ปลัดมหาดไทยประชุมติดตามความก้าวหน้าอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พร้อมทั้งประชุมขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน” เฉลิมพระเกียรติ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ วันนี้ (10 ม.ค. 66) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการอำนวยการและคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยได้รับเมตตาจาก พระพิพัฒน์วชิโรภาส พระปัญญาวชิรโมลี ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุม โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายพรพจน์ เพ็ญพาส นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อาจารย์สุธน ศรีหิรัญ นายประสพโชค อยู่สำราญ ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ดร.ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา นางสุจิตรา ศรีนาม นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมการประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นในการยกระดับการทำงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยการคัดเลือกอำเภอนำร่องระดับจังหวัดที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ตรวจประเมินผลเชิงประจักษ์อำเภอนำร่องทั้ง 10 อำเภอ ในห้วงระหว่างวันที่ 13 – 27 ธันวาคม 2565 ได้แก่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี โดยขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานของแต่ละจังหวัดแล้ว และในสัปดาห์หน้าจะมีการพิจารณาคัดเลือกเพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้เป็นอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุขยอดเยี่ยมต่อไป ทั้งนี้ ในการลงพื้นที่ฯ ได้มีการถอดบทเรียน พร้อมทั้งนำ Best Practice แต่ละพื้นที่มาศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมโครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยกลไกการทำงานที่เข้าถึงและสามารถตอบสนองต่อพี่น้องประชาชนได้อย่างไร้รอยต่อ ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่พื้นที่อย่างยั่งยืน โดยทีมวิจัยของกระทรวงมหาดไทยได้ทำการประเมินผลและสรุปผลภาพรวมของโครงการฯ ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ได้รับความพึงพอใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการฯ และในการขับเคลื่อนโครงการฯ จะได้มีการประเมินผลแบบ Real Time เพื่อจะได้นำ feedback ที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงเพื่อพัฒนากระบวนการให้มีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป “ลักษณะการทำงานในอดีตมีลักษณะแบบ “ทำงานเสร็จ แต่ไม่ได้สำเร็จ” กล่าวคือ การขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เสร็จตามวัตถุประสงค์ (Outputs) แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นปัญหาเรื้อรัง (Pain Point) ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง (Outcomes) เช่น โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ถ้ามีการดำเนินการตามโครงการฯ แล้ว มีการรายงานผลว่า ดำเนินโครงการเรียบร้อย แต่พอลงไปในพื้นที่ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายแล้วยังพบว่ามีความยากจนอยู่ ถือว่าโครงการนี้ เสร็จแต่ไม่สำเร็จ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญของการทำงาน คือ การสื่อสาร การนำเสนอให้คนฟังเข้าใจ เพื่อสร้างวิธีคิดและมีการใช้ทรัพยากรแบบบูรณาการ ต้องกล้าก้าวผ่านทุกปัญหาและอุปสรรค ต้องคิดว่างบประมาณไม่ใช่ข้อจำกัดของการทำงาน เพราะทรัพยากรที่แท้จริงในพื้นที่ มีทั้งคน กำลังแรง กำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังสมอง ขอแค่ผู้นำลุกขึ้นมาทำก่อน ด้วย Passion ที่อยากจะ Change for Good มีความกระตือรือร้น สามารถดึงดูดภาคีเครือข่ายให้อยากที่จะมาร่วมหัวจมท้าย เข้ามามีส่วนร่วมในการ Support ภารกิจการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของพี่น้องประชาชน แต่ถ้าเราตั้งต้นด้วยคำว่างบประมาณเป็นข้อจำกัด เราจะไม่สามารถสนับสนุนงานอะไรได้เลย เพราะรอแต่งบประมาณ เราจะยึดว่าเงินคือทุกอย่างไม่ได้ เพราะงบประมาณมีจำกัด ถ้ายกเรื่องงบประมาณเป็นหลัก การพัฒนาที่ยั่งยืนก็จะไม่เกิดขึ้น” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กรอบแนวคิดโครงการอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นพื้นฐานหรือสารตั้งต้นในการพัฒนายกระดับการฝึกอบรมในหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น ดังคำพูดที่ว่า “วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน” และ “วันพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้” เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักรู้และตื่นตัวหันมาดูแลตัวเอง โดยคำว่า “ยั่งยืน” นั้น สะท้อนแนวคิดในการใช้ชีวิต เช่น การมีบ้าน คือ การมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ใช่มีอาคารใหญ่โตโอฬาร หรือในเรื่องการมีอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องกินหรูอยู่สบาย แต่มี 1 อิ่มเท่า ๆ กัน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่แท้จริง คือ “จุดเริ่มต้นของชีวิต” หรือ Basics Needs ที่เท่ากัน อันหมายถึงปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เฉกเช่น Steve Jobs ได้เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าเขามีเงิน 5 เหรียญ เขาจะซื้อแม่ไก่มาเลี้ยง เพื่อให้แม่ไก่ออกไข่ให้เขากิน สะท้อนนัยสำคัญ คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการหาอาชีพทำเพื่อต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ โดยมีตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยให้ได้เรียนรู้ เช่น ที่ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี สะท้อนให้เห็นถึงนิยาม “ความสุข” ว่า คนที่มีความสุขไม่จำเป็นต้องรวยเท่ากัน แต่ต้องมีความต้องการพื้นฐานที่เท่ากัน จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้ประชุมขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในวันที่ 8 มกราคม 2566 โดยกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำแนวพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village)” ที่พระองค์พระราชทานให้กับปลัดกระทรวงมหาดไทย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน โดยกระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำมาขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการ “พึ่งพาตนเอง” โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) หรือคณะกรรมการกลางของหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) ได้ร่วมมือกับ 7 ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสื่อสารมวลชน และภาคประชาชน บูรณาการการทำงานร่วมกันขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับความคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน ให้มีความรักความสามัคคี มีรายได้ มีอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เกิดความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก พร้อมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์ “หลักคิดสำคัญของหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) คือ การคัดเลือกหมู่บ้านที่มีศักยภาพที่น้อยที่สุด ไม่ใช่หมู่บ้านที่ดีที่สุดมาพัฒนา พร้อมทั้งศึกษาสภาพปัญหาตามภูมิสังคมของแต่ละหมู่บ้าน โดยกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) ที่สามารถรับรองได้ว่า จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “หมู่บ้านยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา” มีนัยสำคัญ คือ ท่านนายอำเภอต้องไม่ทำงานในพื้นที่หมู่บ้านเดียว แต่ต้องทำทุกหมู่บ้านไปพร้อม ๆ กัน ด้วยหลักคิดที่ว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ลงพื้นที่พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนจนรองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด โดยการดำเนินการดังกล่าวจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเท่าทวีคูณจนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืนได้ ด้วยกลไกการทำงานของภาคีเครือข่ายกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความศรัทธาของพี่น้องประชาชนต่อคนมหาดไทยอีกครั้งหนึ่ง ให้คนมหาดไทย ให้สถาบันนักปกครอง ได้รับการยอมรับ ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้นำที่แท้จริง” โดยสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธา ชักชวนคนมีจิตอาสาในชุมชน ในพื้นที่ ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองของเราให้ยั่งยืนในทุกมิติ สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพราะหากเราพัฒนาพื้นที่ทุกตำบล จะสะท้อนให้เห็นว่าเราสามารถทำได้ทั้งจังหวัด ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ที่มั่นคงแข็งแรงให้กับประเทศชาติ สามารถเจริญบรรลุวัตถุประสงค์มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้อย่างแท้จริง และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนงานเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน คือ ต้องน้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “แก้ไขในสิ่งผิด” ที่ทรงมีความมุ่งมั่นในการทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้กลับมาเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยและโลกใบเดียวของเราต่อไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว ด้าน พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญในการทำให้หมู่บ้านยั่งยืนได้ “ครอบครัว” เป็นสังคมที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวล่มสลายหมู่บ้านและสังคมก็จะพินาศ และเกิดปัญหาสังคมมากมาย ทั้งปัญหายาเสพติด การหนีเรียน และปัญหาอื่น ๆ ดังนั้น หมู่บ้านยั่งยืนจะเกิดเป็นรูปธรรมได้ 1) หัวหน้าครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวต้องดูแล ต้องอบรมบ่มเพาะ สอนลูกหลายด้วยความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นอย่างมีประสิทธิผลและมีคุณธรรมมากขึ้น และ 2) ต้องฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนในการสร้างครูให้เป็น “ปูชนียบุคคล” เพราะครูคือเบ้าหลอมพิมพ์ดี เฉกเช่นสมัยก่อนเราเรียก พ่อครู แม่ครู เพื่อเป็นหลักชัยในหมู่บ้าน/ชุมชน และ 3) ต้องสร้าง “ผู้นำเด็กและเยาวชนจิตอาสาการเปลี่ยนแปลง” เพราะเด็กและเยาวชนจะสื่อสารกันเองด้วยภาษาเดียวกัน ด้วยความเข้าใจที่ง่าย ซึ่งหากเรามีผู้นำเด็กและเยาวชนจิตอาสาการเปลี่ยนแปลง การดูแลเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน/ชุมชนก็จะมีความเข้มแข็งควบคู่กับการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน จำนวนผู้ชม : 207 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พรุ่งนี้!! “พิชิต ชื่นบาน” เยี่ยม มจร หารือ “การศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์-วิสาขบูชานานาชาติ” อุทัย มณี พ.ค. 08, 2024 วันที่ 8 พ.ค.67 หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี… “สมเด็จช่วงไม่ทิ้งโยม” มอบถุงยังชีพผู้เดือดร้อนจากภัยโควิด อุทัย มณี ส.ค. 07, 2021 วันที่ 6 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง สุดประเสริฐ)… วัฒนธรรมปล่อยคลิปร่วมรณรงค์ 4 ไม่ 3 ทำ “เทศกาลสงกรานต์” อุทัย มณี เม.ย. 11, 2020 กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับ Tacga จัดทำ Animation รณรงค์เรื่องมาตรการรับมือไวรัสโคโรน่าหรือ… เรื่องเล่าชาว “โคก หนอง นา” อุทัย มณี มี.ค. 31, 2021 ปัจจุบันในสังคมไทยโดยเฉพาะคนชั้นกลางที่เป็นพนักงานออฟฟิศ… คณะสงฆ์ผุดหลักสูตร “นักธรรมและธรรมศึกษาภาคภาษาอังกฤษ” อุทัย มณี ส.ค. 03, 2020 เมื่อวานนี้ (2 ส.ค.63 ) เวลา 14.00 น. ณ วัดญาณเวศกวัณ จ. นครปฐม… “พ่อเมืองกรุงเก่า” นำถุงยังชีพประทานจากสมเด็จพระสังฆราช มอบแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย อุทัย มณี พ.ย. 11, 2022 “พ่อเมืองกรุงเก่า” ลงพื้นที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประชาชน… เช็ครายชื่อพระสังฆาธิการ “มส” แต่งตั้งหลายตำแหน่ง อุทัย มณี มี.ค. 10, 2023 วันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร… พระดีศรีสะเกษ! พัฒนาโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล-วิถีโพลวพลือ อุทัย มณี ก.พ. 01, 2022 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… “มหานิยม” นำฟ้อง “หมิ่น-พรบ.คอมพ์” ผอ.สนง.พศจ.กาฬสินธุ์ อุทัย มณี ต.ค. 26, 2021 ส.ส.เพื่อไทยสกลนครและกาฬสินธุ์ บุกแจ้งความหมิ่นประมาทและ… Related Articles From the same category พระแนะแนวสร้างสุข สำหรับคนไทย2562 ยุคDisruption ปี 2562 เริ่มต้นขึ้น! สวัสดีคนไทย สวัสดีความสุข ความหวัง และสิ่งที่จะเกิดขึ้น… ส.ส.เป็นนักการเมืองแล้วส.ว.เป็นนักการเมืองหรือไม่ ? ผู้เขียน : บุญเลิศ ช้างใหญ่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน… “สมเด็จธีร์ -ปลัดเก่ง” ร่วมทำบุญอายุวัฒนมงคล 68 ปี “ พระราชรัตนสุนทร” วัดโพธิ์ท่าเตียน วันนี้ (7 ก.ค. 67) ที่กุฏิคณะ ต. 34 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร… ทูตสันติภาพทำไม ??…ทำไมต้องทูตสันติภาพ โดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… ครม.แต่งตั้ง “พระพรหมบัณฑิต” บอร์ดกก.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ “หมอประกิต-บุ๋ม ปนัดดา” บอร์ดควบคุมยาสูบ วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี…
Leave a Reply