ชาวพุทธซัดกันนัว!! พร้อมเปิดตัว “ดร.อำนาจ บัวศิริ” ผู้อยู่เบื้องหลัง Untold Story

วันที่ 25 กันยายน 2567  หลังจากมีการ เปิดประเด็น  ราชบัณฑิต ซัด “พระต้น” 4 ประเด็น ทำตัว “เยี่ยงพระสังฆราช” ซึ่ง “ราชบัณฑิต” ในที่นี้หมายถึง “ศ.พิเศษ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ” อดีตสามเณรนาคหลวง จนเกิดกระแสความ “ตื่นตัว” ของสังคม ในขณะที่ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ก็ออกมาชี้แจง ต่อเนื่องเหตุการณ์ดังกล่าวในเฟชบุ๊คส่วนตัว “Banjob Bannaruji – บ้านบรรณรุจิ”

พร้อมกับฝากถึง ดร.อุทิส ศิริวรรณ ว่า ตามที่ ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ อ้างว่า “ผมพูด ธรรมนาวาวัง แบบ untold story นั่น ขอเรียนว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าที่สังคม พูดคุย  ด้วยความเป็นห่วงเพราะฉะนั้นอยากให้ ศ.ดร.อุทิศ หยุดเอาผมไปปั่นสร้างกระแสได้แล้ว ดีไม่ดี ศ.ดร.อุทิศ นั่นแหละ จะกลายเป็นต้นตอของการปลุกระดม แบบหวังผล..”

ด้าน ดร.อุทิส ศิริวรรณ โพสต์ตอบในเฟชบุ๊คส่วนตัวชื่อว่า   Uthit Siriwan  เช่นกันว่า  “สรุปดราม่าที่เผ่นหนี เพราะกลัวภัยถึงตัว อิอิเบื้องหลังดราม่าคือ กุสลเจตนา ชัดเจน  มีอะไรซับซ้อน  พร้อมกับแคปชั่นภาพว่า ถึงไหนถึงกัน  พอตีกันฉันลาป่วย..”

ในขณะที่ พระมหานรินทร์ นรินฺโท ป.ธ. 9 เจ้าอาวาสวัดลาสเวกัส โพสต์เฟชบุ๊ค ส่วนตัวชื่อ  PM-Narin Narinto  เอาไปชยายต่อ หลายตอน เช่น ตอนหนึ่งว่า สรุปว่า “ศ.ดร.บรรจบ นั่นเอง ที่นำเอา Untold Story ซึ่งคุยกันในที่ลับ ไปเปิดเผยในที่แจ้ง จนคนรู้กันทั้งโลก เพราะถ้าอาจารย์บรรจบไม่บอก ใครเล่าจะรู้..”

ล่าสุดเปิดตัว “ดร.อำนาจ บัวศิริ” ผู้อยู่เบื้องหลังระหว่าง ดร.บรรจบ บรรณรุจิ กับ โครงการธรรมนาวาวังของ พระอาจารย์ต้น  ดังนี้

เปิดตัว “ดร.อำนาจ บัวศิริ” ผู้อยู่เบื้องหลัง Untold Story ของ ศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ที่กำลังร้อนแรงดร.อำนาจ บัวศิริ นั้น เป็นอดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เกษียณอายุราชการไปหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับวัดวาอารามต่างๆ ตามประสาคนวัด ถือว่าเป็นคนที่รู้จักพระมากคนหนึ่ง เคยเข้าไปเกี่ยวพันกับกรณีธรรมกาย จนได้ฉายา “สาวกธัมมชโย” มาแล้ว ถือว่าเป็นผู้กว้างขวางในวงการสงฆ์ วันนี้ หันมาจับโครงการ “ธรรมนาวาวัง” ของพระต้น จนหลุดเข้าไปในฉาก Untold Story ของ ศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ซึ่งถ้าหากไม่มี ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ นำภาพจาก มจร. วังน้อย มาขยาย ก็คงจะไม่มีภาพ ดร.อำนาจ บัวศิริ ในวันนี้ และนี่คือ ดร.อำนาจ บัวศิริ เจ้าของฉายา “ที่ไหนมีปัญหา ที่นั่นมีอำนาจ”

