วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคารสิริภักดีธรรม วัดประยุรวงศาวาส วรวิหารที่ กรุงเทพมหานคร พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศแห่งคณะสงฆ์ ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มจร ในฐานะประธานอนุกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฏก ฉบับภาษาอังกฤษ ได้ เป็นประธานการอบรมการใช้งานโปรแกรมSDL Trados Studio สำหรับโครงการจัดทำพระไตรปิฏกฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) อนุสนธิ ตามที่คณะกรรมการจัดทำพระไตรปิฏกฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ได้พิจารณาเห็นควรให้ใช้โปรแกรม SDL Trados Studio เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกให้แก่นักแปลและบรรณาธิการโครงการจัดทำพระไตรปิฏก ฯ และคณะกรรมการอุปถัมภ์ ฯ ได้มีมติการประชุม
เมื่อวันที่19 กันยายน พุทธศักราช 2565 เห็นชอบกำหนดให้นักแปลและบรรณาธิการนำเครื่องมือโปรแกรมดังกล่าว มาใช้ในโครงการ ฯพระไตรปิฏกฯ มีมาตรฐานในการแปล เนื่องจากผ้แปลและบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายประเทศ จึงได้จัดให้มีการประชุมในครั้งนี้
สำหรับความเป็นมาของโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ เริ่มจากเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา กรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ โดยที่ ประชุมมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา บูรณาการร่วมกับมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ โดยใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทยฉบับสยามรัฐเป็นต้นฉบับในการแปลเป็นภาษาอังกฤษ และขอให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการในการดำเนินโครงการในนามรัฐบาล
ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 มีมติเห็นชอบตามที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เสนอโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) เพื่อถวายพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญและศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย และเพื่อเป็นการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก รวมทั้งเห็นชอบตั้งแต่คณะกรรมการอำนวยการจัดทำโครงการฯ โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินการได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คณะ คือ
1.คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายอุปถัมภ์โครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษโดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
2.คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการ
และต่อมาทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะขอให้ทางสำนักงานองคมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯต่อไป เรื่องดังกล่าวมีมติ ครม.มาแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ซึ่งครม.ได้เห็นชอบหลักการโครงการดังกล่าวในนามรัฐบาล โดยให้มีการบูรณการร่วมกันระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมมหาเถรสมาคม (มส.) สำนักงานพระพุทธศาสนา (พศ.) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก โดยรัฐบาลจะเน้นการเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกด้วยพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษต่อไป
ซึ่งเมื่อ 27 กรกฏาคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นที่ปรึกษาโครงการจัดทำพระไตรปิฏก ฉบับภาษาอังกฤษด้วย
ทัังนี้ สถานการการแพร่ระบาดของโควิด -19 ตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาทำให้โครงการจัดทำพรtไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษเป็นไปด้วยความล่าช้า และไม่เสร็จทันตามกำหนด
Leave a Reply