“สันติศึกษา มจร” 9 เดินตามรอยพ่อ เอาธรรมไปทำ “โคก หนอง นา โมเดล” สร้างสันติภาพกินได้ สร้างความมั่นคงทางอาหาร
วันที่ 4 กรกฎาคม 2563) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นำคณาจารย์และเจ้าหน้าหลักสูตรสันติศึกษา ลงพื้นที่ศึกษาและเรียนรู้หลักการ และแนวทางการพัฒนา “โคก หนอง นา โมเดล” ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งสำรวจความพร้อมเพื่อรองรับนิสิตหลักสูตรปริญญาโท และเอก สาขาสันติศึกษา ที่จะเดินทางลงพื้นที่มาศึกษาประเด็นการพัฒนาอาชีพและสิ่งแวดล้อมในยุค New Normal
ทั้งนี้ นายธัญญากรณ์ บุญหนัก ผู้อำนวยการธนาคารน้ำ และนางบุษดี ขุนศิริ ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ให้การต้อนรับ และนำการบรรยายพร้อมทั้งเยี่ยมชมพื้นที่จริงในนามพระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวทางในการพัฒนาโคก หนอง นา โมเดล ภายใต้ฐานคิดของศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชการที่ 9 ที่ทรงประทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน
หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ที่ได้มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างสันติภาพในชุมชนฐานราก ได้วางยุทธศาสตร์การสร้างสันติภาพใน 4 มิติ คือ (1) ด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านเสริมสร้างชุมชนแสังคมสันติสุข (3) ด้านการพัฒนาจิตใจให้เกิดสันติสุข และ (4) ด้านการพัฒนาปัญาเพื่อให้สามารถออกแบบแนวทางสร้างสันติภาพแก่ชุมชนและสังคม
ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวด้วยว่า แนวคิดและแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาโคกหนองนาโมเดลนั้น จึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้สามารถพึ่งพาศักยภาพของตัวเอง ฉะนั้น การลงพื้นที่สำรวจรูปแบบการพัฒนาอาชีพ และสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ จะทำให้นิสิตของหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ได้มีโอกาสในการตระหนักรู้ว่า “สันติภาพลงดิน สันติภาพกินได้” ไม่ใช่สันติภาพล่องลอยอยู่ในนภากาศ จนขาดมิติในการพัวพันกับชุมชนและสังคม
Leave a Reply