ปลัด มท. ยก “จังหวัดสุรินทร์” ต้นแบบ แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้ระบบสารสนเทศช่วย? วันนี้ (6 ส.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมบางกอก พาเลส เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดระบบเฝ้าระวังผู้กระทำความผิดเดี่ยวกับยาเสพติดของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) โดยมี นายบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นางสาวมนทิรา เข็มทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ดร.ก่อเกียรติ แก้วกิ่ง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง กรมการปกครอง พร้อมด้วย เจ้าพนักงานปกครอง/ปลัดอำเภอ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) จาก 76 จังหวัด จำนวน 152 คน ร่วมรับฟัง และถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง DOPA Channel ไปยังที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอทั่วประเทศ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในวันนี้ ตลอดจนพนักงานฝ่ายปกครอง และผู้นำท้องที่ทุกคนมีหน้าที่สำคัญที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และท่านนายอำเภอ เพื่อนำแนวทาง วิธีการจากการฝึกอบรมลงไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด 878 อำเภอ ด้วยการแปลงนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ไปช่วยกันทำให้งานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในชีวิตของพวกเราได้บรรลุถึงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ได้ตามอุดมการณ์ของข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ว่าจะอยู่กระทรวง กรมไหน ทุกท่านต่างเป็นคนของพระราชา ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนมีเครื่องหมายพระราชาติดตัว เพราะที่หัวเข็มขัดเรามีตราครุฑ หรือยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหน้าที่ ศอ.ปส.จ. เรามีตรากองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ที่มีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอยู่บนแขนเสื้อ แสดงให้เห็นถึงการเป็นคนของพระราชา ที่ต้องน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งมั่นแน่วแน่ที่อยากเห็น “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” พระองค์ท่านมีความละเอียดลึกซึ้ง และมีสายพระเนตรอันกว้างไกล จึงพระราชทานแนวทางการบรรลุเป้าหมายด้วยการ คือ “แก้ไขในสิ่งผิด” “ยาเสพติด” เป็นสิ่งผิดหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากพวกเรา แต่เป็นสิ่งผิดที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความผาสุกของประเทศชาติ ของสังคมไทย คนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวนไม่น้อยถูกสารในยาเสพติดกล่อมประสาทจนกลายเป็นคนจิตเภท หรือหลอนยา ซึ่งหากพ่อแม่เสพยาก็ทำร้าย ก็ฆ่าลูก หากลูกหลานเสพยา ก็ฆ่าปู่ย่าตายาย ทำร้ายพ่อแม่ ปรากฏตามช่องทางสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ซึ่งพวกเราทุกคนในฐานะข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะราชสีห์ผู้จงรักภักดี ในฐานะฝ่ายปกครองที่มี “ความสุขของประชาชน” เป็นเป้าหมายสำคัญ เราต้องมีใจ มี “Passion” อยากทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น ด้วยการช่วยกันคิดในเรื่องของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในองค์รวม เพื่อทำให้เกิด “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” ซึ่งคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยมีเป้าหมายหลักคือ กระบวนการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ และความยั่งยืนเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการรวมกลุ่ม 10-20 ครัวเรือน เป็นกลุ่มบ้าน คุ้มบ้าน ป๊อกบ้าน หรือหย่อมบ้าน เพื่อช่วยเหลือดูแลสมาชิกภายในกลุ่มซึ่งกันและกัน ดังหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 4 กระบวนการ คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ หากเราทำได้อย่างเข้มแข็ง ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ปัญหายาเสพติดหรือปัญหาต่าง ๆ ก็จะหมดไป “เพราะเรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่” การลงมือทำสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่คนไม่เพียงแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง “แต่ต้องอาศัยทุกคนช่วยกัน” มีการรวมกลุ่ม มีระบบคุ้มบ้านที่เข้มแข็ง มีการพูดคุยปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่อง เราก็จะมีข้อมูลข่าวสารของทุกครัวเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้อมูลข่าวสารเรื่องยาเสพติด” ที่ทุกคนจะช่วยกันสอดส่องดูแลคนในครอบครัว ในชุมชน/หมู่บ้าน