ทำไมต้องมี “สมณศักดิ์”

“ผู้เขียน”  รำคาญพวกให้ยกเลิก  “สมณศักดิ์” พระสงฆ์  ตามเพจ หรือตามเฟชบุ๊ค ๆ  มากมาย คนพูด คนต้าน คนแขวะ เสมือนไม่รู้ว่า ทำไมประเทศไทยจำต้องมี..สมณศักดิ์

“ผู้เขียน” สังเกตคนที่ต้านหรือไม่อยากให้มี “สมณศักดิ์” ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มพวกไม่เอา “เจ้า” หรือต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ แล้วลามไปถึง “สถาบันสงฆ์” ซึ่งมีความใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือบางคนมีทัศนคติส่วนตัว คือ ไม่ชอบพระสงฆ์ เป็นสันดาน!!

“ผู้เขียน” เคยสนทนากับ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ในยุคสมัยที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา  สภาปฏิรูปแห่งชาติ ว่า ประเทศไทยยกเลิก “สมณศักดิ์” ไม่ได้ หากยกเลิก “สมณศักดิ์” แปลว่าประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับ “สถาบันพระมหากษัตริย์”  เนื่องจาก สมณศํกดิ์เป็นกลไกสำคัญในการ “เชื่อมสัมพันธ์” ระหว่างสถาบันสงฆ์กับพระมหากษัตริย์ แล้วยังแสดงถึงความเป็น “พุทธมามกะ” ที่ดีของพระมหาษัตริย์ด้วย ยิ่งโบราณกาล พระสงฆ์ที่ได้รับสมณศํกดิ์ทำงาน “ต่างพระเนตร -พระกรรณ” ด้วย และอีกนัยหนึ่งในทางปกครอง ก็เพื่อไม่ให้พระสงฆ์กระด้างกระเดื่องตั้งตนเป็นใหญ่ คิดแบ่งแยกแล้วปกครองด้วย

“พระราชาคณะ” จึง แปลว่าเป็น  “พวกของพระราชา”  ยิ่งรัชสมัยนี้จะมีคำว่า “วัชระ” เกือบทุก  “ราชทินนาม” แปลว่าเป็น พระภิกษุสังกัด “ตระกูลวัชระ” ด้วย

“สมณศักดิ์”  นอกจากเป็นกลไกลสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันสงฆ์กับพระมหากษัตริย์ แล้ว ยังเป็น “เครื่องมือ” สำคัญให้กับพระภิกษุสงฆ์ไม่ให้ทำอะไรนอกรีตนอกรอย เป็นที่พึ่งของชุมชนและหมู่บ้านได้ รวมทั้ง “พระภิกษุ” สงฆ์รูปที่ได้รับโปรดเกล้าสมณศํกดิ์ มีขวัญและกำลังใจในการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว..จึงยกเลิกสมณศํกดิ์ ไม่ได้ และพระภิกษุที่มี  “สมณศักดิ์” ก็ไม่เห็นว่ากิเลสท่านจะหนาขึ้นหรือ มีปัญหาและอุปสรรคในการบำเพ็ญตนเพื่อ “หลุดพ้น” หรือ ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างไร

จริงอยู่ว่า “สมณศักดิ์” ไม่มีในพระไตรปิกฎ และหรือ บางคนมองว่าไม่จำเป็นต้องมี

“ชาวพุทธหรือคนไม่มีศาสนา” อะไรก็ตาม ลองเปิดใจดูพิจารณาให้ดี “สมณศํกดิ์” ทำไมมันต้องมี ลองเอาใจเขา มาใส่ใจเรา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์จำเป็นต้องมี “กำลังใจ” หรือ เป้าหมาย ทั้งนั่น

