ความฉลาดของ “มจร” และ “อาคาร 92” โมเดล!!

เมื่อวานนี้ผู้เขียนได้รับคำเชิญจาก พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศให้ไปร่วมเปิดงาน การอบรมธรรมทูตคฤหัสถ์ 4 ทวีป ซึ่งมีธรรมทูตคฤหัสถ์ส่วนใหญ่ประเทศไทยและบางส่วนประมาณ 40 ท่าน เดินทางมาจากหลายประเทศทั้งฝรั่งเศล อังกฤษ นอเวย์ เนเธอแลนด์ รวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานพระธรรมทูตแต่ละทวีปมาเป็น “พี่เลี้ยง” นำพามาร่วมพิธีเปิด

“ผู้เขียน” คิดในใจว่า อันนี้แหละคือ “ความฉลาด” ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ดำเนินกิจกรรมนี้ เท่าที่ฟังโครงการนี้เริ่มต้นจากประธานพระธรรมทูตไทยจากยุโรป ซึ่งทำมาแล้ว 3 ครั้ง  ซึ่งก็ไม่ใช่ผู้อื่นใด คือ ศิษย์เก่า ของ มจร ที่ไปจากบ้านจากเมืองไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน แล้ว คิดถึง “บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน”  แล้วมันส่งผลดีต่อพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์โดยรวม

ส่วน “มจร” ที่ว่าฉลาด เพราะต่อไปคนกลุ่มนี้คือ “มวลชน” ของ “มจร” เต็ม ๆ   เชื่อเถอะอนาคตเวลาผู้บริหารไปต่างประเทศ “ไม่อด”  แน่ อันนี้ยังไม่พูดถึงผลดีที่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อันพึงได้ เอาไว้หากมีเวลาจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง

“ผู้เขียน” เจอ “บุญมี พรรษา” ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ อีกหมวกหนึ่งคือ “ผู้จัดการอาคาร 92” หรือภาษาแบบพวกเราชาว มจร เรียกก็คือ “โรงแรม 92” ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงาน “รัฐวิสาหกิจ”  1 ใน 3 ของ มจร ทั้งโรงพิมพ์ และมหาจุฬาบรรณาคาร มาเล่าผลดำเนินงานให้ฟังในฐานะ “บอร์ดบริหาร” ที่มีมติไปว่า ให้ผู้จัดการคนใหม่ ไป “รีเร็ต” อะไรบ้าง

“ผู้เขียน” ขอชื่นชมว่า “ผู้จัดการคนใหม่” ค่อนข้างทำได้ดี ทั้งเรื่องการติดตั้งระบบไอทีใหม่ เรื่องการรับเงินด้วยการสะแกน ทั้งภายในโรงแรม 92 ร้านกาแฟ รวมทั้งร้านอาคาร จากเดิมที่ใช้เงินสด ซึ่งอาจมองไม่โปร่งใสได้ ซึ่งเท่าที่ “บอร์ดบริหาร” มีมติไปทำได้เกือบหมด แม้วันนี้ยังไม่เกิดเห็นเป็น “รูปธรรม” แต่เท่าที่แอบเข้าไปสังเกต เริ่มข้าสู่กระบวนการ  “จัดซื้อ” แล้ว

“ผู้เขียน” ถามเจ้าหน้าที่เล่าว่า แม้กระทั้งชุดเจ้าหน้าที่ ผ้าห่ม ห้องรับรองแขก ตอนนี้ก็ “รีเร็ต” ใหม่แล้ว รวมทั้ง “รถตู้” สำหรับรับส่งพระเถระผู้ใหญ่ ก็กำลังจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ก็ทั้งหมดก็เป็นไปตามมติคำสั่งการของ “บอร์ดบริหาร” 

“ผู้เขียน” ไม่อยากพูดถึง “เรื่องเก่า” เป็นอันว่า “อาคาร 92”  ควรเป็นแบบอย่างหรือ “โมเดล” ให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีก 2 แห่งของ มจร ทั้งโรงพิมพ์ ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นป้ายประชาสัมพันธ์ให้ใช้บริการบ้างแล้ว หวังว่า “ผู้จัดการคนใหม่” รัฐพล เย็นใจมา ต้อง “สะสาง” ปัญหาภายใน รวมทั้งเรื่อง “ฟ้องร้อง” ในศาล ทำอย่างไรเงิน 30 กว่าล้าน “มจร” จึงจะต้องไม่จ่ายให้กับกรมสรรพากร

ส่วน “มหาจุฬาบรรณาคาร” ซบเซาไปตามกาลเวลา รายได้ตอนนี้นอกจาก “ถ่ายเอกสาร -เข้าเล่ม” แล้วแทบมองไม่เห็นอะไร หรือมีอะไรอื่น อันนี่ไม่เคยถาม “ธัชชนันท์ อิศรเดช” ผู้จัดการมหาจุฬาบรรณาคาร

เป็นเอาว่า..คอลัมน์ “ส่องกล้อง มองสงฆ์” วันนี้เบา ๆ แบบเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องเฉพาะคน มจร ซึ่งอาจมิใช่เรื่องสาธาณะ แต่อยากเล่าเพื่อให้กำลังใจ “คนทำงาน” ให้กำลังใจผู้จัดการเลือดใหม่ทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นทั้งศิษย์พี่และศิษย์น้อง  และทั้งขอชื่นชมผู้บริหาร “มจร” ที่ทำโครงการ “ธรรมทูตคฤหัสถ์” ไปด้วยในตัว..

Leave a Reply