“สลาวอย ชิเชค” นักปรัชญาชื่อดัง วิพากษ์ “พุทธศาสนา” เป็นศาสนาของคนรวยและสำหรับคนที่ คนอื่นหาอาหารมาให้!!

วันที่ 22 พ.ค. 66 เฟชบุ๊คชื่อ Soraj Hongladarom ซึ่งเป็นของ  ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์  อาจารย์ภาคปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความพร้อมกับลงคลิปยูทูปวว่า  ซลาวอย ซีเซ็ค วิพากษ์ ศาสนาพุทธแบบเต็ม ๆ หลายประเด็น

ประเด็นแรก คือบอกว่า การนั่งสมาธิเป็นการปฏิบัติสำคัญของพุทธศาสนา แต่ในความเป็นจริงมีไม่กี่คนที่มีเวลาว่าง และมีโอกาสทำสมาธิ  นัยยะก็คือว่า มีแต่คนมีเงินเท่านั้นที่มีเวลาว่างไปทำสมาธิ ทำตัวให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ แต่คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำไม่มีเวลาทำแบบนั้น

อันนี้เข้ากับสไตล์ของซีเซ็คเลย เพราะเค้าเป็นมาร์กซิสต์ สรุปว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนรวยกับคนที่มีคนอื่นหาอาหารมาให้ เช่นพระ

ประเด็นที่สองคือ ซีเซ็คไปอ้างนักปรัชญาชาวญี่ปุ่น ที่มีประเพณีถือว่าซามูไรเดินตามแบบเซ็น ที่ทำให้จิตนิ่ง สามารถฆ่าคนได้โดยไม่กะพริบตา ไม่รู้สึกใด ๆ สมาธิจดจ่ออยู่กับการฆ่า แน่นอนเค้าบอกว่าศาสนาพุทธก็มีคำสอนเรื่องความกรุณา เป็นตัวต่อต้านเรื่องนี้ แต่ซีเซ็คก็บอกอีกว่า ในคำสอนของศาสนาพุทธ ก็มีเรื่อง “การฆ่าด้วยความกรุณา” (อันนี้เค้าน่าจะเข้าใจผิด เอาไว้วิพากษ์คำวิพากษ์ของเค้าในคอมเม้นท์)

ในขณะที่แฟนเพจของศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ได้มีการวิพากษ์ต่าง ๆ นานา ๆ  ตัวอย่างเช่น

-คนวิพากษ์ไม่เข้าใจศาสนาพุทธอย่างถ่องแท้…..การนั่งสมาธิเป็นของสากล..ศาสนาหลายศาสนาที่ก่อกำเนิดในอินเดียก็มีการนั่งสมาธิ (ก่อนพระพุทธเจ้าบรรลุธรรมก็นั่งสมาธิจนได้ฌานขั้นสูง)….

การปฏิบัติสำคัญของศาสนาพุทธเพื่อไปสู่เป้าหมายของศาสนาคือวิปัสนาไม่ใช่สมาธิ..สมาธิแค่ส่วนส่งเสริม

– ใครเข้าใจพุทธศาสนาถ่องแท้หรือครับ เขาวิพากษ์พุทธเชิงปรากฏการณ์ตามที่เห็นจริง พุทธไทยเป็นแบบที่เขาว่าทุกอย่างเลย  (ที่จริงหนักกว่าที่เขาว่าอีก)

-กระแสนั่งสมาธิมาแรงครับ แล้วก็พวกบริษัทใหญ่ให้เป็นเครื่องมือในการสร้าง ทัศนคติทำงาน

ถูกวิจารณ์ก็ไม่แปลก

– ในพุทธมีฝึกทั้งสองอย่าง แต่จริงๆ พระพุทธเจ้าก็สอนให้ฝึกแค่ รูปฌาน 4 ส่วน อรูปฌาน 4 ที่ปล่อยจิตเตลิด (Mind Wandering) ก็มีงานวิจัยบอกว่าฝึกแล้วเกิดผลเสียครับ ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพุทธในไทยหลายวัดสอนกัน

