สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 สนับสนุนคณะพุทธศาสตร์ “มจร” ทำวิจัยพญานาคกับพระพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขง 5 แผ่นดิน

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่บริษัทไทยนครพัฒนา จำกัด สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดงานลงนาม MOU และสัญญาการทำวิจัยร่วมกันกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เรื่อง”อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มนำ้โขง 5 แผ่นดิน” โดยการสนับสนุนของมูลนิธิวีระภุชงค์ และเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล และแผ่ส่วนบุญกุศลให้กับพญานาคในลุ่มนำ้โขง 5 แผ่นดิน โดยมีนายวินัย นางนวลละออ วีระภุชงค์ นางทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ รองประธานมูลนิธิวีรภุชงค์ นายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยา 980 นายอภัย จันทนจุลกะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รองประธาน ชมรมโพธิคยา 980 นายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการฯ ดร.ณัทธีร์ ศรีดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการลงนาม MOU ในครั้งนี้มี พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเมธี ป.ธ.9,ดร.) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรวิหาร(ท่าพระจันทร์) นายชัช ชลวร นายสุภชัย วีระภุชงค์ นางทิพย์วรรณ วีระภุชงค์และดร.ณัทธร์ ศรีดี ร่วมลงนาม

นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมฟังแถลงข่าวอาทินายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นายสุรพล มณีพงษ์ อดีตเอกอัครทูตประจำกระทรวงต่างประเทศ นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิกาคโพธิคยา ร่วมงาน

พระเมธีวรญาณ กล่าวว่าในการทำวิจัยครั้งนี้ได้พูดคุยกับนายสุภชัยและกรรมการของสถาบันโพธคยา 980 อยู่หลายครั้งหลังจากไปที่ไปงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ที่ผ่านมาก็มองเห็นว่าเส้นทางที่เราไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับพญานาคก็เลยอยากทำให้เป็นหลักเป็นฐาน พญานาคมีบทบาทปกป้องพระพุทธศาสนา แม้ว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพานไปแล้ว พญานาคก็ยังปกป้องพระพุทธศาสนาให้ดำรงคมาถึงปัจจุบัน ทางเราอยากให้เห็นมุมมองของพระพุทธศาสนาในหลากหลายมิติโดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้เลยเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เพราะมีอิทธิพลมาจากอดีต ฉะนั้นดการมาทำวิจัยเกี่ยวกับพญานาคไม่ได้หมายความว่าจะยกพญานาคเป็นสรณะหรือเป็นที่เพิ่งอันสูงสุดเหนือกว่าพระรัตน์ตรัยไม่ใช่ในลักษณะอย่างนั้นแต่เราพยายามยกย่องแด่ผู้มีคุณประโยชน์ต่อการดูแลพระพุทธศาสนา ยอมเสียสละถึงขนาดนั้น

การลงนาม MOU ครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในส่วนของการทำวิจัย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของพญานาค สถานะบทบาทของพญานาค มีส่วนในการทำนุบำรุงปกป้องพระพุทธศาสนา

ด้านนายชัย กล่าวว่าเรื่องตำนานของพญานาค ซึ่งจะมีการจัดทำประวัติศาสตร์เรื่องของพญานาคเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการทำวิจัย ขอให้การวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

นางทิพย์วรรณ กล่าวว่า มูลนิธิฯของเราคำว่าวีระหมายถึงความกล้าหาญที่ยืนยาว ภุชงค์หมายถึงพญานาค วีรภุชงค์ ก็คือความกล้าหาญที่ยืนยาว ซึ่งบังเอิญมาสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องพญานาคพอดี ทางมูลนิธิฯก็จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้พระพุทธศาสนาสืบทอดต่อไป ต้องขอขอบคุณพระอาจารย์สายเพชร ที่รับเป็นประธานในงานวิจัยเรื่องพญานาคและขอบคุณท่านดร.ณัทธร์ ศรีดี ที่รับทำวิจัยเช่นกัน

นายสุภชัย กล่าวว่าการลงนามครั้งนี้สืบเนื่องมาจากงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ก็มีการปริกษากันถึงประวัติเรื่องของความเชื่อของพระพุทธศาสนา เพื่อทำวิจัยร่วมกับ มจร คณะพุทธศาสน เรื่องพญานาค ที่ยังไม่มีการรวบรวมเป็นประวัติศาสตร์ พญานาคปกป้อพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือจะพระสังฆราชทั้ง 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงขอความเมตตาจากท่านเหล่านั้นในการรวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคก็คิดว่างานวิจัยครั้งนี้ก็จะใช้เวลา 6-8 เดือน
ผมเชื่อว่างานวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่อย่างเป็นทางการที่ได้รับความมือจากคณะสงฆ์ทุกประเทศ การจัดระบบความเชื่อเรื่องพญานาค มันเป็นความเชื่อในวิถึพุทธที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้นตรงนี่น่าจะเป็นจุดเชื่อมโยงของพุทธบริษัทสี่ในลุ่มแม่น้ำโขง มีความลึกซึ้งในอีกระดับหนึ่งว่าเราเป็นพี่น้องกันมา ซึ่งประเทศใน อดีตเราอาจไมมีพรหมแดนเหมือนในปัจจุบัน ก็อยากให้ความเชื่อตรงนี้จารีตประเพณี ได้คงอยู่ต่อไปคู่กับพระพุทธศาสนา 2500 ปีพุทธกาล

ด้านดร.ณัทธีร์ กล่าวว่าพญานาคมีความสำคัญอย่างไร จากเหตุข้างต้นที่ทางสถาบันโพธิคยา 980 มีความสนใจเรื่องพญานาคแต่ไม่ได้ไว้เฉพาะตัว แต่อยากจะให้ความสนใจเรื่องพญานาคออกมาในรูปของงานวิจัย ซึ่งก็ได้กราบกับท่านเจ้าคุณสายเพชร ก็ไม่มีใครปฏิเสธที่จะทำงานวิจัยนี้ก็จะพัฒนาร่วมกันจนถึงบันนี้มีการปรึกษาหารือกันมากว่า สามเดือนแล้ว การทำงานวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพญานาค ในประเทศไทยในอนาคตอาจมีงานวิจัยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป

และจะเป็นประโยชน์ในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ทั้งในระดับชาติ ปัจจุบันเป็นข้อถกเถียงในระดับหนึ่งว่าพญานาคเป็นความเชื่อที่เป็นตำนาน ความเชื่อที่เป็นปรำปรา หรือความเชื่อที่มันงมงาย เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะตอบโจทก์ เราก็ให้มันเป็นไปในรูปแบบเชิงวิชาการ เนื่องจากพญานาคเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นทั้งบุคคล และเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่ปกป้องพระพุทธศาสนา

Leave a Reply