เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวอดีตพระที่จังหวัดกาญจนบุรีดื่มสุราเมาขอเสพเมถุนกับสีาจนถูกจับสึกว่า เหตุการณ์ที่พระสงฆ์มีพฤติกรรมผิดวิสัยส่วนใหญ่บวชตอนแก่ และยังใช้อุปนิสัยเดิมสมัยเป็นฆราวาสใช้ในเพศสมณะ จากที่พระสงฆ์ผู้รับรองผู้มาบวชท่ามกลางสงฆ์เรียกว่า “อุปัชฌาย์” แปลว่า “ผู้เฝ้าเอาใจใส่ต่อการชี้โทษแก่ศิษย์” พระพุทธเจ้าก็ทรงรับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์จักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมใน สัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริกจักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริกจักมีความเคารพยำเกรงประพฤติกลมเกลียวกัน จักถึงความเจริญงอก งามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้”
แต่ภายหลังเหมือนพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วไม่ปฏิบัติต่อกันตามพุทธประสงค์ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย อย่างไรก็ตามตนจะนำเรื่องเสนอต่อกรรมาธิการเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้าน นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการพิจารณาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวเป็นผลจากการไม่ดำเนินการตามหลักพระธรรมวินัยตามบัญญัติของพระพุทธเจ้า ที่มุ่งเน้นให้อุปัชฌาย์ไปสนิทสนมกับศิษย์พร้อมอบรมสั่งสอนให้เข้มงวดโดยเฉพาะ ภิกษุที่บวชต่ำกว่า 5 พรรษา ที่เรียกว่าพระนวกะ ซึ่งจะส่งผลต่อกฎหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา 26 ว่าพระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรม (การลงโทษตามพระธรรมวินัย) เงื่อนไขที่สร้างพระให้เป็นพระ นอกจากพระอุปัชฌาย์แล้ว
“ขณะนี้เรายังไม่มีมาตรฐานที่เป็นหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเป็นการช่วยเหลือพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต้องยอมรับว่าพระอุปัชฌาย์บางรูปมีภาระงานมากมาย แต่กลับกันพระอุปัชฌาย์ในท้องถิ่นที่ห่างไกลก็เป็นได้แต่เพียงผู้บวชไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่ดีที่จะมาอบรมสั่งสอนพระใหม่ได้ ซึ่งในความเห็นของตนควรมีการประชุมหารือกันในส่วนงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน เพราะพระสงฆ์คือหัวใจสำคัญของพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย หากสร้างพระให้เป็นพระ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง ซึ่งคงต้องมีการสังคายนา เพื่อสร้างมาตรฐาน กันสักครั้ง” นายณพลเดช กล่าว
Leave a Reply