อะไรแปลกๆ แบบที่ทำแล้วสมองเสื่อม ก็ให้ทำเช่น บำเพ็ญทุกขกริยา อดหลับอดนอนอดอาหารนั่งสมาธิ กินก็ล้วงคอให้อ๊วก เอาจนกระทั่งผอมหนังติดกระดูก นั่งก็นั่งจนเป็นแผลกดทับถ้าตามพระไตรปิฏกนี่กล่าวถึงพวกนี้ว่าเป็นเดรถีย์เสียด้วยซ้ำ แต่คนไทยยกย่องเป็นอริยสงฆ์ส่วนการทำสมาธิว่าเป็นเรื่องของคนรวยที่มีเวลาทำเรื่องนี้ผมก็เห็นด้วยบ้าง เพราะสภาพที่เข้าสู่สมาธิได้ ต้องผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่เหนื่อย ไม่หิว ไม่ง่วง ซึ่งคนที่จะได้คุณสมบัติพวกนี้ครบคือ ต้องมีทั้งเงินและเวลา แต่ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องรวยมากมาย แค่ระดับพอมีฐานะแล้วไม่ต้องเครียดเรื่องการเงิน ครอบครัวอะไรมากก็ทำได้แล้ว ซึ่งมันกลายเป็นว่าในประเทศยุโรปที่มีรัฐสวัสดิการ กลายเป็นประเทศที่คนเข้าถึงสมาธิได้ง่ายกว่า เพราะสังคมเขาความเครียดต่ำกว่า

สำหรับ สลาวอย ชิเชค  เกิด 21 มีนาคม 1949) เป็นนักปรัชญาและนักวิจัยชาวสโลวีเนียประจำภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยลูบลิยานา และผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมุนษย์เบิร์คเบ็ค มหาวิทยาลัยลอนดอน เขามีผลงานในสาขาของปรัชญาภาคพื้นทวีป, จิตวิเคราะห์, ทฤษฎีการเมือง, วัฒนธรรมศึกษา, การวิจารณ์ศิลปะ, การวิจารณ์ภาพยนตร์, ลัทธิมาร์กซิสต์, ลัทธิเฮเกล และ เทววิทยา

ในปี 1989 เขาตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกในขื่อ The Sublime Object of Ideology ที่ซึ่งเขาเสนอแนวคิดที่ออกห่างจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมเพื่อสร้างแนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ที่มีลักษณะวัตถุนิยมเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ผ่านการมองด้วยจิตวิเคราะห์ลาคานและอุดมคตินิยมแบบเฮเกล งานเชิงทฤษฎีของเขาเริ่มมีลักษณะการเมืองขึ้นในทศวรรษ 1990s ผ่านการวิเคราะห์และวิจารณ์วัฒนธรรมสมัยนิยมรูปแบบต่าง ๆ จนทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการวิชาการฝ่ายซ้าย ในปี 2005 มีการเผยแพร่ภาพยนตร์สารคดีเรื่องZizek!ซึ่งเล่างานเขียนของชิเชคตามลำดับเวลา รวมถึงมีการตั้งวารสารในชื่อ International Journal of Žižek Studies โดยศาสตราจารย์ David J. Gunkel และ Paul A. Taylor เพื่อใช้พูดคุยเกี่ยวกับงานเขียนของชิเชคโดยเฉพาะ

รูปแบบแปลกใหม่ของชิเชค, ผลงานวิชาการที่เป็นที่นิยมไปทั่ว, งานออปเอ็ดบ่อยครั้งบนนิตยสาร และการปรับเข้ากันระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและชั้นต่ำ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วโลก มีผู้ติดตาม กรณีถกเถียง คำวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงผู้ติดตามจำนวนมากนอกวงการวิชาการในปี 2012 ชิเชคปรากฏรายชื่อบนนักคิดของโลก 100 คน โดย Foreign Policy ซึ่งเรียกเขาในฐานะ “นักปรัชญาเซเลบริตี” นอกจากนี้ชิชเคยังเคยได้รับฉายkว่าเป็น “เอลวิสของวงการทฤษฎีวัฒนธรรม” “นักปรัชญาที่อันตรายที่สุดในโลกตะวันตก”ชาวสำนักเฮเกลแนวหน้าตลอดกาล” และในปี 2013 Rothenberg กับ Khadr เรียกเขาว่าเป็น “ผู้อธิบายแนวหน้าที่สุดของสำนักทฤษฎีลาคาน (ที่มาวิกิพีเดีย)

Leave a Reply