ยันเป้าหมายการสอนคือ คิดได้ ปฏิบัติเป็น ไม่ใช่จดจำนำไปทำข้อสอบ มาตรฐานการสอนมิใช่ของครูหากแต่เป็นมาตรฐาการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนต่างกัน
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563ที่ผ่านมา พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการสอนศีลธรรมในโรงเรียน จัดโดยคณะสงฆ์ภาค 2 ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่วัดถ้ำกระบอก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในหัวข้อ “จิตวิทยาการเรียนการสอนแนวใหม่ : การใช้สติและสมาธิเป็นฐาน”
พระปลัดสรวิชญ์ กล่าวว่า ครูพระสอนศีลธรรมต้องเป็นต้นแบบของการสอนที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน เพราะสิ่งที่เราสอนมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กทุกคน คิดได้ ปฏิบัติเป็น ไม่ใช่จดจำนำไปทำข้อสอบ “เทคนิคการสอนจึงสำคัญกว่าเทคโนโลยี” เราบอกว่าเรามีมาตรฐานในการสอน จัดทำแผนการสอนดี สื่อการสอนเด่น เป็นไปตามเวลาและขั้นตอน ทั้งหมด แต่ทำไหมนักเรียนไม่เข้าใจหรือไม่สนใจในการเรียน คำตอบ “มาตรฐานของใคร” นักเรียน 10 คน มีมาตรฐานความรู้เท่ากันหรือไม่ การสอนแต่ละครั้งควรใส่ใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนให้มาก มาตรฐานการสอนมิใช่ของครูหากแต่เป็นมาตรฐาการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกันต่างหาก เพราะเราไม่ใช่พนักงานสอน ที่จะสอนวิชาตามเวลาจบแล้วก็คือจบ เราต้องเติมจิตวิญญาณความเป็นครูเข้าไปด้วยและต้อง “มองเห็นเด็กทุกคนเป็นอนาคตของสังคม”
ท่ามกลางของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลกพระสงฆ์จะอยู่อย่างไรในสังคมไทย บทบาทพระสงฆ์ที่เคยเป็นที่พึ่งทางจิตใจและสติปัญญาถูกปรับเปลี่ยนเป็นผู้นำศาสนพิธีอย่างเดียว ในอดีตพระสงฆ์ได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาในภูมิธรรมและภูมิสติปัญญา สามารถเป็นผู้นำทั้งด้านจิตใจและปัญญาแก่ประชาชนได้ เพราะการศึกษาของสังคมไทยในอดีตยังไม่กว้างขวาง ยังอยู่ในการดูแลของพระสงฆ์ แต่พอมีการส่งประชาชนไทยไปศึกษาในต่างประเทศมากขึ้น คนไทยที่จบการศึกษาจากต่างประเทศก็นำเอารูปแบบและระบบการจัดการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทย การศึกษาของประชาชนจึงมีรูปแบบใหม่และมีการพัฒนาอย่างต่อเนี่อง ขณะที่ระบบการศึกษาของพระสงฆ์ยังไม่มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทั้งด้านหลักสูตรและรูปแบบการจัดการศึกษา
“สำหรับตัวแปรสำคัญทำให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อพระสงฆ์ในปัจจุบันก็คือ พระสงฆ์มีระดับการศึกษาทางโลกมากขึ้น เป็นแบบอย่างด้านการศึกษาให้กับประชาชน พระสงฆ์ได้กลับมาทำบทบาททางด้านผู้นำทางด้านจิตใจ สติปัญญาและพัฒนาสังคมเหมือนอดีตที่ผ่านมา เราต้องกราบขอบพระคุณพระมหาเถระที่ได้วางรากฐานการศึกษาระดับอุดมศึกาของคณะสงฆ์ไว้เป็นอย่างดี” พระปลัดสรวิชญ์ กล่าว
“ดร.สุเมธ”เตือนสติคนไทย! ไม่มีหุ่นยนต์ตัวใดผลิตข้าวให้เรากินได้
ความเห็นของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ที่เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวพร้อมกล่าวปาฐกถา “ชุมชนเข้มแข็ง สังคมก้าวหน้า ร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามที่เครือข่ายพันธมิตร 11 องค์กรได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เอสซีจี เพื่อนชุมชน บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล(GC) กลุ่มบ.ดาวประเทศไทย กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด บมจ.วีนิไทย บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ร้านภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.)และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมแถลงข่าว “ผนึกกำลัง Big Brothers …นำชุมชนสู่กิจการเพื่อสังคมปีที่ 4 ” เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563ที่ผ่านมา
