ย้อนรอยคดี “เงินทอนวัด”หลังอัยการพิเศษ “สั่งไม่ฟ้อง” พระเทพเสนาบดี จจ.ลพบุรี

วันที่ 30 เมษายน 67  เมื่อวันที่ 66 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริตภาค 1 ได้ทำหนังสือ “ไม่ฟ้อง” ถึง ผู้บังคับป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) เกี่ยวกับคดี..เงินทอนวัด ดังความว่า

ตามที่อ้างถึง ท่านได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาระหว่าง พ.ต.ท.พงษ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้กล่าวหา กับ นายนพรัตน์  เบญจวัฒนานันท์ ผู้ถูกกล่าวหากับพวกรวม 5 คน ผู้ต้องหา เรื่อง เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษาทรัพย์ใด ร่วมกันเบียดบังทรัพย์นั้น เป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั่น ๆเสีย เป็นเจ้าพนักงานร่วมกัน ปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารรับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร ร่วมกันรับรองเป็นหลักฐาน ซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ซึ่งท่านเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1-4 และไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหารที่ 5 นั้น

เรื่องนี้ ได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง พระเทพเสนาบดี (ประเทือง มารเพ็ชร) ผู้ต้องหาที่ 5 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง..

คดี “เงินทอนวัด” หรือคดีการทุจริตเงินอุดหนุนวัดของ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เป็นข่าวทุจริตที่ สะเทือนวงการพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก

เมื่อย้อนรอยคดี “เงินทอนวัด” พบว่าการทุจริตเงินทอนวัดเกิดขึ้นก่อนปี 2558 โดยเจ้าหน้าที่สำนักงาน พศ.เข้าไปติดต่อเจ้าอาวาสวัดในแต่ละจังหวัดเพื่อเสนอเงินอุดหนุนให้แก่วัด แต่มีเงื่อนไขว่าทางเจ้าอาวาสวัดจะต้อง เขียนโครงการเข้ามาเพื่อเสนอของบประมาณกับสำนักงาน พศ.พิจารณาอนุมัติ ซึ่งในแง่ของความเป็นจริงคือ..เจ้าหน้าที่ พศ. เป็นคนเขียนโครงการให้เบ็ดเสร็จ เจ้าอาวาสหรือผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสมีหน้าที่แค่เซ็นต์ชื่อเสนอเท่านั้น

โดยเป็นเงินอุดหนุนให้วัดทำกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่ 1.เพื่อบูรณะซ่อมแซม/บูรณปฏิสังขรณ์วัด 2.เพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม และ 3.เพื่อการเผยแพร่ดำเนินกิจกรรมทางศาสนา และเมื่อวัดได้รับอนุมัติเงินอุดหนุนแล้วจะต้องเบิกจ่ายเงิน และนำ ส่งคืนให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงาน พศ.ที่ไปติดต่อเพื่อเป็นค่าสินบน ซึ่งเรียกกันว่า เงินทอนวัด ในอัตราส่วนตามที่ได้ตกลงกับ เจ้าหน้าที่ สำนักงาน พศ.ไว้ตั้งแต่แรก

จุดเริ่มต้นของการตรวจสอบคดีเงินทอนวัด เกิดขึ้นในเดือน มิ.ย.2560  เมื่อพระครู ก. (นามสมมติ) เจ้าอาวาสวัดจังหวัดเพชรบุรี ได้ร้องเรียนกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังจากที่พบความผิดปกติของการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่ออุดหนุนในการสร้างวัด โดยข้าราชการสำนักงาน พศ. ให้วัดต้องทอนเงินสร้างพระอุโบสถมากถึง 10 ล้านบาท และวัดได้รับเงินในการสร้างพระอุโบสถจริงเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น

ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ร่วมขบวนการคดี “เงินทอนวัด” ถูดดำเนินคดีเกือบทั้งหมด บางคนยังถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บางคนลี้ภัยไปอยู่ในต่างประเทศ บางรายได้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนพระสงฆ์ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง บางรูปคดีสิ้นสุดแล้วไม่มีความผิด บางรูปชี้แจงได้สั่งไม่ฟ้อง  บางรูปยังอยู่ในสำนวนคดี และบางรูปลี้ภัยไปต่างประเทศ

รายชื่อวัดบางส่วนที่ถูกกล่าวหา  ข้อมูล :TDRI,ThaiPBS

Leave a Reply