ล้ำหน้า ม.เกียวโตสร้าง AI ‘บุดดาห์บอท’ ให้คนแชทคุยกับพระพุทธเจ้าผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา

วันที่ 12 ก.ย. 65  จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราแชทกับพระพุทธเจ้าได้ผ่านมือถือ? จินตนาการนี้อาจไม่ไกลเกินจริงเท่าไหร่นัก เพราะคณะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก มหาวิทยาลัยเกียวโตเพิ่งสร้าง AI ‘บุดดาห์บอท’ ที่ให้คนแชทคุยกับพระพุทธเจ้าได้แล้ว

หลังพัฒนาสำเร็จครั้งแรกเมื่อ เม.ย. ปีที่แล้ว ขณะนี้ คณะนักวิจัยเพิ่งพัฒนา AI บุดดาห์บอทเวอร์ชันล่าสุดสำเร็จ โดยระบบ AI ออกแบบให้สามารถตอบคำถาม ข้อสงสัย และคลายความกังวลของผู้ใช้งานได้แบบอัตโนมัติ

แน่นอนว่าคำตอบย่อมเป็นไปตามมุมมองของพุทธศาสนา เพราะทีมนักวิจัยได้ป้อนข้อมูลของพระไตรปิฎกสาสนาพุทธเข้าไปในระบบด้วย หนึ่งในนั้นมี ‘พระสุตตันตปิฎก’ คัมภีร์พุทธที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อันมีเนื้อหาประกอบด้วยพระวินัยปิฏก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก หรือที่เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม

โปรแกรมบุดดาห์บอทเป็นการผสมผสานระหว่างระบบ AI บุดดาห์บอท เข้ากับเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) ทำให้ในขณะที่ใช้งาน ผู้ใช้จะเห็นภาพของพระพุทธเจ้า โดยมีภาพพื้นหลังเป็นสถานที่จริงที่ผู้ใช้งานอยู่

AI บุดดาห์บอทสามารถตอบได้มากกว่า 1,000 คำตอบ และคำตอบจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ผู้ใช้เลือกมาพูดคุยและปรึกษา บุดดาห์บอทจะมีหน้าตาเหมือนช่องแชททั่วไปที่สามารถป้อนข้อความด้วยการพิมพ์หรืออัดเสียงก็ได้ ให้ความรู้สึกราวกับว่าได้แชทกับพระพุทธเจ้าในชีวิตจริง

เนื้อหาของคำตอบจะไม่แตกต่างกันไม่ว่าผู้ใช้งานจะอายุเท่าไหร่หรือเป็นเพศใด ทั้งนี้ คณะนักวิจัยเคยยกตัวอย่างบทสนทนาไว้ด้วย เช่น หากถามว่า “ฉันจะมีความสุขกับตัวเองในทุกวันได้อย่างไร ในช่วงที่ฉันไม่สามารถออกไปดื่มข้างนอกได้เพราะการระบาดของ COVID-19?” AI บุดดาห์บอทก็อาจตอบว่า “การจะมีชีวิตที่สงบและสะอาด สิ่งสำคัญคือต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ก่อน จากนั้นจึงมีน้ำใจต่อผู้อื่น และใช้เวลากับคนที่บริสุทธิ์เช่นกัน”

ขณะนี้ AI บุดดาห์บอท เวอร์ชันล่าสุดจะให้บริการแค่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยวางแผนว่าจะเปิดตัวระบบ AI บุดดาห์บอทนี้สู่สาธารณะในภายหลัง แต่ขอพัฒนาระบบก่อน

ปัจจุบัน หลายฝ่ายวิตกกังวลว่าความสำคัญของศาสนาพุทธในญี่ปุ่นอาจลดลง เพราะศาสนาพุทธมักปรากฎแค่ในงานศพหรือสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น จึงเกิดความพยายามทำให้ศาสนาพุทธเข้าถึงง่ายมากขึ้น

สอดคล้องกับที่ เซย์จิ คุมากาอิ (Seiji Kumagai) หัวหน้าทีมวิจัยและรองศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต เผยว่า “ศาสนาพุทธกำลังเผชิญกับความจริงที่โหดร้ายเนื่องจากรายได้ของวัดที่ลดลง ประกอบกับความวิตกกังวลและความทุกข์ของผู้คนเพิ่มขึ้นท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 และวิกฤตอื่นๆ เราจึงต้องการตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมเข้ากับ AI และ metaverse”

ในการเปิดตัว AI บุดดาห์บอทครั้งแรก คุมากาอิเคยอธิบายไว้ว่า บุดดาห์บอทจะช่วยให้ทุกคนถามคำถามได้ทุกที่ทุกเวลา “ผมหวังว่ามันจะเป็นโอกาสสำหรับคนที่อยากเสริมความเชื่อมั่นในศาสนาพุทธ” หัวหน้าทีมวิจัย ระบุ

KYOTO — Researchers in Japan have developed a “Buddhabot” artificial intelligence which gives advice from a Buddhist perspective on modern worries and social issues.

The AI, developed by researchers including at Kyoto University’s Kokoro Research Center, answers in 108 ways — the same number of earthly desires Buddhism says people have — to consultations carried out via computer.

“With the Buddhabot, anyone can ask any questions anytime, anywhere,” said Seiji Kumagai, an associate professor in Buddhist studies at the research center. He added, “I hope it will be an opportunity for people to strengthen their trust in Buddhism.”

The research group applied an algorithm called “BERT” provided by Google in the U.S. They selected passages from the oldest Buddhist sutra “Sutta Nipata,” that are easy to understand even now, and created a list of questions and answers to have the AI learn it. The Buddhabot can currently answer questions using 108 different passages. To develop the AI, the team also received cooperation from a Buddhist scholar.

For example, to the question, “How can I enjoy myself every day while not being able go out for drinks because of the coronavirus?” the Buddhabot answers: “To have a calm, clean life, it is important to cleanse yourself first, pay consideration to each other, and spend time with similarly clean people.”

At present, issues including discrepancies between questions and answers remain, so the team intends to improve the AI’s accuracy by making it learn more data. To make sure that developers do not alter the sutras’ wording, and that the Buddhabot does not use words Buddha never did, it will for the time being be used only academically, instead of publicly.

As Japanese Buddhism often appears in funeral and sightseeing scenes, there has been a sense of crisis about the current situation, which could cause the religion to become more facile; that feeling spurred the AI’s development.

Koshin Higashifushimi, chief steward at Shoren-in Monzeki temple in Kyoto’s Higashiyama Ward, said, “I hope it will become a step for people who until now haven’t had opportunities to get in touch with Buddhism to learn about it.”

 

ที่มา : https://mainichi.jp/

Leave a Reply