MOUประวัติศาสตร์! “มจร-ม.พุทธรามัญรัฐ” ร่วมมือจัดการศึกษาพุทธ”ไทย-มอญ”

MOUประวัติศาสตร์! “มจร-ม.พุทธรามัญรัฐ” ร่วมมือจัดการศึกษาพุทธ”ไทย-มอญ” หวังพัฒนาให้สอดรับกับโลกสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษา ชาวพุทธมอญกว่า 1,000 ร่วมเป็นสักขีพยาน

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนารามัญรัฐ เมืองเมาะลำเลิง รัฐมอญ ประเทศเมียนมา ชาวพุทธมอญทั้งพระสงฆ์และญาติโยมกว่า 1,000 รูปคน นำโดยพระภัททันตะวันนามหาเถระ ประมุขสงฆ์มอญ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนารามัญรัฐ

พระมหาหรรษา กล่าวว่า สาระสำคัญหลักในการลงนามความมือครั้งนี้เน้นจับมือสืบสาน รักษา และต่อยอดการศึกษา และวิจัยเชิงลึกเกี่ยวพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ การร่วมมือพัฒนาการศึกษาพระพุทธศาสนาที่สอดรับกับโลกสมัยใหม่ที่เปลี้ยนแปลงไป การร่วมมือพัฒนาพระภิกษุสามเณรและเยาวชนรุ่นใหม่ รวมถึงผู้สูงอายุ อีกทั้งการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นิสิต และเทคโนโลยีทางการศึกษา

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวอีกว่า รัฐมอญหรือเมืองหงสาวดี เคยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามมาก่อน ชนชั้นนำในพื้นต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ และเมืองใกล้เคียงมักจะส่งบุญหลานมาศึกษาหาความรู้แล้วนำกลับไปพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย ยังคงปรากฏให้เห็นในพื้นที่ต่างๆ การกระตุ้นและส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนารามัญรัฐใช้ระบบการศึกษายุคใหม่เข้ามาช่วยพัฒนา จะทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง และสังคมสันติสุข ประชาชนมีสัมมาชีพพึ่งพาตัวเองได้อย้างยั่งยืน


พระภัททันตะวันนามหาเถระ กล่าวสัมโมทนียกถาว่า การลงนามความร่วมมือกันครั้งนี้มีพุทธศาสนิกชนชาวมอญตื่นตัว และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่มีการลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการเช่นนี้ ไทยและมอญอาจจะต่างกันทางภาษาและวัฒนธรรม แต่สิ่งหนึ่งที่เรามีเหมือนกัน คือ เราเป็นลูกหลานของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน การจับมือกันนำพระพุทธศาสนามาเป็นรากฐานในการพัฒนาจะยิ่งช่วยให้พระพุทธศาสนาตอบโจทย์ชีวิตและสังคมในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงนามครั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ” โดยมีนักวิชาการจากประเทศต่างๆ มาร่วมสัมมนา และนำเสนอประวัติ ความเป็นมา และเสนอแนะแนวทางในการสืบสาน รักษา และต่อยอดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันด้วย

Leave a Reply