ศึกษาศาสตร์ มรภ.จันทรเกษม เสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อการตื่นรู้สู่ความเป็นครูวิชาชีพ อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร นำนักศึกษาประกาศเจตจำนงค์ ความเป็นครูในศตวรรษที่ 21
คำว่า “ครู” เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์และมีศักศรี เราจะใช้คำนี้ รักษาตัวและหัวใจเพื่อยึดมั่นในจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครู โดยระหว่างวันที่ 24–28 สิงหาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานาคร ได้จัดโครงการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบกาณ์ด้านต่างๆ
พร้อมด้วยคุณลักษณ์ที่พึ่งประสงค์ ตามพระราโชบายด้านการศึกาและคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 โดยมีนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 979 คน ในการจัดกิจกรรมเป็นการบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาด้านการปรับตัว ปรับใจนักศึกษายุคใหม่ ใส่ใจคุณธรรม นำสู่การเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู
พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวว่า จากข่าวในปัจจุบันพบว่า ครู ทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครูมากขึ้น เช่น การทำอนาจารเด็ก ข่มขืนนักเรียน ลงโทษนักเรียนไม่มีเหตุผล ขาดสติ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพขณะเดียวกันทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นและศรัทธาของผู้ปกครอง สังคมที่มีต่อครูอีกส่วนหนึ่ง การที่จะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือการกระทำของครูในปัจจุบันซึ่งเกิดจากปัจจัยส่วนบุคคล และสังคมสิ่งแวดล้อมทางเศรษกิจ สังคม ทำให้ครูขาดการตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่และจิตวิญญาณของความเป็นครูซึ่งหากเรามองในแง่ของการป้องกันปัญหาในอนาคต
จำเป็นจะต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่และจิตวิญญาญของครูให้มีการตื่นรู้มากยิ่งขึ้น โดยการสร้าง สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับบาทบาทและความรับผิดชอบของครูที่มีสถาบันการศึกษาและสังคม มีหิริโอตัปปะ เกิดความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปหรือผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ เป็นธรรมะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะหากผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูไม่ละอายต่อการกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทำนั้นๆ บุคคลนั้นก็สามารถทำสิ่งที่เลวร้ายเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง นักเรียน ชุมชน และสังคมส่วนร่วมได้ทุกอย่าง ฉะนั้น บุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นครูที่ดีได้นั้น จำเป็นจะต้องมีธรรมทั้งสองข้อนี้ปกป้องคุ้มครอง เรียกได้ว่า เป็นธรรมโลกบาล หรือ ธรรมะที่คุ้มครองโลก ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวสังเขปได้ดังนี้
1.ครูต้องมีความละอายแก่ใจในการทำบาป (หิริ) หรือสิ่งที่ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ศีลธรรมอันดีงามของสังคม ตลอดทั้งกฏหมายบ้านเมือง หากบุคคลสามารถพัฒนาหิริจนเกิดขึ้นในจิตใจกลายเป็นนิสัยในการดำเนินชีวิต ก็สามารถควบคุมอารมณ์ยับหยั่งตัวเองไม่ให้ความชั่ว กิเลส ตัณหาเข้ามาครอบงำจิตใจได้ เพราะบุคคลเกิดความละอายที่จะคิด พูด และกระทำ ความชั่วเหล่านั้น ถามว่า ทำอย่างไรจะทำให้บุคคลเกิดความละอายแก่ใจได้?
