มหากาพย์จัดตั้งธนาคารพุทธ??กับ 10 โจทย์ใหญ่ต้องฝ่าฟัน!!

เมื่อเห็นรายชื่อคณะทำงานที่ประธานกรรมาธิการติดตามงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งขึ้นมา เพื่อผลักดันให้เกิดธนานาคารพระพุทธศาสนา ก็ฮือฮาพอสมควร หลังจากความหวังนี้ได้หายเข้ากลีบเมฆไปนาน

การผลักดันธนาคารพุทธเกิดมา ‘ยาวนาน’ มาก จนจำไม่ได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด โดยใคร และโดยชาวพุทธกลุ่มไหน เป็นพระ หรือ คฤหัสถ์

สิ่งใดเกิดแล้ว ก็ดับสลายไปเป็นธรรมดา ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง!สิ่งใดนดับไปเป็นธรรมดาัดสรรทรัพยากรทางเองไม่มีบทบาทในการชี้นำสังคม

ที่ว่าเกิดขึ้นนั่น คือ ‘ความคิดและความฝัน’ ที่ต้องการให้เกิดธนาคารพุทธ แต่ตัวธนาคารพุทธจริง ๆ นั่นยัง ‘ไม่เคย’ เกิดขึ้นเลย!

ถือว่าเป็นความพยายามที่ ‘แท้ง’ ตั้งแต่ยังไม่เกิดเลยที่เดียว

เหตุเพราะธนาคารนี้ ‘เป็นธนาคารของชาวพุทธ’ ในประเทศไทยที่มีคนส่วนใหญ่มากกว่า 94 เปอร์เซ็นต์นับถือพระพุทธศาสนา

แม้ในรายชื่อของคณะทำงานจะมี ‘นักวิชาการจากสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา 2 ท่าน’ คือ ผศ.ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ โฆษกจาก ‘ค่ายมหาจุฬาฯ’ และเลขานุการคณะทำงาน ผศ.ดร.เสถียร วิพรมหา จาก ‘ค่ายมหามกุฏฯ’ ที่เคยมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองของพระพุทธศาสนามายาวนาน

แม้ทั้ง 2 ท่านจะเคยมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เหมือนทั้ง 2 ท่านจะ ‘ถูกกลืนหายไปในระบบ’ และถูก ‘ปิดปาก’ ด้วยอำนาจพิเศษ จนเงียบหายเข้ากลีบเมฆไป แบบโลกลืมไปแล้ว!

แม้ว่า งานนี้จะมี ส.ส.ดร.มหานิยม ผู้แสดงตนทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้พระและชาวพุทธในสภาเป็น ‘หัวหอก’ ของคณะทำงานก็ตาม

แต่ความเป็นจริง ‘ยังโดดเดี่ยวเกินไป’ สำหรับงานใหญ่ขนาดนี้

งานนี้จึงเป็นงาน ‘ช้าง’ เป็นเมกกะโปรเจคขนาดยักษ์ ที่อาจจะเป็นเพียงความฝันเหมือนเช่นที่ผ่านมา

แหล่งข่าวระบุว่า ปัญหาใหญ่ของการผลักดันธนาคารพุทธอยู่ที่

1.พระเถระผู้ใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในคณะสงฆ์ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีธนาคารพุทธ

2.กรรมการมหาเถรสมาคมเองยังไม่ตกผลึกในเรื่องนี้ เพราะส่วนใหญ่ของกรรมการ มส. เป็นพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสที่เงินวัดได้ถูกนำไปฝากในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มายาวนาน จึงไม่อยากยุ่งที่จะโยกเงินมาฝากที่ธนาคารพุทธที่จะเกิดขึ้น

3.ภาพที่เคยล้มเหลวของธนาคารอิสลาม ที่รัฐต้องเข้าไปอุ้มด้วยจำนวนเงินมหาศาล เป็นอีกภาพที่ทำให้อาณาจักรและศาสนาจักร โดยเฉพาะพระเถระไม่เชื่อว่าธนาคารพุทธจะบริหารได้ดีกว่า

4.บริบทของรัฐบาลปัจจุบันไม่เอื้อต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

5.การที่จะชักแม่น้ำทั้ง 5 ให้วัดวาอารามที่มีเงินอยู่ในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ โยกเงินมาฝากที่ธนาคารพุทธ น่าจะยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นเขา เพราะมันเป็นเรื่องงผลประโยชน์ล้วน ๆ

6.บทบาทของพระสงฆ์ถูกกำหนดให้พูดและทำโดยอุบาสกและอุบาสิกา

7.สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถือความศักดิ์สิทธิ์ในพระสงฆ์มากกว่าที่จะยึดความรู้และคำสอนของพระ จึงไม่อยากให้พระยุ่งกับเรื่องเงินทอง จึงทำให้พระไทยในปัจจุบันไม่มีบทบาทและไม่กล้าในการชี้นำสังคม

8.เรื่องใดที่เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาย่อมยากเสมอในประเทศนี้

9.แต่อย่างไรก็ตาม ในถ้ำที่มืดสนิท ย่อมมีแสงสว่างอยู่ด้วยเสมอ อยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้นำแสงสว่างนั้นมาใช้ให้ได้

10.นักธนาคารและนักการเงินมองธนาคารเป็น Banking system เป็นตัวกลางระดมเงินทุนและจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ

แต่ถึงยังไง ผู้เขียนให้ ‘กำลังใจ’ แก่คณะทำงานคณะนี้ อย่างน้อย ‘ขอให้ทำเต็มที่’ ส่วนจะสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั่น ขอให้เปิดโอกาสให้เกิด ‘การมีส่วนร่วม’ ของพุทธบริษัท พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา

เชื่อว่า ทุกสิ่งย่อมมี ‘เหตุปัจจัย’ ของความสำเร็จและความล้มเหลว!

Leave a Reply