เรื่องเล่า..กว่าจะมีวันนี้คณะสงฆ์รามัญกับ “มหาจุฬาฯ” (ตอน1) เมื่อวานนี้เป็นวันหนึ่งที่ผู้เขียนมีความสุขและปลื้มใจกับสิ่งที่ตนเองมีส่วนร่วมให้สำเร็จอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ ประธานคณะสงฆ์มอญหรือรามัญ เดินทางมารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2564 นี้ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมผู้เขียนจึงพยายามทำเรื่อง “ชาติพันธุ์มอญ” มาต่อเนื่องและยาวนาน โดยเฉพาะการเข้าไปช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่คณะสงฆ์มอญและรวมทั้งการจัดตั้ง “มูลนิธิรามัญรักษ์” และมีภาพการสานต่อระหว่างคณะสงฆ์รามัญนิกาย กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต่อจากนี้ไป มันเป็นเรื่องเล่า แต่จะเล่าเท่าที่จำได้ เพราะบางเหตุการณ์มันนาน ความทรงจำเลือนลางไปบ้างแล้ว ข้าพเจ้าหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บวชเป็นสามเณรแล้ว พ่อแม่มีความประสงค์จะให้เรียนภาษามอญ ในปีพุทธศักราช 2531 จึงถูกส่งตัวกลับไปเรียนภาษามอญ ณ วัดกุ้นหมิบสิบ เป็นหมู่บ้านใกล้ ๆ กับภูมิลำเนาของบรรพบุรุษ ท่านเจ้าอาวาสเป็นญาติทางฝ่ายแม่ ปีที่ข้าพเจ้าไปอยู่จำพรรษาที่เมืองมอญนั่น เกิดมีการเรียกร้องประชาธิปไตย ข้าวยากหมากแพง (1888) ผู้คนไม่มีจะกินต้องไปขุดกลอยในป่ากินแทนข้าว บางบ้านโชคมีข้าวตากแห้งเก็บเอาไว้นำมาต้มเป็นข้าวต้มกินได้ ตอนนั้น นักศึกษาประชาชนประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย บ้านเมืองความวุ่นวายทั่วประเทศเมียนมา หลังออกพรรษาจึงกลับประเทศไทย หลังจากกลับประเทศไทยแล้วได้ศึกษาต่อจนจบเปรียญธรรม 7 ประโยค จากวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร จบปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,ปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU) และจบปริญญาโท สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกริก ชีวิตช่วงที่เรียนหนังสือไม่เคยสัมผัสกับคนมอญและพูดภาษามอญเลย จนพูดมอญได้บ้างไม่ได้บ้าง เพียงแต่ฟังออก หนังสือมอญที่เรียนมาก็ลืมไปจนหมดสิ้น มาสัมผัสกับคนมอญและพระสงฆ์มอญอีกครั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2545 นั่นก็คือ ช่วงที่ไปดำรงตำแหน่งรักการแทนเจ้าอาวาสวัดใหม่คลองเจ็ด อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และมีพระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาบุญมี ธมฺโม (พระอาจารย์ธัมมะ) ปัจจุบันคือเจ้าอาวาสวัดปรกยานนาวา เป็นคนเล่าความเป็นมาของชาติพันธุ์มอญ สถานการณ์คณะสงฆ์และประชาชนในเมืองมอญให้ฟังประเภท “ปลูกฝั่งความรักชาติ” จนเราสองคนร่วมกันตั้ง “ชมรมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาพระสงฆ์มอญ” ปัจจุบันก็คือ มูลนิธิรามัญรักษ์ หลังจากก่อตั้งชมรมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาพระสงฆ์มอญแล้ว เป็น ครั้งแรกของคณะสงฆ์มอญเมืองไทยที่ริ่เริ่มเชิญชวนพระภิกษุ – สามเณรมอญ จากประเทศเมียนมา ที่สนใจการศึกษามาเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พร้อมกับมอบทุนการศึกษาให้ ในขณะเดียวกันเด็กมอญในประเทศไทย ที่ต้องการบวชเรียน ไม่มีทุนการศึกษา ไม่มีที่อยู่ หน้าที่ของข้าพเจ้าในการจัดหาวัดให้อยู่ ซึ่งยุคสมัยนั่นเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะสามเณรมอญ พระภิกษุมอญส่วนใหญ่ไม่มีสัญชาติไทยเหมือนดังปัจจุบัน การที่เจ้าอาวาสหรือวัดใดก็ตาม ให้พระภิกษุสามเณรมอญที่ไม่มีสัญชาติไทย กฎหมายไทยถือว่าให้ที่พักพิงแก่ต่างด้าวมีความผิดทางอาญาต้องติดคุก แต่ด้วยความที่ข้าพเจ้ามีเพื่อนและเจ้าอาวาสหลายรูปที่สนิทสนมกันจึงอ้างว่า “กำลังดำเนินเรื่องขอสัญชาติอยู่” ท่านเหล่านี้ก็เมตตาไม่ถามต่อ ทำนองเดียวกันที่ไปเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บางรูป “กำลังขอสัญชาติ” หลักฐานไม่เรียบร้อย ก็ได้สหายธรรมบางรูปอาศัยเป็นใบเบิกทางเข้าไปเรียนได้ ครั้งแรก : คณะสงฆ์รามัญนิกายเยือนมหาวิทยาสงฆ์ไทยทั้ง 2 นิกาย ในปีพุทธศักราช 2557 หลังจากพระครูวิมลชยธรรม (อาจารย์วิชาญ ชยธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรกยานนาวา กรุงเทพ ฯ มรณภาพและมีการทำบุญหลังมรณภาพ 100 วัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ข้าพเจ้าได้รู้จักกับผู้บริหารคณะสงฆ์รามัญนิกาย จากประเทศเมียนมา โดยการแนะนำของพระอาจารย์บรรเจิด สุริยโชโต (พระอาจารย์สุริยะ) เจ้าอาวาสวัดสระบัวทอง จ.สุพรรณบุรี กับพระมหาบุญมี ธมฺโมหรือ พระอาจารย์ธัมมะ เจ้าอาวาสวัดสุธรรมวดีในขณะนั้น และเนื่องจากเราทั้งสามปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ ๆ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์รามัญนิกาย ประเทศเมียนมา เพราะเชื่อว่า หากจะให้คณะสงฆ์มอญพัฒนามีความรู้ ความเจริญก้าวหน้าและมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เรื่องการพัฒนาคน เรื่องการศึกษาแบบโลกสมัยใหม่เป็นเรื่องสำคัญ เท่าที่ทราบคณะสงฆ์รามัญนิกายศึกษาอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบปริยัติธรรมแผนกบาลีที่ดำเนินการสอนและสอบเองเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และกำลังสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่พระนักเทศน์ชื่อ Ven.Silacara (ตะละกุ้นแหมะ) เป็นคนดำเนินการก่อสร้างและจะทำการเปิดสอนรูปแบบเหมือนกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั่วไป ซึ่งต่อมาทราบว่าท่านได้มอบมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ให้กับคณะสงฆ์รามัญนิกายเป็นผู้บริหาร ลักษณะเหมือนกับประเทศไทยคือ ทั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ล้วนอยู่ภายใต้การกำกับของ มหาเถรสมาคม ข้าพเจ้าในฐานะศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและมีเพื่อนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายด้วย สามารถประสานงานให้ได้ จึงปรึกษากับพระอาจารย์สุริยะกับพระอาจาย์ธัมมะว่า การเดินทางมาประเทศไทยของพระมหาเถระระดับผู้บริหารคณะสงฆ์รามัญนิกายแบบนี้หาได้ยาก หากเราจะนิมนต์ผู้บริหารคณะสงฆ์รามัญนิกายไปเยี่ยมชมการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยทั้ง 2 แห่ง ทั้ง 2 นิกาย พร้อมพบกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วย คณะสงฆ์รามัญนิกายยินดีไปหรือไม่ เมื่อทราบจากพระอาจารย์สุริยะว่า ท่านมีความยินดี ข้าพเจ้าจึงประสานไปที่ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งแบบฉุกเฉิน เมื่อมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งตอบรับ คณะสงฆ์รามัญนิกายจึงได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการกิจการพระศาสนา ด้านการศึกษาซึ่งกันและกัน นี่เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสองนิกายของคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์รามัญนิกาย ประเทศเมียนมา อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สำหรับหัวข้อปรึกษาหารือกับ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสงฆ์รามัญนิกายมีความประสงค์ต้องการขอความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2 เรื่องด้วยกัน คือ 1. 