“ณพลเดช” เผย “อนุฯงบประมาณ” ไม่ตัดงบกรมศาสนา “เศร้า” งบไปสังเวชนียสถาน แค่เพียง 200 รูป/คน

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประธานคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณฯ และคณะทำงาน พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุฯ ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่าวันนี้ประชุม คณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ICT และทุนหมุนเวียน ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CB 407 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา โดยมีการพิจารณางประมาณของหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) กรมการศาสนา (2) กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (3) กรมศิลปากร (4) กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ (5) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (6) กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม (7) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (8) กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย (9) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (10) หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (11) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ในประเด็นที่น่าสนใจคือ กรมการศาสนา ไม่มีการตัดงบ แต่งงได้รับจัดสรรในการไปดูงานสังเวชนียสถาน แค่เพียง 200 รูป/คน ซึ่งผมได้นำเรียนท่านอธิบดีว่า เป็นตัวเลขที่น้อยเกินไป ท่านก็บอกว่าเมื่อก่อนได้จำนวน 400 คน ตอนหลังถูกตัด ผมก็มองว่าแบบนี้ต้นแบบของคนที่จะเอามาเป็นต้นแบบที่ส่งไปศึกษาและกลับมาอบรมสั่งสอนน้อยลงๆ เราจะมีต้นแบบที่ดีได้อย่างไร ซึ่งต่างกับศาสนาอื่นๆ ที่มีคนจำนวนมาก ได้โอากาศไปดูงาน

และขอแสดงความยินดีกับกรมศิลปากร ที่คณะอนุกรรมาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณเต็มจำนวนโดยไม่ตัดงบประมาณ อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากร ในส่วนตัวแล้วต้องยอมรับว่า งบประมาณน้อยจริงๆ ในการแปรงบในชั้นอนุฯ จำนวนเพียง 700 กว่าล้าน แต่ภารกิจทั้งประเทศ ในการดูแลโบราณสถาน ในส่วนตัวแล้วมองไม่เห็นเลยว่าเมืองไทยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีโบราณสถานเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างไร ในส่วนตัวเห็นเป็นสองมุม คือ มุมแรกความเพิ่มงบให้กรมศิลป์ อีกมุมหนึ่งในช่วงสองวันที่ผ่านมา กระผมได้เข้าร่วมประชุม ในฐานะ คณะทำงาน พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ…. ซึ่งคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดนี้ขึ้นมา เพื่อพิจารณา เพื่อแก้ข้อกฎหมาย เสนอต่อ ครม. และสภาฯ

ผมเห็นว่าอาจเป็นทางช่วยเหลืองบประมาณให้กับศิลปวัตถุของไทย เพราะหลักเกณฑ์ที่จะแก้ไขกฎหมายคือ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีบทบาท มากขึ้น โดยงบประมาณจากท้องถิ่นสามารถบูรณะและพัฒนาซ่อมแซม โบราณสถานต่างๆ ได้โดยตรง ทั้งนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ความมีมาตรฐานจากกรมศิลปากร ซึ่งประเด็นนี้ เราจะมีงบประมาณในการดูแล จากท้องถิ่นหากนับรวมทั้งประเทศเป็นยอดหลายแสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้การท่องเที่ยว การบริหารจัดการ ในโบราณสถานได้ทั้งมิติการพัฒนา และมิติมาตรฐานของการดูแลคงความเก่าแก่จากกรมศิลป์ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ถ้า พรบ. ใหม่นี้คลอดออกมา ประเทศไทยจะก้าวกระโดดทั้งการศิลปะ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว โดยมีสื่อนำด้วยภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ แบบเกาหลี เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าประเทศ อันเป็น Soft Power ที่สำคัญของประเทศ

https://www.facebook.com/share/cseuJetqQtwVDH5K/?mibextid=WC7FNe

Leave a Reply