การแก้ไขปัญหา.. “ที่ดินวัด” และ “ธนาคารพุทธ”

“ผู้เขียน” ได้รับคำเชิญและชวนจาก ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเพื่อชาติ ให้ไปช่วยงานเรื่อง ศาสนา ความจริงชวนมานานแล้ว แต่ไม่มีเวลาไปร่วม ช่วงนี้ “พอมีเวลา” เลยตอบรับปาก และทั้งเห็นว่า ผลงานที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีผลงานโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก การเอาจริง เอาจังกับการแก้ไขปัญหาที่คณะสงฆ์ที่สะสมมานาน ทั้งเรื่องปัญหาที่ดินวัดที่ไปทับซ้อนกับที่ดินของรัฐ สำนักสงฆ์ ที่พักสงฆ์ที่ไปตั้งอยู่ในป่า บางแห่งมีเจ้าหน้ารัฐ มากวนการปฎิบัติธรรมอยู่ตลอด  คณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ไปพูดคุยและหาทางร่วมกันกับ กรมป่าไม้ และกรมอุทยาน หรือแม้กระทั้งที่ดินสาธารณะก็เดินเข้าไปคุยกับ กระทรวงมหาดไทย  การจัดสร้างพุทธมณฑลที่เชียงราย เชียงใหม่ มีปัญหาก็สำเร็จลุล่วงไปได้..ด้วยการทำงานของคณะกรรมาธิการยุคนี้ที่เอาใจใส่กับการพระศาสนา

แม้แต่เรื่อง “งบประมาณ” ของ พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม คณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ร่วมผลักดันและเกาะติดเรียกหน่วยงานมาชี้แจงหลายครั้ง มันจึงทะลุได้มา 16 ตำแหน่ง เฉพาะอัตราครูสอนพระปริยัติสามัญอย่างเดียวได้มา 3-4 พันอัตรา ส่วนครูสอนบาลีนักธรรมได้ค่าสอนชั่วโมงละ 200 บาท คณะกรรมาธิการชุดนี้ก็มีส่วนมิใช่น้อย แต่ทั้งนี้ พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรมมาถึงจุดนี้ได้  “ผู้เขียน” ต้องขอชื่นชม พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 และ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผอ.สำนักงานพุทธ ฯ

“ผู้เขียน” ไปประชุมวันแรกก็เจอคนที่มักคุ้นพอรู้จักกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็น  ดร.บำรุง พันธุ์อุบล รุ่นพี่ มจร ดร.ปิง หรือ ดร. ณพลเดช มณีลังกา พี่สัมพันธ์  เสริมชีพ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐสภา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จบมาจาก มจร และถามไปถามมาเป็นรุ่นน้องคณะเดียวกัน ซ้ำจบสาขาเดียวกันคือ รัฐศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ

วันที่ไปร่วมประชุมมีการเชิญรองผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ,กรมที่ดินรวมทั้งท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินวัดตั้งอยู่ในเขตสาธารณะต้องการออกโฉนดที่ดินเพื่อเป็นที่ “ธรณีสงฆ์” เท่าที่คุยไม่น่ามีปัญหา ส่วนอีกแห่งน่าสนใจคือเจ้าคณะตำบลมาจากจังหวัดเชียงใหม่ต้องการยกวัดร้างเป็นวัดมีพระภิกษุจำพรรษา แต่ติดปัญหาคือ พื้นที่วัดมีชาวบ้านบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยหมดแล้ว แม้ชาวบ้านจะบอกว่าเขาอยู่มาก่อน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิอะไรเลย “โฉนดที่ดิน” เป็นที่ธรณีสงฆ์ อยู่กับสำนักงานพุทธเชียงใหม่ หากสำนักงานพุทธ “ฟ้องศาล” เท่าที่ฟังจากผู้ร่วมประชุมเคยเจอแบบนี้มาหลายครั้งหลายวาระด้วยกัน ชาวบ้าน “แพ้วันยังค่ำ”  อีกวัดหนึ่งชื่อ “วัดจำลอง” ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ วัดนี้มีโบราณสถานทั้งโบสถ์เก่าสร้างมาตั้งแต่ปี 2490 มีพระพุทธรูปไม้สานจำนวน 7 องค์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉานกลุ่มหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานที่นี้และสร้างวัดไว้เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญด้วย  ท่านเจ้าอาวาสต้องการบูรณะแต่ไม่มีงบประมาณ จะของบประมาณจากกรมศิลปากร ชุมชนบ้านกาดมีเรื่องราวมีประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นชุมชนไทใหญ่เก่าแก่ ทหารญี่ปุ่นเคยมาตั้งทัพ เมื่อทางคณะกรรมาธิการเชิญ “กรมศิลป์” มาให้ข้อมูล กรมศิลป์บอกว่าอุโบสถอายุยังไม่ถึง 100 ปี “ไม่เข้าข่าย” ขึ้นทะเบียน จนหมดทางช่วยเหลือ จะทำพิพิธภัณฑ์ ก็ต้องเริ่มต้นจากวัดและชุมชน สรุปกรณี “วัดจำลอง” ต้องช่วยกัน ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ระดมทุนกันเอง

“ธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย”

หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ผู้เขียนได้รับคำชวนจาก ดร.ปิง รวมทั้งคณะว่า ขอให้ไปร่วมสังเกตการณ์การประชุม “ธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย” ด้วย

เรื่องธนาคารพุทธนี้ มันคือ มหากาพย์ กลุ่มฆราวาสชาวพุทธ “ดิ้นรน” กันมานานเกือบ 20 ปีแล้ว ยุคที่ทำงานช่อง 11 เคยนิมนต์ “เจ้าคุณประสาร” และ “วิรุฬ เตชะไพบูลย์” สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง พรรคเพื่อไทย มาออกรายการหลายวาระด้วยกัน ตอนนั้นดูเข้มแข็งกว่านี้เยอะ คือ มีพระเข้ามาช่วย แต่คราวนี้ดูบรรยากาศพระคุณเจ้า “รอฉัน” อย่างเดียว  เท่าที่คุยกับคณะทำงานมี “พระสมเด็จ” รูปหนึ่งสนับสนุนเต็มที่ แต่อาจมี “สมเด็จ” บางรูปที่ใกล้ชิดกับนายธนาคารเอกชนบางราย “ไม่เห็น” ด้วย

“ธนาคารพุทธ” หลังประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่ ดร.นิยม เวชกามาและคณะเสนอไปยัง “รัฐบาล” แล้ว เจอทางตัน

การประชุมคราวนี้เหมือน “ตั้งไข่” ขึ้นมาใหม่โดยใช้ “ร่างเดิม”  ต้องติดตามรอดูว่าจะรอดหรือร่วง!!

Leave a Reply