250 ส.ว. กับการเมืองไทย

การเมืองไทยเมื่อเข้าสู่โหมดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง หลังจากเปิดรับสมัครแล้ว จะมีอะไรน่าตื่นเต้น ระทึกใจไม่น้อย

นักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆที่เป็นผู้สมัครทั้งในแบบเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ รวมตลอดทั้ง รายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเสนอได้ไม่เกิน 3 ชื่อ

บัตรใบเดียว กาเบอร์ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งได้เบอร์เดียวเมื่อเข้าคูหาวันที่ 24 กุมภา พันธ์ 2562 จะส่งผลต่อการเมืองไทยและการได้มาซึ่งนายกฯและการจัดตั้งรัฐบาล

สำหรับวุฒิสภา สมาชิกจำนวน 250 คนจะเป็นทั้งตัวจริงและตัวแปรสำหรับการเมือง  ไทยในระยะเปลี่ยนผ่านอย่างน้อยก็ 5 ปีตามเทอมหรือวาระการดำรงตำแหน่งของส.ว.

  ที่มาของส.ว. รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้เป็นการคัดเลือก 3  ทาง คือ

  1.  เลือกกันเองตามกลุ่มอาชีพ/ประสบการณ์ 10 กลุ่มและวิธีการสมัคร (สมัครอิสระกับสมัครโดยองค์กรนิติบุคคลแนะนำชื่อ) ตั้งแต่ระดับอำเภอ เรื่อย มาถึงระดับจังหวัดและประเทศ คัดไว้ 200 คน ส่งให้คสช.เลือกให้เหลือ 50 คนเพื่อแต่งตั้งเป็นส.ว.
  1.  คณะกรรมการ 9 – 12 คนที่คสช.แต่งตั้งไปดำเนินการคัดเลือกและสรรหา จำนวน 400 คน ส่งให้คสช.คัดให้เหลือ 194 คนเพื่อแต่งตั้งเป็นส.ว.
  1.  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำด้านความมั่นคง 6 ตำแหน่ง / 6 คน เป็นส.ว.โดยอัตโนมัติ

ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในวาระเริ่มแรก ช่วงบทเฉพาะกาล 5 ปี วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญเพิ่มเติมขึ้นมาจากอำนาจหน้าที่ปกติตามรธน. 2560  ได้แก่

  • ร่วมประชุมกับสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
  • ติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม

   หมวด 16 ของรธน.  ว่าด้วย การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

  • ประชุมร่วมกับสภาผู้แทนฯเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16

จากอำนาตหน้าที่ดังกล่าวนี้ วุฒิสภาจึงมีบทบาทเป็นทั้งตัวจริงและตัวแปรทางการ เมือง

การเป็นตัวจริงก็คือ ส.ว.เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย เช่นเดียวกับส.ส. ทำหน้าที่ กลั่นกรองกฏหมายที่ส่งมาจากสภาผู้แทนฯ การควบคุมการบริหารราชการ

แผ่นดิน การเห็นชอบบุคคลที่จะไปดำรงตำแหน่งสำคัญ  การปฏิรูปประเทศ

ต้องประพฤติตนให้สมกับการเป็นผู้มีวุฒิภาวะ  เป็นปากเป็นเสียงของประชาชน ประสานกับฝ่ายต่างๆเพื่อสร้างความปรองดอง และทำให้วุฒิสภาได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันสำคัญในการแก้ปัญหาของประเทศ

สำหรับการเป็นตัวแปรทางการเมือง หมายถึง การอภิปราย การให้ความเห็นของประ ธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการ และส.ว. รวมทั้งการ ลงมติต่างๆของวุฒิ สภา คณะกรรมาธิการ ส่งผลต่อรัฐบาล ต่อสภาผู้แทนฯที่แบ่งเป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล และอาจมีปัญหาขัดแย้งกันอยู่ตามธรรมชาติของการเมือง

ในหลายๆเรื่อง ส.ว.เป็นผู้ชี้ขาด

ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และความสุขของประชาชน

เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 10 ที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วุฒิสภาจะต้องรับสนองฯและแสดงบทบาทเพื่อให้ไปถึงจุดนี้ให้ได้

การคัดเลือกและการแต่งตั้ง ส.ว. 250 คนให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการมีอำนาจหน้าที่  เป็นส.ว.ที่พึงประสงค์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

///////////////////////////////////////

คอลัมน์ : ฟันธง

ผู้เขียน  :บุญเลิศ  ช้างใหญ่ 

Leave a Reply