ต่อไปนี้เป็นคำชี้แจง จาก..ศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต ต่อกรณีธรรมนาวาวัง ซึ่งท่านได้ไปพูดที่ มจร. วังน้อย เมื่อวันก่อน

เรื่อง  ชี้แจง เกี่ยวกับการเข้าไปเกี่ยวข้องเรื่อง คำสอนเรื่อง ‘ธรรมนาวา ของ พระอาจารย์ต้น’ 

เรียน  สาธุชนทุกท่านตามที่มีการโพสต์ข่าวว่า ‘ราชบัณฑิต ซัดพระต้น 4 ข้อ ทำตัวเยี่ยงพระสังฆราช‘  ซึ่งราชบัณฑิต ในที่นั้น หมายถึงผม ซึ่งทำให้เกิดผล 2  ประการ คือ

1.ฝ่ายที่ไม่ชอบไม่ศรัทธาพระ อ.ต้นก็ชอบใจ ใช้พาดหัวนั้นเป็นเครื่องมือโจมตีท่านต่อไป ขยายผลความเกลียดชังออกไป

2.ฝ่ายที่ชอบและศรัทธาพระ อ.ต้นก็ไม่ชอบใจผม ซึ่งเขาก็มีสิทธิ์จะทำเช่นนั้นได้แต่ผลร้ายคือ เกิดความขัดแย้งในหมู่ชาวพุทธด้วยกัน ซึ่งผมไม่ต้องการให้เป็นอย่างนั้น จึงข้อเรียนชี้แจงว่า

1. การเกี่ยวข้องเบื้องต้นหลังจากคำสอนของพระ อ.ต้นพิมพ์เผยแพร่ออกมาเป็นชุด เรียกว่า ‘ชุดธรรมนาว แล้ว ร.ศ.(พิเศษ) อำนาจ  บัวศิริ อดีตรอง ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งรู้จักกันได้ส่งมาให้ผมอ่านและขอความเห็นเกี่ยวกับคำสอน  หลังจากอ่านแล้ว ผมได้แจ้งไปยัง อ.อำนาจผ่านทางไลน์ส่วนตัวว่า

“อ.ครับ ผมอ่านแล้ว พบว่า

1.มีข้อดี และข้อควรทวงติง

2.มีทั้งข้อมูล จากคัมภีร์ จากครูบาอาจารย์ของท่าน และประสบการณ์ส่วนตัวของท่าน (ที่เรียกว่าแนวคิดส่วนตน)   ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องแยกให้ออก

3.เล่ม ‘หลักการชาวพุทธ’ ต้องพิจารณาเนื้อหาให้มาก เพราะเป็นเล่มหลักใน 4 เล่มของท่าน

4.เล่มอริยสัจภาวนา ข้อควรแก้ไข คือ คำอธิบาย

4.1 กุศล กับ อกุศล เป็นสังขาร อันนี้ไม่สมบูรณ์ ต้องแก้ไขเป็น กุศลเจตนา กับ อกุศลเจตนา

4.2 วิญญาณปฏิสนธิ  อันนี้ ไม่สมบูรณ์เช่นกัน ไม่ควรใช้ ใช้แค่ วิญญาณ ก็พอ

แจ้งให้ อ.ทราบนะครับ“

นี่คือ ความเป็นมาเบื้องต้นที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้อง จากนั้น อ.อำนาจก็ส่งความเห็นของผมไปถึง ดร.วรพิมพ์สุข ผ่องสมัย ลูกศิษย์พร อ.ต้น และอาศัยความเห็นนี้ซึ่งเธอเห็นว่า เป็นกลาง จึงนัดพบกันเพื่อฟังคำชี้แจงจากปากผมอีกที ซึ่งก็มี อ.อำนาจในฐานะผู้เชื่อมโยงให้พบและพูดคุยกัน รวมอยู่ด้วย

ได้พบกันแล้ว หลังจากปรารภประเด็นกันแล้ว ผมได้แจ้งว่า

* คำสอนของพระ อ.ที่ดี คือเรื่องการถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งข้อนี้ดีมาก ทุกฝ่ายรับได้ เพราะกิจกรรมงานบุญของชาวพุทธเรา หลังจากกล่าว นะโม แล้วก็ตามมาด้วยการกล่าวขอถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

