สมเด็จพระมหาธีราจารย์” ประชุมร่วม กระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายขอคณะสงฆ์จับมือฝ่ายปกครองเดินหน้าตั้ง “ศูนย์สาธารณะสงเคราะห์ระดับจังหวัด” ดึงทีมผู้ว่า ฯ ร่วมทีมขับเคลื่อน 5 ภารกิจ เพื่อความสุขแบบยั่งยืนของประชาชน วันที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้อง ณ ห้องราชพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆรวาส โดยมี คณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ภาคีเครือข่ายที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันประชุม ซึ่งเป้าหมายหลักในการชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อน บทบาทเกื้อหนุนระหว่างวัดกับชุมชนหลังจากมหาเถรสมาคมกับกระทรวงมหาดไทยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ซึ่งการประชุมในครั้งนี้คณะสงฆ์มีระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล สำหรับฝ่ายปกครอง มีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภค พร้อมทั้งภาคดีเครือข่าย เข้าร่วมประชุมระบบ Zoom สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ มหาเถรสมาคม ได้เปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนสาธารณะสงเคราะห์ระหว่างคณะสงฆ์และกระทรวงมหาดไทย “Thebuddh” ขอลงไว้โดยละเอียดดังนี้ ขอแสดงกัลยาณธรรม ต่อท่านพระเถรานุเถระ ซึ่งมีเจ้าคณะภาคทุกภาค เจ้าคณะจังหวัด เป็นประธาน เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะ พระสังฆาธิการ ตลอดถึงพระสงฆ์นักพัฒนาการสาธารณสงเคราะห์ที่ประชุมผ่าน Zoom ในวันนี้ ทุกรูป ขอเจริญพร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดี รองอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ ตลอดถึงหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนทุกคนทุกท่าน ในนามของคณะสงฆ์ ขออนุโมทนาขอบคุณ ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยคณะทำงาน ที่ได้สนองงานคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ในการเข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุนภารกิจงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์และได้ดำเนินการในการจัดประชุม สื่อสารทำความเข้าใจ ขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสงเคราะห์ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือวัด สังคมและชุมชน ให้ประสบความสำเร็จ ตามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ บทบาทในการเกื้อหนุน ระหว่างวัดและชุมชน ให้มีความสุขอย่างยั่งยืนระหว่างฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม และกระทรวงมหาดไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ อธิบดีกรมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่ผ่านมานั้น พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยเนื่องด้วยชนชาติไทย นับตั้งแต่มีประวัติความเป็นชาติมา ได้นับถือและยกย่องเทิดทูนพระพุทธศาสนา เป็นสรณะแห่งชีวิต สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงให้ความสำคัญ และอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาตลอดมา สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น แก่อาณาประชาราษฎร์ มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ในการทรงงานเพื่อจะสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากราชดำริ และแนวพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน สร้างความมั่นคง และความวัฒนาสถาพร ให้กับประเทศชาติ การสาธารณสงเคราะห์ คือ การดำเนินการช่วยเหลือสังคมทางวัตถุ ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัย ใช้พื้นที่ของวัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนสงเคราะห์สถานที่จัดฝึกอบรมอาชีพต่างๆ แก่ประชาชน และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมของชุมชน โดยมุ่งเน้น เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ประชาชนเป็นสำคัญที่ผ่านมาคณะสงฆ์ได้ดำเนินงานด้านสาธารณสงเคราะห์ ในหลักการ ๔ ด้าน คือ ๑. การสงเคราะห์ เป็นการช่วยเหลือทางตรงในแนวทางแบบให้เปล่า มีเป้าหมายเพื่อแก้ไข้ปัญหาเร่งด่วนให้กับประชาชน ๒. การเกื้อกูล คือการให้การสนับสนุนชุมชน และมีเป้าหมาย เพื่อสนับสนุน หรืออำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาของประชาชนในชุมชน ๓. การพัฒนา มีแนวทางการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมของพระสงฆ์และประชาชนในชุมชน โดยเน้นให้วัดเป็นศูนย์กลางใน การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป้าหมายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และผลักดันงานสังฆพัฒนา ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของสังคม ๔. การบูรณาการ มีแนวทางการสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลดีกับสังคม ในส่วนงานภารกิจของฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ตามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU คือ ๑. เผยแผ่หลักธรรมคำสอนในการเสริมสร้างให้คนในสังคม มีจิตใจ ที่เป็นบุญเป็นกุศล เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ๒. ช่วยสงเคราะห์พุทธศาสนิกชนให้มีขวัญกำลังใจในการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ๓. สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชน ตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคม การมีจิตอาสาความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อทำให้เกิดสังคมสุขภาวะและความยั่งยืน ๔. ดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือและการพัฒนาสังคมทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ๕. ส่งเสริมสนับสนุนพระสงฆ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์กรพระพุทธศาสนา ในการทำงานร่วมกับเครือข่าย ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” ๖. ขับเคลื่อนพันธกิจฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ด้านการสงเคราะห์ เพื่อสังคม ส่งเสริมความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย ๗. พัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ และพัฒนางานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) โดยความร่วมมือของวัด ชุมชน โรงเรียน และส่วนราชการ ในการสร้างสังคมสุขภาวะสู่นโยบายระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ ๘. พัฒนาระบบกลไก การบูรณาการ การทำงานด้านสาธารณสงเคราะห์ร่วมกันระหว่างองค์กรสงฆ์ เครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน สร้างการรับรู้และเชื่อมประสาน การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ เจ้าคณะ พระสังฆาธิการ พระสงฆ์นักพัฒนา และประชาชน เพื่อพัฒนาการทำงานสาธารณสงเคราะห์ / การสงเคราะห์ชุมชน และพัฒนาการเผยแพร่ ในสื่อสาธารณะ การประชุมกันในวันนี้ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ขอให้แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพิ่มเติม ดังนี้ ๑. ให้จังหวัดทุกจังหวัดร่วมดำเนินการสาธารณสงเคราะห์ร่วมกับศูนย์ประสานงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ มีมติให้เจ้าคณะจังหวัด และคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด คัดเลือกพื้นที่ จัดตั้งศูนย์ประสานงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานกับคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของ มหาเถรสมาคมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในการช่วยเหลือพระภิกษุสามเณร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่างๆ ในพื้นที่แต่ละจังหวัด และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือเกื้อหนุนระหว่างวัด ชุมชน และภาคีเครือข่าย ให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติ ๒. ให้พระสงฆ์ร่วมบูรณาการทำงานกับฝ่ายปกครอง ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ในภารกิจ ๕ ด้านหลัก ได้แก่ ๑. ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ๒. ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาในการหาเลี้ยงชีพ ๓. ด้านจิตอาสาเพื่อสังคม ๔. ด้านเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ๕. ด้านอื่น ๆ ตามบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ ให้ชุมชนทุกชุมชนมีแบบแผนมีส่วนร่วม มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตและคุณค่าความเป็นมนุษย์ ๓. ให้ฝ่ายปกครองที่นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด จัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการให้ความช่วยเหลือ บูรณาการกัน โดยให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่าง ฝ่ายปกครองที่ประกอบด้วย นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กับพระสงฆ์ ร่วมกันจัดตั้งหน่วยฝึกอบรม ศูนย์เรียนรู้ โดยใช้สถานที่ภายในวัด เป็นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ๔. ร่วมถอดบทเรียนวัด ที่มีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง สามารถเป็นต้นแบบ โดยติดตาม ประเมินผล สรุปผล รายงานผล และขยายผล เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชน ให้เกิดคุณประโยชน์กับวัดอื่นต่อไป การที่หน่วยงานของรัฐ ได้ประสานงานให้พระสงฆ์ได้เข้าไป มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม มิใช่เรื่องแปลกใหม่ หากแต่เป็นการส่งเสริมบทบาท ให้พระสงฆ์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งในส่วนของการเผยแผ่ และการสงเคราะห์ ยิ่งจะก่อให้เกิดเป็นพลังแห่ง ความสามัคคี สร้างชุมชนให้กลายเป็นพลัง บวร ที่เข้มแข็ง หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา สามารถประสานการพัฒนาทางด้านวัตถุ และจิตใจให้สอดคล้องกลมกลืนกันได้ ก่อให้เกิดสันติสุขร่มเย็น การประชุมกันในวันนี้เป็นการประสานพลังความร่วมมือ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน โดยใช้หลักแห่งความเมตตาธรรม คือความหวังดีความปรารถนาดีต่อกัน ในการ จะอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ธรรม ให้วิชาชีพมีภูมิคุ้มกัน ต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในส่วนของวิชาการและการพัฒนา ขอให้พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่การสาธารณสงเคราะห์ ทำงานโดยการประสานงานกับ เจ้าคณะผู้ปกครองในพื้นที่ซึ่งมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นต้นเป็นประธาน ในส่วนของฐานข้อมูลเครือข่ายกลไกการทำงาน และการดำเนินการในพื้นที่ขอให้ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งนำทีมโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ในภาคส่วนวิชาการให้ประสานการดำเนินงานกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมกันในวันนี้ ทุกเครือข่าย จำนวนผู้ชม : 469 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พระพรหมบัณฑิตมส.ร่วมงานการประชุมผู้นำศาสนาสากล ณ กรุงวาติกัน อุทัย มณี มี.ค. 08, 2019 พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เข้าร่วมประชุมผู้นำศาสนาสากล… ศาลอาญาพระโขนงเปิดอบรม “โมเดลไกล่เกลี่ยแนวพุทธ” อุทัย มณี ส.ค. 29, 2020 แก่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลอาญาพระโขนงกว่า 50 รูป/คน พร้อมตั้งคณาจารย์ที่เป็นพระภิกษุหลักสูตรสันติศึกษา… เปิดเส้นทาง ไหว้พระ ขอพรเสริมสิริมงคล 11 วัด รอบเกาะกรุง : ใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ อุทัย มณี เม.ย. 18, 2023 กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา (ศน.) จัดกิจกรรม “ไหว้พระเสริมสิริมงคล… ปลัด มท. ค้างคืนเชียงรายเกาะติด “น้ำท่วม-ช่วยเหลือผู้ประสบภัย” อุทัย มณี ก.ย. 12, 2024 วันนี้ (12 ก.ย. 67) เวลา 10.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย… จังหวัดศรีสะเกษ ผุดแคมเปญ “ชมรมคนปรางค์กู่ไม่ทิ้งกัน” รองรับผู้ป่วยโควิดกลับคืนถิ่น อุทัย มณี ก.ค. 13, 2021 วันที่ 13 ก.ค. 64 หลังจากรัฐบาลได้ประกาศมาตรการล๊อคดาวน์… “ณพลเดช” จี้ถามอนุกมธ.งบฯ67 พบวิธีเยียวยาพระพรหมดิลก หลังพ้นมลทินได้รับโปรดเกล้าฯคืนตำแหน่ง อุทัย มณี ก.พ. 12, 2024 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 12 ก.พ. 2567 นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านการบริหาร… รายงานพิเศษ:ไทม์ไลน์ พ.ร.บ.“การศึกษาพระปริยัติธรรม” กว่าจะถึงวันที่ ครม.อนุมัติงบกลางให้ “346” ล้านบาท อุทัย มณี ก.ย. 28, 2023 ในขณะที่บุคลากรเจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม หรือมีชื่อย่อว่า… หมายกำหนดการ “ในหลวง -พระราชินี” เสด็จ “วัดสระเกศฯ” อุทัย มณี เม.ย. 16, 2022 วันที่ 16 เมษายน 65 กำหนดการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า… กำหนดการส่งสังขาร “พระมงคลธีรคุณ” กลับประเทศไทย อุทัย มณี ก.พ. 27, 2024 วันที่ 27 ก.พ. 67 พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย… Related Articles From the same category พระวิปัสสนาจารย์ร่วมปลูกต้นไม้สวนพุทธเกษตรม.สงฆ์’มจร’ วันที่ 24 ก.ย.2562 พระวิปัสสนาจารย์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ที่สวนพุทธเกษตรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ปลูกต้นโพธิ์จากศรีลังกา ถิ่นหลวงปู่สรวงเคยจำวัด เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2562 ที่ผ่านมา พระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ… ผอ.สันติศึกษา”มจร” บรรยายสันติภาพ แก่นักศึกษา๔ส.รุ่น๑๓ สถาบันพระปกเกล้า วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… “อภิสิทธิ์”เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา”มจร” จากสมเด็จพระวันรัต วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2563 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… สถาบันพระปกเกล้าดวงตาเห็น “โคก หนอง นา” นำนักศึกษา “4 ส.”รุ่นที่ 13 เรียนรู้สันติภาพกินได้ที่ “โคกอีโด่ยวัลเล่ย์” เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา…
Leave a Reply