ตั้งชมรมครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยหวังตอบโจทย์เด็กยุคดิจิทัล

วันที่ 17 เม.ย.2562 จากการแลกเปลี่ยนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้การสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนักแบบกิจกรรมที่มีความเชี่ยวชาญ ที่วิทยาพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 15-16 เม.ย.2562 ที่ผ่านมา โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาุจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) รองประธานคณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา สพฐ. ศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ รองประธานคณะกรรมการฯ และรองประธานอนุกรรมการด้านหลักสูตรการปฏิรูปการสอนวิชาพระพุทธศาสนา เสนอถึงความยั่งยืนของการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ด้วยการตั้ง #ชมรมครูสอนพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาครูต้นแบบการสอนพระพุทธศาสนาให้เหมาะสมกับเด็กในยุคดิจิทัล

พระมหาหรรษา กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่มีสติสมาธิเป็นฐาน Process of Mindfulness & Concentration Based Learning ถือว่าเป็นทางรอดของสังคมไทย เกิดคุณูปการมากในการทำงาน แต่สิ่งสำคัญต้องทำเอาธรรมมิใช่ทำเอาเท่ห์ คณะกรรมทำงานจะต้องเข้าใจmindset การทำงาน โดยมี #กรอบคิดการเรียนรู้ที่มีสติสมาธิเป็นฐาน: Framework of Mindfulness & Concentration Based Learningโดยมี #สติ #เมตตา #สุจริต #เคารพ #สัจจะ ซึ่งสติเป็นการรู้เท่าทันเป็นธรรมที่เป็นวิถีชีวิต เป็นธรรมที่มีความง่ายมาก สติเป็นของพระพุทธศาสนาที่มีความชัดเจน คำถามเราจะทำให้สติเข้าไปในวิถีชีวิตอย่างไร

การเรียนรู้สติไม่ใช่การนั่งนิ่งๆ เท่านั้น แต่ควรออกแบบกิจกรรมที่มีส่วนร่วมผ่านการเคลื่อนไหว เช่น การจัดดอกไม้ การวาดภาพ การทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีสติและสมาธิเป็นฐาน เพราะจิตของมนุษย์มีความปภัสสรสวยงาม แต่อุปกิเลสเข้ามาจึงทำให้มีความเศร้าหมอง การออกแบบกิจกรรมต้องมีสติเป็นฐาน ส่วนสมาธิเป็นผลของการฝึกสติ โดยเริ่มด้วยขณิกสมาธิ จึงย้ำว่า #วิชาพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องอารมณ์และความรู้สึกมิใช่เรื่องเหตุผล เป็นการค้นพบจากภายใน ธรรมะไม่ได้เกิดจากความจำแต่เกิดจากวิถีชีวิต

รวมถึง #ธรรมศึกษาของพระสงฆ์ที่เรียนในปัจจุบันเรายังเน้นเรื่องความจำ เรียนวิชาพระพุทธศาสนาต้องไม่แห้งแล้ง จะต้องมีความชุ่มเย็น เราจะต้องออกแบบการสอนให้มีความน่าสนใจ เรียกว่า #เรียนวิชาพระพุทธศาสนา 50 นาทีแห่งความสุข จึงต้องมีเยาวชนมาร่วมประชาสัมพันธ์ สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ด้วยการรับรู้ใหม่ ว่า #วิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาแห่งความสุข จะต้องสื่อสารให้สังคมได้รับทราบ โดยยกกรณี อิคิวชัง เป็นต้นแบบการฝึกสติสมาธิทำให้เกิดปัญญา จึงต้องการสร้างเยาวชนต้นแบบ ด้านยุวชนสติและสมาธิ มีการมอบรางวัล #ยุวชนด้านสติและสมาธิ เป็นสร้างความเชื่อมั่นว่า วิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อชีวิต และสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาพระพุทธศาสนา

จึงต้องมีเพลงสติสมาธิ เพื่อเป็นกระตุ้นการเรียนรู้และมีคำปณิธานด้านสติสมาธิ เป็นสัจจะอธิษฐานเพื่อปลูกฝังเข้าสู่จิตใจ โดยการสอนในเด็กมัธยมเรียนรู้การคบซ้อน เราจะสอนอย่างไรให้สัมพันธ์กับสติสมาธิ เบื้องต้นเด็กจะต้องเรียนรู้เรื่องการฟังดังนั้น #กระบวนการเรียนรู้ที่มีสติสมาธิเป็นฐานมี ๖ ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)ขั้นตอนพร้อมเรียนรู้อย่างมีสติและสมาธิ 2) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีสติและสมาธิ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีสติและสมาธิ 4) ขั้นสรุปการเรียนรู้อย่างมีสติและสมาธิ 5)ขั้นประยุกต์วิถีธรรมสู่วิถีชีวิตอย่างมีสติและสมาธิ 6) ขั้นประเมินผลอย่างมีสติและสมาธิ โดยคณะกรรมการปฏิรูปกาเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา

“ทางคณะกรรมการปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาให้ความสนใจและตระหนักเป็นอย่างยิ่ง เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์สังคมที่มีปัญหาด้านคุณธรรมด้วย โจทย์สำคัญการวัดผลประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาคือ ผลการปฏิบัติ เพราะความโลภโกรธหลงมาในระดับดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ทำให้ ศ.รท.ดร. บรรจบ รองประธานอนุกรรมการด้านหลักสูตร เสนอแนวทาง #การตั้งชมรมครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ให้เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืน จึงมีการปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนา โดยมีอาตมาเป็น #ประธานชมรมครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาครูต้นแบบในการสอนวิชาพระพุทธศาสนาต่อไป” พระมหาหรรษา ระบุ

Cr.Pramote OD Pantapat

Leave a Reply