ดร.สุเมธกล่าวว่า โครงการนี้ตั้งแต่ปีแรกจนถึงสู่ปีที่ 4 เครือข่ายที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ในการผลักดันการพัฒนาชุมชนในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม(Social Enterprise :SE ) ที่จะขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ถามว่าพอใจหรือยัง ผมคิดและอยากเสนอว่าไม่น่าจะจำกัดเฉพาะแค่ 11 รายนี้แต่อยากเห็นเป็น 110 ราย เป็น 1,100 รายแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อยากฝากไว้ อย่าไปคิดว่าเราใช้ส่วนเกินของเราไปช่วยคนที่อ่อนแอกว่าหรือชุมชนที่อยู่อย่างยากไร้ถ้าคิดเช่นนั้นเราอาจจะไม่เข้าใจสถานะการใช้ชีวิตของเราก็ได้ เพราะชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงงานหรือกิจกรรมที่ลงทุนใหญ่โต ชีวิตไม่ว่าอยู่ระดับไหน ไม่ว่าเราจะมี Robot สักกี่ตัว AI ก้าวหน้าไปแค่ไหนก็ตาม ผลสุดท้ายเราก็ต้องกลับมานั่งอยู่หน้าจานข้าวอยู่ดี” ดร.สุเมธกล่าว
ดร.สุเมธกล่าวย้ำเตือนสติต่อว่า เมื่อวันนั้นมี ข้าว น้ำตาล ผัก เนื้อต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้มาจากการพัฒนาเมืองใหญ่ทุกอย่างที่เลี้ยงดูชีวิตเรามาจาก “ชุมชน” เขาเป็นผู้มีพระคุณ ถ้าชุมชนหยุดผลิต เขาล้มละลายเมื่อไหร่ เราก็สูญสิ้นสลายชัดเจนที่สุด ทีนี้เข้าใจหรือยัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านใช้เวลา 8 เดือนต่อปีเป็นเวลา 70 ปีเพื่ออยู่กับชุมชนโดยเฉพาะในชุมชนชนบท เพราะคนเมืองใหญ่ไม่ว่าโตเกียว นิวยอร์ค ที่ไหนก็แล้วแต่บริโภคแล้วก็ถ่ายออกเป็นขยะไม่ได้ผลิตอะไรเลย
AI แอพลิเคชั่น ทำให้เราสะดวกขึ้นแต่ไม่ได้เลี้ยงดูชีวิตเรา โควิด-19 ชัดเจนเลยระบบกระบวนการผลิตหยุดหมด วัตถุดิบไม่ถูกส่งเข้าโรงงาน ต่อให้เงินสด เครดิต เดินไปในห้างร้าน ชั้นสินค้าก็ว่างเปล่า แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ไม่มีอะไรขายแย่งชิงกัน ปัญหาใหญ่วันนี้ทรัพยากรหร่อยหรอ แต่การบริโภคมากขึ้น ด้วยประชากรไทยและโลกเพิ่มขึ้นมากโดยคาดกันว่าโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าประชากรจะไปสู่ระดับ 9,000 ล้านคนจากวันนี้ 7,400 ล้านคน
สงครามเกิดขึ้นทุกมุมโลก ลองคิดดูว่าความขัดแย้งด้านการเมือง ศาสนา แต่จริงๆคือแย่งชิงทรัพยากรเพราะในบ้านตัวเองหมด มีเงินแต่ไม่มีอาหาร สภาพความจริงต้องกลับไปสู่อาหารการกิน ไม่มี Robot หรือหุ่นยนต์ไหนปลูกข้าวให้เรากินได้ ดังนั้น Social Enterprise :SE ไม่ใช่มารยาทของธุรกิจที่ต้องทำให้ดูดีแต่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของเราและให้ธุรกิจอยู่รอด ถ้าโรงงานจะยิ่งใหญ่แค่ไหน วัตถุดิบก็มาจากพื้นที่ที่เจ้าของเป็นชุมชน ไม่เลี้ยงดูเขาใครจะป้อนวัตถุดิบมาให้ และขณะเดียวกันเขาเหล่านี้ก็เป็นลูกค้าเราอีก ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงดูเขา ซึ่งไม่ใช่แค่ SE แต่ต้อง Social Responsibillity คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ต้องทำ ไม่ใช่แค่ 11 รายทุกคนต้องรับผิดชอบ
“เราเจอวิกฤติและต่อไปก็ไม่รู้จะเจออะไรอีก วันนี้อย่าไปนึกถึงกำไรสูงสุด ตอนนี้เศรษฐกิจพอเพียงเข้าใจหรือยัง เข้าใจซะก่อนที่จะสายเกินไป วันนี้ชาวบ้านเขาต้องการอะไร เรามีความรู้ต้องเข้าไปช่วย แผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 รัฐบาลเองวันนี้ก็เอามาใช้คือ คำว่าประชารัฐ รัฐ กับประชา ต้องเดินไปด้วยกัน ซึ่งประชาก็คือ Big Brother ทั้งหลายด้วย เราต้องไปช่วยเขาบริหารน้ำ บริหารทรัพยากร นี่คือทางรอดของไทยและของโลกและเป็นกระแสที่ยั่งยืน ผลิตแล้วตลาดก็สำคัญ ร้าน7-11 ช่วยเพิ่มสินค้าสำหรับชุมชนจะได้ไหม” ดร.สุเมธกล่าว
สรุปแล้ว “ชุมชน” คือ “รากแก้ว” อย่าไปเรียกว่ารากหญ้า ดอกไม้ยิ่งใหญ่แค่ไหน ดอกสวยแค่ไหน วันใดที่รากขาด ต้นไม้ก็อยู่ไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น ชุมชน จะต้องแข็งแรงเพื่ออยุงต้นไม้ทั้งต้น คือประเทศชาติให้อยู่รอดปลอดภัย เพื่อให้มีพื้นที่ให้ลูกหลานอยู่อย่างมีความสุขต่อไป
Leave a Reply