ได้เห็นส.ส.-ส.ว.พุทธมีน้อย! หนุนพระ-เณรออกเสียงประชามติได้

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2564 ในที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.. ในมาตรา 20 เรื่องการกำหนดบุคคลต้องห้ามออกเสียงประชามติ ที่กมธ.ระบุห้ามพระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช และผู้อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ผู้ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นผู้ออกเสียงประชามติ แต่กมธ.เสียงข้างน้อยและส.ส.ฝ่ายค้าน มีความเห็นว่า ไม่ควรตัดสิทธิพระภิกษุ สามเณรในการออกเสียงประชามติ เพราะพระภิกษุสงฆ์ก็มีความเป็นเจ้าของประเทศ ควรมีสิทธิทำประชามติได้

ขณะที่พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม ส.ว. ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก ชี้แจงว่า การห้ามพระภิกษุออกเสียงประชามติ เนื่องจากความเหมาะสมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดห้ามพระภิกษุใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแล้ว ก็ควรบัญญัติให้กฎหมายประชามติมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อีกทั้งพระภิกษุเป็นผู้ทรงศีล ไม่สมควรเข้ามายุ่งเกี่ยวการเมือง หากให้ยุ่งเกี่ยวการเมืองไม่ว่ารูปแบบใด อาจเกิดความไม่เป็นกลางเกิดขึ้น ไม่ควรทำตัวอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จากนั้นที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับเนื้อหาที่กมธ.แก้ไขมาด้วยคะแนน 338 ต่อ 105 งดออกเสียง 3

ต่อมาดร.นิยม เวชกามา พรรคเพื่อไทย จ.สกลนคร เปิดเผยว่า การที่ตนได้อภิปลายถึงการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. …. มาตรา 20 อนุ 1 หรือ (1) ที่ระบุ ห้ามภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ไม่ให้เป็นผู้ลงประชามตินั้น ตนได้อ้อนวอนขอมือ ส.ส. และ ส.ว. ในสภา และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ควรจะให้โอกาสพระสงฆ์และสามเณรสามารถลงประชามตินั้น ผลสุดท้าย ได้เสียงโหวดที่สนับสนุนให้พระสามารถลงประชามติได้เพียง 105 เสียง จากลงมติจำนวน 450 คน งดออกเสีย 3 และไม่ลงคะแนนเสียง 4

ดร.นิยม กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ตนต้องขอขอบคุณ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ พรรคก้าวไกล ที่อภิปรายสนับสนุนให้พระลงประชามติได้อย่างดุเดือด แต่สุดท้ายเราได้เห็นแล้ว ว่า ส.ส. และ ส.ว. เลือดชาวพุทธที่สนับสนุนพระมีน้อย ตนเห็นว่าภายภาคหน้าหากไม่มีการปฏิรูประบบการเมืองที่มีการชี้นำจากผู้ที่ชี้นำ ประเทศไทยอาจเป็นประเทศอดีตเมืองพุทธในอนาคต

Leave a Reply