ซึ่งตามกฎหมายนั้นได้เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ไม่จำเป็นต้องนำตัวผู้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดไปดำเนินคดี แต่ให้โอกาสในการบำบัดรักษาฟื้นฟูให้ผู้ป่วยยาเสพติดได้กลับคืนสู่สังคมโดยปกติสุข” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่า ตัวอย่างความสำเร็จของความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบอันเป็นที่มาของการอบรมครั้งนี้เกิดจากในการประชุมติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของกระทรวงมหาดไทยร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดถึง 76 จังหวัด โดยนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับระบบสารสนเทศของจังหวัดสุรินทร์ หรือ Surin DRUGs GIS ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่จะทำให้เรามีข้อมูลใช้ในการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดได้ กระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบหมายให้กรมการปกครอง โดยศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง พัฒนาระบบ MOI DRUGs GIS โดยนำเอาข้อมูลสารสนเทศของทุกจังหวัด ทุกส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมารวมกัน และมีระบบติดตามประมวลผล เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ตาม 8 มาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดระยะเร่งด่วน ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหนึ่งในมาตรการนั่นคือการ Re X-ray เพื่อค้นหาข้อมูลผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะเติมเต็มระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ การมีข้อมูลแบบ Real Time เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และบูรณาการข้อมูลของแต่ละส่วนราชการร่วมกัน อาทิ ข้อมูลของผู้เข้ารับการรักษายาเสพติดของโรงพยาบาล ข้อมูลผู้กระทำความผิดและเข้ารับการบำบัดรักษาในคดียาเสพติดของฝ่ายความมั่นคง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้อมูลผู้ต้องโทษที่ผ่านกระบวนการรับโทษและพ้นโทษออกจากเรือนจำ/สถานพินิจ/ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของกรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหายาเสพติด และ MOI DRUGs GIS จะทำให้พี่ ๆ น้องๆ ทุกคนช่วยพัฒนาระบบการทำงาน สนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือผู้บังคับบัญชา ให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการมีใจและมีจิตอาสา ดังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการพระราชดำริ “จิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” กระตุ้นให้คนไทยมีจิตอาสาทำความดีเพื่อส่วนรวม เราต้องใช้ความกล้าช่วยกันหาคนที่มีใจ มาช่วยกันเติมเต็มพัฒนาระบบสารสนเทศให้สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม “ขอให้พวกเราทุกคนได้นำเอากรอบแนวทางที่ดีของจังหวัดสุรินทร์และจากวิทยากรทุกท่านกลับไปประยุกต์และพัฒนา โดยเฉพาะการใช้ระบบสารสนเทศบูรณาการข้อมูลให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน มีความทันสมัย ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และนำข้อมูลของภาคีเครือข่ายมาดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงในด้านต่าง ๆ ซึ่ง ทุกท่านที่มาในที่นี้ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเราเอง แต่จะต้องไปสะท้อนบอกให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอไปค้นหาเลือกคนที่มีความรู้ทุกแขนงมาช่วยเหลือเพื่อทำให้เกิดระบบสารสนเทศที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงประยุกต์พัฒนานำเอาแบบอย่างของสุรินทร์มาใช้ ซึ่งจะเป็นทางลัดไปสู่ความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในเชิงระบบ กระทรวงมหาดไทยยังได้มอบหมายให้กรมการปกครองร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนหมู่บ้านยังยืนให้ประสบสำเร็จในรูปแบบ “กองทุนแม่ของแผ่นดินภาคประชาชน” ซึ่งเป็นการน้อมนำสิ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ดำเนินการต่อต้านยาเสพติดโดยพระราชทานเงินขวัญถุง 878 หมู่บ้านต่อปี เราจึงขับเคลื่อนให้เกิดหมู่บ้านต่อต้านยาเสพติดในรูปแบบกองทุนแม่ของแผ่นดินแบบจิตอาสาให้ครบทุกหมู่บ้านทั้งประเทศ เพื่อส่งเสริมให้การรวมกลุ่มพร้อมที่จะขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีเป้าหมายในการรณรงค์และป้องกันไม่ให้ลูกหลานเยาวชนรวมถึงคนในชุมชนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พร้อมทั้งมีระบบสารสนเทศในการติดตามดำเนินการภาคปฏิบัติรณรงค์ให้คนในคุ้มช่วยกันสอดส่องดูแลซึ่งกันและกัน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้ายว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราทุกคนจะมีแรงบันดาลใจ มี Passion มีจิตใจที่นึกถึงประเทศชาติและประชาชนคนไทย ซึ่งในเดือนนี้เป็นเดือนสำคัญ ในวันที่ 12 สิงหาคม หรือวันแม่แห่งชาติ ที่พวกเราจะได้น้อมนำเอาพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับภัยของยาเสพติดโดยสังเขปว่า “ยาเสพติดทำให้คนเป็นสัตว์ป่า” ด้วยการช่วยกันสนองพระราชปณิธาน “แก้ไขในสิ่งผิด” ตลอดจนตระหนักถึงความมั่นคงของครอบครัวของเราที่ตั้งอยู่บน “เส้นด้ายแห่งอันตรายทุกขณะจิต” จากการเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมของผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จากการคุ้มคลั่งไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่บั่นทอนทำลายชีวิตมนุษย์ของคนในสังคมมากมาย เพื่อเป็นการร่วมกันปฏิบัติบูชา เนื่องในปีอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 92 พรรษา ซึ่งพระองค์ท่านทรงเอาจริงเอาจังในเรื่องการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกับภาคีเครือข่ายไปช่วยกัน พัฒนาทำระบบสารสนเทศในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยหัวใจข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ภักดีของแผ่นดิน และแม้ว่าพวกเราทุกคนมีอายุราชการที่มีจำกัด มีการเกษียณอายุราชการ แต่สิ่งสำคัญพวกเราทุกคนจะไม่เกษียณการทำความดี ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานไว้โดยสังเขปว่า “แม้จะเกษียณอายุราชการ แต่ต้องไม่เกษียณจากการทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองตลอดไป” จำนวนผู้ชม : 1,218 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “ม.สงฆ์ มจร” ร่วมเสริมสร้างศักยภาพนิสิต “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” ระดับอุดมศึกษา อุทัย มณี มี.ค. 23, 2022 เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ… รองแม่กองบาลี ระบุ “จศป.” มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ : ปี67 “กองบาลีบรรจุแล้ว 864 รูป” อุทัย มณี ก.ย. 16, 2024 วันที่ 16 กันยายน 67 พระธรรมวชิโรดม เจ้าคณะภาค 6 ในฐานะรองแม่กองบาลีสนามหลวง… ภาพนก’ม.จ.จุลเจิม ยุคล’ถ่ายขณะรอภรรยาสอนที่’มจร’ อุทัย มณี ก.พ. 08, 2019 วันที่ 8 ก.พ.2562 ม.จ.จุลเจิม ยุคล โพสต์ขอความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว… พช.โคราช ลงพื้นติดตามความคืบหน้าโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” อุทัย มณี มิ.ย. 15, 2021 วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. นายสิทธิชัย พรทิพย์พิทักษ์… ด่วน!! รพ.สงฆ์ต้องการที่พักกักตัวพระภิกษุ-สามเณรเฝ้าดูอาการโควิด-19 อุทัย มณี ก.ค. 09, 2021 วันที่ 9 กรกฏาคม 2564 เพจโรงพยาบาลสงฆ์ ประกาศแจ้งว่า มีความต้องการพื้นที่ให้พระภิกษสามเณรติดเชื้อที่ไม่มีอาการเข้าพักเพื่อสังเกตดูอาการอย่างน้อย… วุฒิสมาชิก ชื่นชมการขับเคลื่อนโคก หนอง นาและการขจัดความยากจน อุทัย มณี ต.ค. 21, 2022 วุฒิสมาชิก ชื่นชมการขับเคลื่อนโคก หนอง นาและการขจัดความยากจนโดย… ดอกบัวคู่แจกทุน..ร.ร.การกุศลวัดไตรรัตนาราม อุทัย มณี มี.ค. 05, 2021 วันนี้ (5 มี.ค.64) ที่โรงเรียนการกุศลวัดไตรรัตนาราม ตำบลลุ่มสุ่ม … แจ้งข่าวดี! หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เปิดรับสมัคร พระภิกษุ-สามเณร ในระดับปริญญาตรี อุทัย มณี มี.ค. 31, 2023 แจ้งข่าวดี! หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ปทุมวัน เปิดรับสมัคร… เล่าขานปาฏิหารย์ เหรียญพระเจ้าตาก ชาววัดอรุณรุ่นกรุงธนบุรี อุทัย มณี ม.ค. 01, 2019 เล่าขานปาฏิหารย์เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ… Related Articles From the same category มูลนิธิพระรัตนตรัยในพระราชูปถัมภ์ฯ จัด “มหกรรมสื่อสร้างสรรค์เผยแผ่พระพุทธศาสนา” เตรียมเผยแพร่พลังเครือข่ายความดี วันที่ 27 มิ.ย. 65 วันนี้ตั้งแต่เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม… ‘กาละแมร์’ตั้งจิต! มี 1,000 ล้านบวช ในพระพุทธศาสนา วันที่ 25 ก.พ.2562 หลักสูตรพุทธศาสตรดมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธและหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต… มจร. ยุบ ร.ร.บาลีสาธิต -บาลีเตรียม ผุด “โรงเรียนสาธิต มจร” วันที่ 26 ตุลาคม 2566 วานนี้ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… “เจ้าคณะภาค 6” เปิดศูนย์พระวินยาธิการ หวังเป็น “โมเดลนำร่อง” ให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานเปิด"ศูนย์พระวินยาธิการประจำจังหวัดเชียงราย"… วัดวังไทรปากช่องเตรียมจัดทอดกฐินสามัคคี สร้างมณฑปและรูปปั้นหลวงปู่ทวด วันที่ 17 ก.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร.ต.อ.นิยม เปลื้องกลาง รอง…
Leave a Reply