“พระภิกษุสงฆ์” ส่วนใหญ่ก็ยังมีความโลภ โกรธ หลง ความอยาก เหมือนปุถุชนทั่วไป  เพียงแต่ท่านสละเรือนสละเพศฆราวาส  เดินทางเข้าสู่ “กาสาวพัตร” หรือ “ห่มผ้าเหลือง” อันเป็นเครื่องหมายและสัญลักษณ์ว่า ท่าน จะพยายามลดละเลิก  “ไฟ 3 กอง” ดังกล่าวแล้ว  พระภิกษุจำนวน เกือบ 3 แสนรูป เมื่อเข้ามาสู่อ้อมอกของ “พระสมณโคดม” แล้ว อาจมี  “นอกรอย” บ้าง  อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาของ..ปุถุชน

อย่าจับพฤติกรรมพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้วเหมารวมทั้ง 3 แสนรูป

“ผู้เขียน” เคยเล่าถึงว่าในพระภิกษุสงฆ์จำนวน 3 แสนรูปนั่น หากจะแบ่งออกน่าจะได้ประมาณ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มพระป่า พระบ้าน พระเมือง และพระกรุง  และใน 4 กลุ่มนี้บทบาทหน้าที่ก็ต่างกัน ชาวพุทธใครชอบจริตแบบไหนก็ไปทำบุญกับพระกลุ่มนั่น เช่นพระป่า พระกลุ่มนี้ ไม่สนใจโลก ไม่สนใจกิจการพระพุทธศาสนา สนใจแต่ตนเอง เพื่อละลดเลิกกิเลสของตนเองเท่านั่น มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก..พระบ้าน ก็คือ พระวัดราษฎร์ตามหมู่บ้านในชนบททั่วไป พระกลุ่มนี้ก็มีวิถีที่ผูกพันกับชาวบ้าน ยังเป็นที่พึ่งของชุมชนและหมู่บ้านได้ดี พระเมือง พระกลุ่มนี้คือ “มดงาน” ในการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา เป็นตัวนำนโยบายจากส่วนกลางไปปฎิบัติ

ส่วน  “พระกรุง” และ “พระเมือง” อันนี้ละเป็นเป้า เพราะคลุกคลีกับคฤหัสถ์ เงิน  ในการทำงาน แต่อย่าลืมว่า พระกรุง หรือ พระเมืองเหล่านี้คือ พระที่มีความรู้ ความสามารถ มีทุน คอนเนคชั่น  และการทำงานแบบคนยุคใหม่ ต้องเขียนโครงการเป็น ต้องใช้ไอทีได้ ออกแบบงานไม่ติดขัดเป็น

พระยุคนี้จะใช้งานโยม..โยมแบมือขอเงิน

สรุปแล้ว เวลามอง พระภิกษุบางทีคนนอกวัด  “ต้องใจกว้าง” ว่าท่านอยู่ใน “บทบาท” อะไร พระทำงานในกรุงหรือในเมือง จะให้มี “วัตรปฎิบัติ” เหมือนพระป่า ไม่ได้ ซึ่งหากเป็นแบบนั่น กิจการพระพุทธศาสนา ภารกิจของสถาบันสงฆ์ 6  ด้าน ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ คงง่อย!!

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะ “พระประมุข”ของประเทศไทย และทรงเป็น “พุทธมามกะ” การถวาย “สมณศํกดิ์” ให้กับพระภิกษุผู้เป็น “สุปฎิปันโน” และพระภิกษุผู้ทำงานรับใช้ “พระพุทธศาสนา” ก็เพื่อให้ท่านทำงาน ทั้งเพื่อปฎิบัติตนลดละเลิกกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน หรือเพื่อทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา และที่หลายคนไม่รู้อีกเช่นกันว่าการถวายสมณศักดิ์เป็น..พระราชอำนาจ

คนยุคนี้อธิบายเหนื่อย  ฉลาดแต่แกล้งไม่รู้แล้วจับผิด

ชาวพุทธยุคนี้ จึงบอกว่าเปลี่ยนไป!!. จับผิดพระ มากกว่า ช่วยงานพระ หรือค้ำชูพระศาสนา!!

Leave a Reply