ดังนั้น คำสอนของ พระ อ.ต้น ที่ให้ลูกศิษย์เข้าถึงพระรัตนตรัยด้วยวิธีการต่าง ๆ นั้นชอบแล้ว และวิธีอย่างที่ท่านว่ามานั้นก็มีกล่าวอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาหลายฉบับ

*คำสอนที่เสนอให้ปรับปรุงแก้ไข คือ  1. ที่พูดว่า พระไตรปิฎกเชื่อถือได้  80 %  ที่ไม่น่าเชื่อถือ 20 %

ผมแนะนำว่า คำนี้ไม่ควรพูดหรือพูดไม่ได้เลย เพราะพระไตรปิฎกด้านเนื้อหา มีการทำสังคายนา ตรวจสอบเนื้อหาความถูกต้องผ่านมาทางพระอรหันต์ ซึ่งถือว่าเป็นคณะบรรณาธิการชุดที่ทรงสติปัญญา ด้านการจารจารึกหรือเขียนเป็นตัวหนังสือภาษาบาลี ยุคต่อมาอาจผิดพลาดได้  แต่ตรวจสอบไม่เสียเนื้อหาสำคัญ และแก้ไขได้ โดยอาศัยความรู้ทางภาษาและไวยากรณ์เป็นเครื่องมือตรวจสอบ  อยู่ที่ว่า ผู้อ่านต้องมีความรู้ดีทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติ ดีภาคใดภาคหนึ่งไม่พอ

2.ที่พูดว่า พระพุทธเจ้ามิได้สอนให้นั่งสมาธิ สอนแต่ให้นั่งฝึกสติ โดยยกพระพุทธพจน์ว่า ให้นั่งคู่บัลลังก์ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า

ผมแนะนำว่า พระ อ.ต้นอ้างพระพุทธพจน์ถูก แต่เข้าใจไม่ครอบคลุม เพราะสติกับสมาธิเกี่ยวเนื่องกัน ฝึกสติได้ก็ได้สมาธิ และเมื่อฝึกสติกับสมาธิต่อไปก็เกิดฌานศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพบว่า พระอริยะฝึกได้ทั้งสติสมาธิในอิริยาบถนั่งเป็นหลัก แล้วสอนให้นำสติสมาธิไปใช้ในอิริยาบถอื่นๆด้วยในชีวิตประจำวันคำสอนเรื่อง นั่งฝึกสติมีปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร คำบาลีว่า  นิสีทติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา

ซึ่งเมื่อศึกษาดูให้ตลอดสายในมหาสติปัฏฐานสูตรจะพบว่า นั่งฝึกสติเกิดทั้งสมาธิ-วิปัสสนา ฝากไปให้ พระ อ.พิจารณาคำสอนเรื่องนี้

3. ที่พูดว่า ไม่บูชาพระพุทธรูป ไม่ไหว้ต้นโธิ์ ก็ไม่ควรพูด ควรคำนึงถึงเวลาที่จะพูด เพราะไปขัดแย้งกับจารีต เพราะทั้งพระพุทธรูปและต้นโพธิ์ถือกันตามจารีตโดยชาวพุทธทั่วโลกว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

4. ผมจำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร

**เรื่องท่าทีของพระ อ.ต้น  ผมได้แจ้ง ดร.วรพิมพ์สุข ว่าผมเห็นว่า ท่านควรหยุดตอบโต้ ลูกศิษย์ควรหยุดเผยแพร่ข้อความทาง tik Tok

2. การเกี่ยวข้องต่อมา คือ การอภิปราย

การอภิปรายที่ มจร.เมื่อวาน นั้น ผมยกกรณีธรรมนาวา ที่สังคมกำลังพูดถึงด้วยความสงสัยมากล่าวว่าคณะพุทธศาสตร์ในฐานะสอนพระไตรปิฎกน่าจะใช้ความรู้จากพระไตรปิฎกไปช่วยชี้แจงกับสังคมให้เข้าใจคำสอนพระ อ. ต้นทั้งหมดสรุปจากที่ผมอภิปราย

* พอดีมีลูกศิษย์ที่เป็นนักกฏหมายเขาฟังที่ผมพูดเมื่อวานแล้วสรุป ประเด็นมาให้ดังนี้

