาด ปิดหรือเปิดหน้าต่าง จึงต้องอาศัยนักเจรจาไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยจึงเป็น Conflict Resolution ด้วยคลี่คลายความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดขึ้นตลอดมีพัฒนาการตามระบบตามยุค ทำอย่างไรให้หาทางออกทั้งคู่ เช่น ลูกจ้าง นายจ้าง อย่าทำให้ความรุนแรงปรากฎ จึงคลี่คลายปัญหา ภาครัฐใช้ Conflict Resolution ในสังคมไทยระยะแรกๆ เช่น เขื่อนปากมูล ท่อก๊าซยาดานา โรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก สวนลิ้นจี่ บ้านป่ากลาง น่าน และชุมชนราชประสงค์ จึงต้องการคลี่คลายความขัดแย้ง ความสัมพันธ์แตกหักระหว่างภาครัฐกับประชาชน นักสันติวิธีพึงระวังว่า จะถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอและเป็นเครื่องมือของคู่ขัดแย้ง

ปัญหาระยะแรกพยายามใช้วิธีเดิมที่อิงอำนาจและการให้คุณให้โทษ ทักษะการจัดการความขัดแย้งเหมือนความรู้ใหม่ที่หาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยสอน ใช้เทคนิคประชาสัมพันธ์บวกข่มขู่เพื่อเอาชนะแทนที่จะพยายามหาทางออกร่วมกันกับคู่ขัดแย้ง รวมถึงไม่เห็นภาพใหญ่ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในสังคม ไม่เข้าใจรูปแบบของการจัดการความขัดแย้ง และ รับมืออย่างไรเมื่อไปดเผชิญไม่เข้าใจสันติวิธี จากสไตล์ของConflict Resolution ประกอบด้วย ๑)นกหัวขวาน เสียงดัง ไม่ถอย ชอบเผชิญหน้า ต้องชนะ ชอบขู่ ต้องการความเคารพ ๒)นกแขกเต้า เป็นมิตรกับทุกคน พูดเก่งชอบพูด ยอมทุกคน ๓)นกฮูก มีสติ สื่อสารเก่ง ชอบเสนา ช้าในการหาข้อสรุป ๔)นกกระจอกเทศ เลี่ยงความขัดแย้ง หนีปัญหาเร็ว ไม่ร้อนใจ ถอยห่างจากปัญหา ๕)นกฮัมมิ่งเบิร์ด คิดเร็ว ใจร้อน เปลี่ยนจุดยืนตลอด ยืดหยุ่น

๓) Conflict Transformotion (Peacebuildig) แปลงเปลี่ยนรากเหง้าของความขัดแย้งรุนแรงเพื่อลดความรุนแรงอย่างยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมที่เป็นสาเหตุของความรุนแรง หรือเป็นอุปสรรคต่อการลดความรุนแรงโดยการเสริมสร้าง ” สันติวัฒนธรรม ” ให้เกิดขึ้นในทุกส่วนของสังคม เน้นสันติภาพเชิงบวก (Posittive Peace) เน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นึกถึงรากเหง้า แต่บางครั้งพบสาเหตุแต่แก้ที่สาเหตุไม่ไดเพราะเกินจุดนั้นไปแล้ว จึงต้องหามาตราที่หนักกว่า

ถ้าเรามองในมิติของสันติวัฒนธรรม (Culture of Peace) เป็นการอยู่ร่วมกันโดยการให้ความเคารพทุกคนเท่ากัน (Respect) รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) รู้จักการให้อภัย (Forgiveness) ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่พูดคุยกันโดยใช้เหตุผลสาธารณะ (Non-violence) และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม มีจิตอาสา (Social awareness) พระพุทธศาสนามองว่าคนเหมือนกัน คือ เราทุกคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่าเทียมกัน ในแง่ของศาสนาเราทุกคนจะมีความเท่าเทียมกัน แต่ปกติมนุษย์ใครกระทำเราจะกระทำรุนแรงตอบ การอยู่ร่วมอย่างสันติไม่ใช่แปลว่าไม่ขัดแย้ง เหมือนศิลปินทำประติมากรรมพูคนในเรือในสนามบินแห่งหนึ่ง มีความหลากหลายในบ้าน อยู่ในเรือเหมือนกันแต่มีความเห็นต่างกัน เราจะสร้างสันติวัฒนธรรมโดยการพัฒนาประชาธิปไตย สังคมประชาธิปไตยจะจัดการกับความขัดแย้งทั้งภายในและกับประเทศประชาธิปไตยอื่น โดยไม่ใช้ความรุนแรง สันติวัฒนธรรมจึงเป็นหัวใจของการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีคือการสร้าง Culture of Peace ในสังคมไทย ประกอบด้วย

