จจ.อุบลราชธานี ร่วมเขียนตำราลงบนแผ่นดินกับ “กรมการพัฒนาชุมชน”

วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ณ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระเทพวราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมคณะสงฆ์ วัดมณีวนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เยี่ยมชมศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนแปลง “โคก หนอง นา บวร โมเดล” ตามแนวทางของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยมี พระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ

โอกาสนี้ พระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้กล่าวรายงานการดำเนินงานครั้งนี้ว่า “ประโยชน์ โคก หนอง นา ในด้านทางกายภาพ เป็นการส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น การขุดหนอง คลอง โคก จะทำให้มีแหล่งที่จะเก็บน้ำฝนให้ได้ปริมาณมากขึ้น ที่ได้หลายล้านลูกบาศก์ ในอีกส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ สัตว์ทั้งหลายที่ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวบ้านก็จะได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น มีความมั่นคงของชีวิต มีความมั่นคงทางอาหาร พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น นอกจากนี้ชาวบ้านที่ทำโคกหนองนาเป็นผู้มีบุญ มีทาน มีการเก็บแปรูปถนอมอาหาร มีการขายเพิ่มเพิ่มรายได้ มีเครือข่ายเรื่องการตลาด มีเครือข่ายคุณธรรม นอกเหนือจากนี้ชาวบ้านเกิดคุณธรรม เกิดบุญเกิดทานอยู่ในแปลงโคกหนองนา ความอดทน ความเพียรก็ถือว่าเป็นคุณธรรม ความสามัคคีก็เกิดขึ้นในแปลงจากการเอามื้อสามัคคี ผลผลิตที่เกิดขึ้นถ้าเอาไปทำบุญก็ได้บุญ เอาไปทำทานก็ได้ทาน เอาไปแจกผู้ประสบภัยพิบัติก็เป็นความมีน้ำใจ เอาไปให้พ่อแม่ก็เป็นความกตัญญู เราจะได้เห็นว่าโคกหนองนาไม่เฉพาะเพียงที่จะให้เกิดระบบนิเวศที่ดี แต่ยังทำให้ชาวบ้านเกิดในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม มีความดีงามเกิดขึ้นในครอบครัวและชุมชนด้วยอันนี้เป็นเรื่องดีของโคกหนองนา โดยอีกหนึ่งบทบาทของพระสงฆ์ คือการขับเคลื่อน โคก หนอง นา ให้มีโอกาส เกื้อกูล ส่งเสริม และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อย่างเช่นที่มาช่วยแปลง “โคก หนอง นา บวร โมเดล” ในวันนี้ นี่ก็คือการร่วมมือด้วยหลัก “บวร” คือ บ้าน วัด  ราชการ นั่นเอง”

    ขณะที่ พระเทพวราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมพระภิกษุสงฆ์ วัดมณีวนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้ชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ แห่งนี้ว่า ถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาชุมชนถิ่น และการช่วยเหลือเกื้อกูล ระหว่าง “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ โดยพื้นที่แห่งนี้ เป็นสถานที่กล่อมเกลาจิตใจและใช้เรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร ถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ซึ่งเป็นการน้อมนำเอาแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” นี้ เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ เป็นการผสมผสานทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น และจะช่วยให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ โอกาสนี้ ขอขอบคุณ เจริญพรและอนุโมทนาบุญแด่ทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมดีอื่นๆ เพื่อสังคมตลอดมา อีกทั้งเป็นการสืบทอดบวรพุทธศาสนาและร่วมน้อมนำศาสตร์พระราชา และแนวพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเขียนเป็นตำราลงบนแผ่นดินในรูปแบบ “โคก หนอง นา บวร โมเดล” ในครั้งนี้”

 

Leave a Reply