“เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช”ผอ.สันติศึกษามหิดล แนะสังคมไทย ขัดแย้งได้แต่อย่ารุนแรง จงแปรรูปให้เกิดประโยชน์เหมือนกระแสไฟฟ้า
เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนีบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 4 สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กPramote OD Pantapatว่า เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้ “หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี” โดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในช่วงเช้าหัวข้อ ธรรมชาติและเหตุแห่งความขัดแย้ง บรรยายโดย อาจารย์ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีประเด็นสำคัญว่า เวลาเราเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นบางคนอาจจะมองว่าไม่สงบสุข เราจะเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งอย่างไร? เราจะสร้างสันติภาพอย่างไร? หลักปรัชญาเพื่อการเข้าใจความขัดแย้ง โยฮัน กัลตุงพยายามบอกว่าความขัดแย้งมีการเชื่อมโยงกับความรุนแรง ความขัดแย้งจึงเป็นพื้นฐานของญาณวิทยา จึงต้องมองความขัดแย้งให้เป็นธรรมชาติ รวมถึงการวิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งจากความแตกต่าง
ปรัชญาสันติภาพและความขัดแย้ง : Philosophy ซึ่งโยฮัน กัลตุง (Johan Galtung 1996) ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสันติศึกษายุคใหม่ เน้นย้ำการศึกษาเรื่องสันติภาพภายใต้หลักญาณวิทยา (Episitemology) โดยญาณวิทยา มีรากศัพท์มาจากภาษากรีซ ประกอบด้วย Epistems : ความรู้ + logos : ศาสตร์ หมายความว่า ศาสตร์ว่าด้วยความรู้ ผ่านธรรมชาติความรู้ การให้เหตุผล ความเชื่อ เชื่อมโยงความรู้การับรู้ ความจริง ความเชื่อ รวมถึงการตั้งข้อสงสัย กับความจริงความเชื่อ ซึ่งหลักญาณวิทยาเพื่อให้เราได้ตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบความรู้รวมถึงเหตุผล โดยโยฮันเน้นให้เราฝึกตั้งคำถามโง่ๆ เพื่อค้นหาความจริง เด็กพยายามตั้งคำถามมากมายเพื่อต้องการคำถาม โดยมีทั้งความจริงของความจริง และความจริงของความรู้สึก ซึ่งยกตัวอย่างน้ำร้อนจัด และน้ำเย็นจัด
โดยยกกรณีของเยาวชนออกมาประท้วงภาครัฐรวมถึงสถาบัน โดยมีความเชื่อว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นการปะทะกันระหว่างน้ำเย็นกับน้ำร้อน โดยกลุ่มหนึ่งยึดมั่นในอดีตที่เจริญรุ่งเรือง อีกกลุ่มพยายามจะสร้างความเปลี่ยนแปลง จึงพยายามยกประเด็นของเหตุการณ์การประท้วงในสหรัฐอเมริกา มองว่ากฎหมายมีความเด็ดขาดชัดเจน แต่บ้านเราในมิติกฎหมายการรับรู้ว่ากฎหมายยังไม่เด็ดขาด สิ่งสำคัญเมื่อเรามีความเชื่อแบบนี้จะนำไปสู่ความรุนแรง เพราะความเชื่อเรากับความเชื่อคนอื่นต่างกัน ประสบการณ์การรับรู้เราทุกคนมีความต่างกันแต่การรับรู้บางอย่างนำไปสู่ความรุนแรง โดยอากาศหนาวที่ญี่ปุ่น กับ อากาศหนาวที่ไทย ย่อมมีความต่างกัน คนญี่ปุ่นอาจจะมองว่าอากาศหนาวที่ไทยถือว่าเป็นอากาศสบายๆ แต่สำหรับคนไทยถือว่าหนาวแล้ว การรับรู้ต่างกันลักษณะนี้จึงนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง
กัลตุงจึงนิยามสันติภาพว่า การปราศจาก (ลดต่ำลง) ของความรุนแรงในทุปรูปแบบ และสันติภาพคือการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งโดยสันติวิธีและสร้างสรรค์ โดยศึกษาด้านสันติภาพ ๒ มิติ คือ มิติความรุนแรง และมิติความขัดแย้ง โดยโยฮัน กัลตุงแบ่งสามเหลี่ยมคือ ๑)ความรุนแรงทางตรง คือ พฤติกรรม รุนแรงทางกายภาพ คำพูดทำลายด้านจิตใจ ทำลายทรัพย์สิน ใช้การแก้ไขความขัดแย้งกำจัดความขัดแย้ง มิติสันติภาพคือการรักษาสันติภาพ : Peace Keeping ๒)ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง นำไปสู่ข้อขัดแย้ง ความไม่เป็นธรรม การกดขี่ข่มเหง การบังคับ การละเมิดสิทธิมนุษยชน การแบ่งแยก ใช้การจัดหาข้อยุติ มิติของสันติภาพ คือ การทำให้เกิดสันติภาพ Peace Making ๓)ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม นำไปสู่ความเกลียดชัง ใช้การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง มิติสันติภาพคือสร้างสันติภาพ Peace Buildig
โดยองค์ประกอบความขัดแย้งประกอบ ๓ ประการ คือ ๑)พฤติกรรม เป็นมิติของการกระทำ โดยการใช้ความรุนแรงทางกาย ทางวาจา การสื่อผ่านภาษากายที่ไม่เป็นมิตรของคู่กรณีในความขัดแย้ง ๒)ประเด็นหรือข้อขัดแย้ง เป็นข้อขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางความสัมพันธ์ผู้มีส่วนร่วมในความขัดแย้ง ๓)ทัศนคติ เป็นมิติด้านอารมณ์ความรู้สึกนุกคิดของคนหรือกลุ่มคนที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ลงรอย เกิดทัศนคติ ความรู้สึกก้าวร้าว ความโกรธ ความเกลียดภายในจิตใจ ทำให้มีการยกระดับและลดระดับความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งเกิดจากความแตกต่าง (Difference) เริ่มต้นจาก
+ความแตกต่าง
+ความขัดกัน
+การแบ่งขั้ว
+ความรุนแรง
+สงคราม
+การหยุดยิง
+ข้อตกลงร่วมกัน
+สภาวะคืนสู่ความสงบ
+การปรองดองและคืนดี
โดยมองผ่านแผนนาฬิกาทราย การจำกัดวง การหาข้อยุติ และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง จะต้องทำเกิดสันติภาพ การรักษาสันติภาพ การสร้างสันติภาพเชิงโครงสร้าง และการสร้างสันติภาพเชิงวัฒนธรรม ความขัดแย้งจึงเป็นความพยายามแสวงหาและบรรลุเป้าหมายที่ไม่ลงรอยกันระหว่างคนหรือกลุ่มต่างๆ ลักษณะสำคัญของธรรมชาติความขัดแย้งคือ #ความไม่ลงรอยกันในเป้าหมาย (Goal Incompatibility) เราจึงควรพยายามแปรเปลี่ยนกระแสไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ เหมือนเราแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไม่ให้เกิดความรุนแรง ถ้าเราจะทำงานด้านความขัดแย้ง เราต้องไปหา #ความต้องการที่แท้จริง ที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง จึงต้องไปดู ๓ ประการ คือ สาเหตุความขัดแย้ง ผู้มีส่วนร่วม และรูปแบบ การค้นหาผลประโยชน์ที่รองรับจุดยืน อะไรคือจุดยืนของแต่ละฝ่ายหมายถึงข้อเรียกร้อง ความปรารถนา หมายถึง ข้อต่อรองสุดท้ายที่แสวงหา และผลประโยชน์ที่รองรับ หมายถึง เหตุผลแห่งความปรารถนานั้นๆ รวมถึงการมองต้นไม้แห่งความขัดแย้ง (Conflict Tree)
ดังนั้น ญาณวิทยาสอดรับกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาคือ หลักกาลามสูตร อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะลงมือปฏิบัติหรือพิสูจน์ เมื่อศรัทธาคือความเชื่อ จะต้องมีปัญญากำกับเสมอ โดยเน้นการศึกษาในด้านของทฤษฎีสันติภาพ : Peace ด้านความรุนแรง : Violence และด้านความขัดแย้ง : Conflict ถึงแม้จะขัดแย้งกันได้แต่จงระวังอย่าให้เกิดความรุนแรงทางตรงทางอ้อมทางโครงสร้างและความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรม
Leave a Reply