1. ต้องการให้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพระภิกษุสามเณรของคณะสงฆ์รามัญนิกายที่ผ่านการสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีมอญ สามารถมาเรียนต่อที่มหาจุฬาฯได้เลย โดยผ่านการรับรองของคณะสงฆ์รามัญนิกา 2. ต้องการให้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมพัฒนา มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ (R.B.U.) ของคณะสงฆ์รามัญนิกาย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่สมบูรณ์แบบ หลังจากพูดคุย พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ตอบรับปากแต่มีเงื่อนไขขอให้คณะสงฆ์รามัญนิกายทำหนังสือมาอย่างเป็นทางการเมื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ลงนามอนุมัติแล้วเข้าสู่ขบวนการตามขั้นตอนต่อไป ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายปีพุทธศักราช 2557 หลังจากนี้ไปเกิดอะไรขึ้น ตอนหน้ามาเล่าต่อ… ********************* จำนวนผู้ชม : 539 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “สุทธิพงษ์-ดร.วันดี” พบนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ น้อมนำพระดำริ “เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” เพื่อความยั่งยืนของภูมิปัญญาไทย อุทัย มณี ต.ค. 29, 2024 วันที่ 29 ตุลาคม 67 วานนี้ เวลา 17.30 น. ที่สุราลัยฮอล์ ชั้น 7 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม… ‘มหาอานิสงส์’ สร้างพระไตรปิฎกที่สุดแห่งบุญใดๆ’ยุคAI’ อุทัย มณี ก.ย. 26, 2019 'มหาอานิสงส์' สร้างพระไตรปิฎกที่สุดแห่งบุญใดๆ'ยุคAI' กับ....พระมหาณรงค์ศักดิ์… “อดีตพระพรหมสิทธิ” เปิดตัวสาธารณะครั้งแรก!! ต้อนรับคณะสงฆ์มหายานจากสิงคโปร์ อุทัย มณี ก.ย. 06, 2022 วันที่ 6 กันยายน 2565 วานนี้ พระธงชัย สุขญาโณ อดีตพระพรหมสิทธิ … “อธิการบดี มจร”แนะนักเผยแผ่พุทธยุควิถีใหม่ ต้องเป็นหลายนักรวมถึงนักทำด้วย อุทัย มณี ก.ย. 20, 2021 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… ชาวพุทธสุดเศร้า! 3 วันสิ้น 3 พระมหาเถระ 2 ธรรม 1 เทพ อุทัย มณี มี.ค. 10, 2021 วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2564 เพจพัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊กไว้น่าสนใจว่า… จัดตั้ง “กลุ่มมหาเปรียญ 9 ประโยค” คาดหวังได้-ไม่ได้?? อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2022 การออกมากระตุ้นให้ตั้ง “กลุ่มผู้จบเปรียญธรรม 9 ประโยค” ของ… กมธ.ศาสนาสภาฯหนุนคณะสงฆ์เชียงราย ทุ่มพันล้านพัฒนาพุทธมณฑลแบบล้านนา อุทัย มณี มี.ค. 06, 2021 คณะสงฆ์เชียงรายเตรียมทุ่ม 1,000 ล้าน พัฒนาพุทธมณฑลตามรูปแบบล้านนา… “ธรรมนัส” กลับบ้าน สร้างศูนย์พักคอย 300 เตียงที่ “มจร”วิทยาเขตพะเยา อุทัย มณี ก.ค. 24, 2021 วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2564 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… จังหวัดขอนแก่นโรดโชว์ยก “หมอลำไว้กลางกรุง” อุทัย มณี ต.ค. 02, 2019 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 1 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ ลานอัฒจันทร์… Related Articles From the same category “มจร” สะเทือน!! วงในเผย “ผู้ช่วยอธิการบดี” ลาออกแล้ว 1 เซ่น!! ยุทธการจัดสรร “อำนาจใหม่” วันที่ 21 กันยายน 2565 หลังจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… “พระราชทานราชทินนามใหม่” ครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน และ ราชทินนามที่ยังไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ วันที่ 7 ก.พ. 65 เมื่อวานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า… มส.มีมติงดจัดสวดมนต์ข้ามปีที่พุทธมณฑลนครปฐมแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ที่พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร… ผู้แทน “ม.สงฆ์ มจร” มอบเจลป้องโควิด “ซื่อสัตย์ เพื่อชาติ” แก่ “ครม.” "วิษณุ"รับมอบเจล"ซื่อสัตย์ เพื่อชาติ" จากผู้แทนม.สงฆ์ "มจร" มอบให้… “สสส.” สานพลัง “สธ.” จัดเวทีเคลื่อนงานธรรมนูญสงฆ์ มุ่งพระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข ดึง ม.บูรพา พัฒนานวัตกรรม “เณรกล้า โภชนาดี” แอปฯ บันทึกพฤติกรรมฉันอาหาร-ออกกำลังกาย…
Leave a Reply