วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์กล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและสื่อสารกิจกรรมหลักสูตรสันติศึกษา เปิดเผยว่า วันนี้(๓ สิ.ค.) พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการและปาฐกถาหัวข้อ “นโยบายของมหาวิทยาลัยกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ”
โดยมีพระสุวรรณเมธาภรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถวายรายงานการจัดสัมมนาทางวิชาการ “สู่เส้นทางตำแหน่งทางวิชาการ” ประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน
๑) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ๒) เพื่อพัฒนาทักษะและแนวทางที่ถูกต้องในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ๓) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิชาการในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ๔) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานสำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการแก่คณาจารย์รุ่นใหม่ โดยมีคณาจารย์ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ รวมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจ ได้สมัครเข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม จำนวน ๗๕๔ รูป/คน ในจำนวนดังกล่าวนี้ มีคณาจารย์และนักวิชาการเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ๗๑.๘ เปอร์เซ็นต์ ระดับรองศาสตราจารย์ ๒๓.๕ เปอร์เซ็นต์ และ ระดับศาสตราจารย์ ๔.๗ เปอร์เซ็นต์
ต่อจากนั้น พระธรรมวัชรบัณฑิต กล่าวในการปาฐกถาหัวข้อ “นโยบายของมหาวิทยาลัยกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ” กล่าวประเด็นสำคัญว่า เบื้องต้นแสดงความยินดีกับพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ในการได้รับโปรดเกล้าฯดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่ง โดยมหาจุฬากับตำแหน่งทางวิชาการถือว่ายึดตามหลักของมาตรฐานของบ้านเมือง ซึ่งคณาจารย์มหาจุฬาฯมีจำนวนเพิ่มขึ้นในตำแหน่งทางวิชาการ ภายใต้มหาจุฬางามสง่าสดชื่นกลางทะเลแห่งคลื่นทะเลโดยบุรพาจารย์ที่พัฒนามหาจุฬา โดยสามวิชาการของมหาจุฬาฯจำนวน ๑,๒๐๓ รูปคน เป็นทรัพยากรของมหาจุฬา โดยมีระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์จำนวน ๒๑๗ รูปคน รองศาสตราจารย์จำนวน ๗๘ รูปคน ศาสตราจารย์ ๓ รูป ถือว่าเป็นที่พึงพอใจแต่ต้องพัฒนาต่อไป
แต่ต้องพัฒนาไปสู่ระดับ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ โดย KPI ในการวัดฐานะและบทบาทของอาจารย์คือ คิด เขียน สอน ถือว่าเป็นคุณสมบัติของอาจารย์ จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ จะต้องมีกระบวนการคิด กระบวนการเขียน และกระบวนการสอน นำไปสู่พหูสูตร จะต้องพหุสฺสตาคือฟังมาก ธตาคือจำได้ วาจา ปริจิตา คือท่องให้คล่องปาก มนสานุเปกฺขิตา คือเพ่งให้ขึ้นใจจนสามารถสร้างภาพพจน์ขึ้นในใจ ทิฎฺฐิยา สปุฎิวิทฺธา คือขบให้แตก ด้วยทฤษฎี สามารถถ่ายทอดให้ศิษย์ให้มีความเข้าใจง่าย สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ โดยเบื้องต้นและที่สุดของความเป็นอาจารย์ Teacher จะต้องเดินตามขั้นประกอบด้วย Thinker Writer Lecturer Professor อนาคตมีการแลกเปลี่ยนการเรียนการสอนของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ในการเรียนการสอน วันนี้จึงมาให้กำลังใจนักวิชาการซึ่งมหาจุฬามาถึง ๑๓๔ ปี โดยมีความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์และสังคมประเทศชาติ วันนี้จึงเป็นสีสันบรรยากาศในวงการวิชาการอย่างเต็มเปี่ยมพลัง
รองศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บรรยายและสร้างแรงบันดาลใจหัวข้อ “มองจุดเด่นของมหาจุฬากับการพัฒนาสู่ตำแหน่งทางวิชาการภายใต้บริบทของมหาจุฬา” กล่าวประเด็นสำคัญว่า มหาจุฬาได้รับโปรดเกล้าศาสตราจารย์ใหม่ คือ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ซึ่งมีบทความความคิดสร้างสรรค์ของมหาจุฬา เป็นภาพลักษณ์ที่นำพระพุทธศาสนาไปสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สติสมาธิกับเยาวชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ถือว่าเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างยิ่ง ล่าสุดลงไปทำโคกหนองนาสันติโมเดลทำให้พระพุทธศาสนามีชีวิตเข้าถึงคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถือว่าหลักสูตรสันติศึกษามีการพัฒนาอย่างเป็นระบบอย่างยิ่ง จึงขอชื่นชมและกราบมุทิตาในการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีของมหาจุฬาอย่างยิ่ง จึงต้องขอบคุณหลักสูตรสันติศึกษาอย่างยิ่ง
การพัฒนาวิชาการถือว่าเป็นการพัฒนาคณาจารย์นำไปสู่การพัฒนานิสิตในการเรียนการสอน เราจึงมองจุดเด่นของมหาจุฬากับการพัฒนาสู่ตำแหน่งทางวิชาการภายใต้บริบทของมหาจุฬา โดยเริ่มจากปณิธานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ มหาจุฬาเป็นที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง พระพุทธศาสนาคือ พระไตรปิฎก ครบทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ทุกหลักสูตรตรี โท เอก รวมถึงหลักวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร จะต้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จุดเด่นของการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้เรียนเฉพาะปริยัติแต่มีการปฏิบัติด้วย ส่วนวิชาชั้นสูงในสมัยรัชกาลที่ ๕ หมายถึง