คำตอบ คือ หิริ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝนพัฒนาตนให้มีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม ในสมัยโบราณจะอบรมเลี้ยงดูลูกหลานให้มีความเกรงกลัวต่อบาป ด้วยการยกเรื่องราว เหตุการณ์เกี่ยวกับบุคคลที่กระทำผิดศีล ผลที่เกิดขึ้นในชีวิตหลังความตายก็จะตกนรก พบกับยมบาล ถูกทำโทษในอเวจีขุมต่างๆ ทำให้คนเกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำนั้นๆ สำหรับคนในปัจจุบันอาจจะไม่เชื่อถือเรื่องราวเหล่านี้ก็ต้องเพิ่มเติมการอธิบายผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นวิทยาศาสตร์หรือสิ่งที่จับต้องได้เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากการกระทำหากบุคคลไม่ละอายแก่ใจในการกระทำผิดกฏระเบียบ จารีตประเพณีหรือกฏหมายของบ้านเมือง สำหรับพฤติกรรมของผู้ที่ขาดหิริ มีลักษณะอย่างไร? ผู้ที่ขาดหิริ คือผู้ที่ไม่มีความละอายใจต่อบาปการดำเนินชีวิตก็จะมีพฤติกรรมในการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ได้ทุกเวลา ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น
2. ครูต้องมีความเกรงกลัวต่อบาป (โอตัปปะ) มิใช่กลัวเฉพาะกฏหมายเท่านั้น เพราะบางกรณีจะพบว่า บุคคลที่กระทำความผิดกฏหมายแต่จะไม่กลัวกฏแห่งกรรม ผู้ที่ทำผิดกฏหมายก็จะพยายามช่องโหว่ทของกฏหมายเพื่อให้ตนเองพ้นจากความผิด โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เหมาะสม ฉะนั้นสังคมจะต้องมีมาตรการในการสร้างค่านิยมยกย่องคนดี ตำนิหรือลงโทษผู้กระทำความผิดและปฏิเสธการใช้เงินหรืออำนาจในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ขณะเดียวกันหากครูมีจิตวิญญาณตื่นรู้มีสติและสมาธิในการประกอบวิชาชีพสามารถ โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นทุกๆ ลมหายใจเข้าออก ยึดมั่นและมั่นคงอยู่กับจรรยาบรรณวิชาชีพครู ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักประกันชีวิตและสังคม (ศีล 5 ) เข้าใจในกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
รู้ว่าเมื่อทำกรรมดีย่อมได้รับผลดีเป็นเครื่องตอบแทน หากทำกรรมช่วงย่อมรับรับผลชั่วเป็นเครื่องตอบแทนในชาติปัจจุบัน หรือ เชื่อว่าทั้งกรรมชั่วและกรรมดีย่อมส่งผลให้ผู้ที่ประกอบกรรมนั้น ได้รับในชาตินี้และชาติต่อ ๆไป หากครูเป็นผู้มีคุณธรรมข้อนี้จะไม่กล้าทำความชั่ว เกรงกลัวต่อบาป ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ก็จะกระทำแต่กรรมดี มีจิตเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น เรียกได้ว่าดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาณ ใช้มีสติปัญญารักษาตนให้พ้นภัยได้
“จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับพฤติกรรมของครูในทางที่เสียหายในปัจจุบัน ทำให้เราต้องกลับมาพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูที่มีการตื่นรู้ มีสติและสมาธิเป็นฐานในการฝึกฝนอบรมให้เป็นวิถีชีวิต โดยเฉพาะการอยู่กับลมหายใจอย่างรู้เท่าทั้น เราเกิดมาบนโลกนี้มีอะไรที่เป็นเพื่อนที่แท้จริงบ้าง ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนกระทั้งคลอดออกมาและมีชีวิตรอดอยู่ในสังคมนี้ ไม่มีอะไรที่อยู่เคียงข้างเราที่แท้จริงนอกจาก “ลมหายใจ” ลมหายใจเท่านั้นที่จะบอกเราว่า เราทุกข์ หรือ เรามีความสุขกับทำงาน ตอนนี้เรามีกายและใจที่จะต้องเรียนรู้อยู่กับการเปลี่ยนแปลงทุกๆ วินาที ทุกๆ ลมหายใจเข้าออก กาย เปรียบเสมือน บ้านและใจเปรียบเสมือนเจ้าของบ้าน การอยู่ในบ้านกับนอกบ้านทำให้เราได้รับความทุกข์และความสุขต่างกัน นอกบ้านมีเรื่องราวมากมายที่เข้ามาในชีวิตเรา แต่เมื่อไรที่เรากลับมาอยู่ที่บ้านของเรา เราจะรู้สึกอบอุ่นและเย็นลง ฉะนั้น ความเป็นครูของเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อไรก็ตามที่เราเอาเรื่องราวต่างๆ เข้ามาวุ่ยวายในบ้านเราหรือในการทำหน้าที่ความเป็นครู จะทำให้เราสูญเสียจิตวิญาณความเป็นครูทันที เราจะต้องมีความละอายและเกรงกลัวต่อการทำบาป โดยฝึกฝนปฏิบัติตามตามคุณสมบัติครูวิถีพุทธ 7 ประการ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น “ครู” เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์และมีศักศรี เราจะใช้คำนี้ รักษาตัวและหัวใจเพื่อยึดมั่นในจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครู” พระปลัดสรวิชญ์ กล่าว
Leave a Reply