….สรุปถ้อยคำ ศ.พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ ในงานเสวนา…. เมื่อวันที่ 23 กันยายน ณ หอประชุมใหญ่ มจร.วังน้อย

”ท่านอาจารย์พูดว่า

1. ผมได้กล่าวว่า หนังสือโครงการธรรมนาวาเบื้องต้นใช้ได้โดยเฉพาะเรื่องการนอบน้อมพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย อาจมีบางถ้อยคำที่ต้องปรับปรุง เช่น เรื่องขันธ์ 5 ในส่วนที่เกี่ยวกับสังขารที่ควรใช้ถ้อยคำว่า กุศลเจตนา อกุศลเจตนาเป็นสังขาร

2. ผมได้ฝากข้อสังเกตไปยังลูกศิษย์พระอาจารย์ต้นที่มาสนทนากับผม ดังนี้

– พระไตรปิฎกส่วนไหนที่ยังไม่เข้าใจ อาจเป็นเพราะยังเข้าไม่ถึง ควรหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์

ควรพักไว้จนทำความเข้าใจ หากยังเข้าใจไม่ได้ก็ต้องพูดว่า ยังเข้าไม่ถึง ขอเก็บไว้ศึกษาก่อน

– พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำสมาธิ

ซึ่งลูกศิษย์พระอาจารย์ต้นก็ได้จดบันทึกไป

3. ตอนท้าย ผมได้สรุปว่า เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน ผมอยากให้ปรองดองกัน ทำงานกันต่อไป ผมยังเน้นย้ำเจตนารมณ์ของผมที่มีมาแต่เดิมว่า “ผมไม่อยากให้เกิดความร้าวฉานระหว่างชาวพุทธด้วยกัน“

นี่คือส่วนที่ผมพูดก่อนจบอภิปราย ประมาณไม่ถึง 10  นาที  สุดท้ายนี้ขอเรียนว่า ผมมีความบริสุทธิ์ใจกับพระพุทธศาสนา และบุคลากรทางพระพุทธศาสนา  อย่างพระ อ.ต้น ควรเป็นพระที่ควรได้รับความเข้าใจจากสังคมว่า

“ท่านเป็นพระหนุ่ม การศึกษาเชิงปริยัติอาจน้อยไป แต่การปฏิบัติกรรมฐานดูแล้วใช้ได้ และมีความตั้งใจสูงในการเผยแผ่พระธรรม พระผู้ใหญ่ควรต้องเอาท่านมาไว้ใกล้ชิด และประคับประคองท่านให้เดินตามทางอริยวงศ์ต่อไป  ในการสอนของท่านที่โดดเด่นคือ สอนคนมีทุกข์ให้พ้นทุกข์  ซึ่งคณะสงฆ์ต้องศึกษาร่วมกันว่า ท่านสอนอย่างไร ?

และคณะสงฆ์ต้องถือเป็นโจทย์สำคัญที่จะต้องสร้างพระนักสอนรุ่นใหม่ให้สอนอย่างนี้ ให้ได้  ถ้าคณะสงฆ์ทำโจทย์นี้ได้ ก็จะได้พระอย่างพระ อ.ต้นออกมาสนองงานพระศาสนาต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเรายามนี้มีทุกข์มาก จึงไม่ควรจะเอาสถานการณ์วุ่นวายทางสถาบันพระพุทธศาสนาไปทำให้บ้านเมืองทุกข์ขึ้นอีกอย่าใช้ความเห็นต่างที่แก้ไขได้ไปเป็นทุกข์กระทบ  สถาบันชาติ  สถาบันพระพุทธศาสนา  สถาบันพระมหากษัตริย์  มากกว่านี้เลย

ตกนรกเปล่า”  ด้วยความเคารพความเห็นต่างที่น่าจะแก้ไขได้

หมายเหตุ   นี่คือส่วนที่ผมขอชี้แจงวันนี้ ส่วนพระ อ.ต้น และมวลลูกศิษย์ของท่านจะรับได้แค่ไหนหรือรับไม่ได้ ข้อนี้ก็แล้วแต่ ต่างมีอิสระ  ส่วนผมหากจะให้มาเกี่ยวข้องก็ทำได้แบบนี้ิ คิดว่าดีที่สุดแล้ว

Leave a Reply