อุดมศึกษาเป็นศาสตร์สมัยใหม่ จึงมีการศึกษาพระพุทธศาสนาและบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ จะต้องมีการบูรณาการ เรียนศาสตร์สมัยใหม่จะต้องมีพระพุทธศาสนาเป็นฐาน ในระดับปริญญาเอกสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยากจะศึกษาแนวทางการบริหารตามแนวทางของพระพุทธเจ้า มหาจุฬาจึงจุดเด่นเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม ถ้าจะสร้างผลงานวิชาการจึงต้องคำนึงถึงจุดเด่นของมหาจุฬา คณาจารย์มหาจุฬาจะต้องทำผลงานทางวิชาการจะต้องมีความเป็นอัตลักษณ์ของมหาจุฬา แต่ต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์ของบ้านเมืองด้วย โดยผลงานทางวิชาการของมหาจุฬาจะต้องมีหลักพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ สะท้อนอัตลักษณ์ของมหาจุฬา โดยผลงานทางวิชาการประกอบด้วย ๑)เอกสารประกอบการสอน ๒)เอกสารคำสอน ๓)ตำรา ๔)หนังสือ ๕)บทความทางวิชาการ ๖)งานวิจัย : บทความ ๗)ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๘)ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ โดยต้องคำนึงว่าจะทำผลงานวิชาการจะต้องมีจุดเด่นคือ “พระพุทธศาสนา” จะต้องหาแง่มุมในพระพุทธศาสนาในการบูรณาการผสมผสานให้ได้ ทั้ง ๘ ประเด็นจะต้องสอดคล้องบูรณาการประยุกต์ให้มีความเหมาะสม จึงย้ำว่า “พระพุทธศาสนาคำเดียวเท่านั้นในการเขียนผลงานทางวิชาการ”
มหาจุฬาจึงเป็นมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เกณฑ์ที่ใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๖๒ มีผล ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ โดยมีการประกาศมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ๘ ฉบับ มีผล ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ โดยมหาจุฬามีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น มีการดำเนินการทุกขั้นตอนให้กระทำเป็นการลับ โดยหมวดที่ ๑ มีการประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาระงานสอน การประเมินผลการสอน เอกสารในการนำเสนอขอกำหนดตำแหน่ง การกำหนดสาขาวิชาของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ขั้นตอนการขอตำแหน่งตำแหน่ง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ โดยหมวดที่ ๒ การแต่งตั้งอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยมี ก.พ.ว.ไม่น้อยกว่า ๕ รูปคนวาระ ๓ ปี มีรองอธิการบดีเป็นเลขานุการ ก.พ.ว. ซึ่งการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งพิจารณาจาก “คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทาทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ” โดยวิธีพิจารณาแต่งตั้ง ใช้วิธีปกติและวิธีพิเศษ เช่น ขึ้นสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ได้เลย เป็นต้น
จะต้องเริ่มต้นที่ผู้อำนวยการหลักสูตรหรือประธานหลักสูตรจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษในด้านคุณสมบัติ โดยเกณฑ์ใหม่เอกสารประกอบการสอน หรือ เอกสารประกอบคำสอนจะต้องจบที่คณะจบที่วิทยาลัยจบที่หลักสูตร จะต้องตั้งคณะกรรมการที่ตรงและเข้าใจในเอกสารประกอบการสอน หรือ เอกสารประกอบคำสอน จึงต้องตั้งคณะกรรมการที่มีเหมาะสมและสมควรในการพิจารณา เราเข้าใจว่าหนังสือจะต้องตรงกับตำรา แต่หนังสือจะต้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่ขอตำแหน่งทางวิชาการ หนังสือจะต้องตรวจก่อนค่อยมีการตีพิมพ์ โดยมีกรรมการภายนอก ๒ ท่าน และภายใน ๑ ท่าน โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการวุฒิปริญญาเอกเป็นอาจารย์และปฏิบัติงานมาแล้ว ๑ ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงาน ผลการสอนจะต้องเป็นวิชา ๓ หน่วยกิต มีการประเมินคุณภาพการสอน โดย “ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องใช้เอกสารประกอบการสอน” โดยเกณฑ์พิจารณาผลงานทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จะต้องเป็นงานคุณภาพดี มี ๕ เกณฑ์ แต่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมุ่งเน้น เพียง ๒ เกณฑ์ ประกอบด้วย “เกณฑ์ที่ ๑ กับ เกณฑ์ที่ ๔” ประกอบด้วย เกณฑ์ที่ ๑ ประกอบด้วย ๑)เอกสารประกอบการสอน ๒)ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง และ เกณฑ์ที่ ๔ ประกอบด้วย ๑)เอกสารประกอบการสอน ๒)ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง ๓)ตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม ขอให้คณาจารย์พิจารณาว่าเกณฑ์ใดที่จะมีความเหมาะสม
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการตำราหรือหนังสือ ก่อนพิมพ์ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน ตรวจประเมิน (Peer Review) แต่งตั้งโดยคณะ วช. วส. ผู้ขอได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะ และจัดพิมพ์หนังสือ ซึ่งตำราหรือหนังสือหลังพิมพ์เป็นหนังสือให้มีการเผยแพร่ภายในและภายนอก สำนักพิมพ์จัดพิมพ์เผยแพร่ให้มีการ Peer Review ด้วย การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการเป็นผู้ดำเนินการหลักและมีส่วนร่วมในผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ รวมถึงพิจารณาอายุของผลงานทางวิชาการ สิ่งสำคัญจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ งานปราศจากอคติ มีการรับรองการทำวิจัยในคนและสัตว์ ผลงานชอบธรรม ถ้ามีการละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการมีลงโทษตามข้อบังคับต่อไป
Leave a Reply