๑) ให้ความเคารพทุกคนเท่ากัน
๒) รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
๓) รู้จักการให้อภัย
๔) อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ปัจจุบันมีศัพท์คำว่า #สันติวิธีรักษาอำนาจ เพื่อให้ตนเองอยู่ในอำนาจ คำถามการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีในสังคมไทยอยู่ตรงจุดใด โดยมีความพยายามใช้ Conflict Resolution เพื่อสังคมไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เราอาจจะเผชิญกับความขัดแย้งหากใช้แต่ Conflict Resolution จะเอาไม่อยู่ จำเป็นต้องใช้ Conflict Transformotion บางครั้งเราเรียกว่า ความขัดแย้งที่ดื้อยา (Intractable Conflict) ลักษณะของความขัดแย้งแบบดื้อยาจะอยู่ยืดเยื้อ ต่างฝ่ายยึดและปกป้อง #คุณค่าศักดิ์สิทธิ์(Sacred Values) ของตนเอง มีความเชื่อที่ปลูกฝังมานาน เช่น หยุดเคลื้อนไหวได้ไหมจะให้ร้อยล้าน มีความซับซ้อน เห็นอีกฝ่ายเป็นศัตรู ทำให้เกิดหลุม attractor จะตีความทุกอย่างในทางลบ โดยใช้ภาษาคนดีขัดแย้งกับคนไม่ดี ความจริงที่ไม่ตรงกับจุดยืนตนเองคือความเท็จ จึงต้องหาคุณค่าศักสิทธิ์ของทุกฝ่าย เช่น ชีวิต ความรัก สุขภาพ ความยุติธรรม ศักดิ์ศรี ส่วนคุณค่าทางโลกคือ เงิน ความสะดวกสบาย ตำแหน่ง แค่สิ่งที่พึงระวังคือ การทำลายคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของผู้อื่น การขึ้นออกจากหลุมไม่สามารถใช้การประนีประนอมได้ เพราะเกี่ยวกับคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองฝ่ายต้องรื้อภาพของการถูกสร้างเป็นศัตรู เพื่อหาทางรักษาคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสองฝ่าย

พระปราโมทย์ สรุปว่า ดังนั้น ในมิติของประชาธิปไตยแนวพุทธมุ่งเน้นพระธรรมวินัยในด้านคำสอนที่เป็นพระธรรม พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับอธิปไตยหรือความเป็นใหญ่มีอยู่ ๓ ประการ คือ ๑) #อัตตาธิปไตย คือ ถือความคิด ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ฟังใครอื่นเขา เทียบได้กับเผด็จการ

๒) #โลกาธิปไตย ยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่ เห็นคนหมู่มากทำอะไรและทำอย่างไรก็ทำตาม ไม่นำความคิดเห็นของตนเองมาใคร่ครวญไตร่ตรองหาเหตุผลว่าควรทำหรือไม่ควรทำแต่อย่างใด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทำเพราะเห็นว่าคนอื่นเขาทำ เทียบได้กับประชาธิปไตยในรูปแบบของพวกมากลากไป

๓) #ธัมมาธิปไตย ยึดถือหลักการที่ถูกต้องและมีเหตุผล เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น หรือแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แต่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมทำด้วยความเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม เป็นอธิปไตยที่ไม่มีรูปแบบในโลกของโลกียชน แต่เป็นหลักการที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในการปกครองของอริยสาวกของพระพุทธเจ้าผู้หมดกิเลส ไม่ทำเพื่อตนเอง แต่ทำทุกอย่างเพื่อผู้อื่น

Leave a Reply