“เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน จ.สกลนคร วันที่ 23 มกราคม 2566 เวลา 14:19 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน หมู่ที่ 2 ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชานน วาสิกศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พลตรี นรธิป โพยนอก ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 พันตำรวจเอก เทิดทูน สร้อยสุขพาพันธ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ เฝ้ารับเสด็จ การนี้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร ทรงกราบ ประทับพระเก้าอี้ ทรงศีล จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบทูลรายงานการจัดสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน และกราบทูลเชิญทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ และทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาผ้าของบ้านดอนกอย และการแสดงพื้นถิ่นของอำเภอพรรณานิคม ภายหลังจากทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายแล้ว เสด็จไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก แล้วเสด็จไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ และเสด็จไปทอดพระเนตรการเตรียมเนื้อครามและสาธิตวิธีการย้อมครามที่อาคารเตรียมเนื้อคราม แล้วเสด็จเข้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดยทรงทอดพระเนตร Live สด การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของบ้านดอนกอยโมเดล การสาธิตการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย นิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาผ้า นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ฯ นิทรรศการประวัติความเป็นมาของ “ดอนกอยโมเดล” และทอดพระเนตรการเตรียมเส้นใยการทอ และการแสดงพื้นถิ่นอำเภอพรรณานิคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้เจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำแนวทางพระดำริ จัดสร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น” เพื่อประกาศพระเกียรติคุณที่ทรงมีพระเมตตาต่อประชาชนคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านดอนกอย ที่ได้พระราชทานโครงการพระดำริแห่งแรก “ดอนกอยโมเดล” ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และสร้างคุณประโยชน์กับประชาชนอย่างอเนกอนันต์ “กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนโครงการ “ดอนกอยโมเดล” จากพระดำริฯ เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรขั้นตอนการผลิตผ้าย้อมครามที่กลุ่มทอผ้าบ้านดอนกอย เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 63 โดยมีพระประสงค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านดอนกอยให้มีความทันสมัย ยกระดับภูมิปัญญาและชิ้นงานให้เป็นที่ต้องการของตลาดไทยและตลาดโลก เกิดเป็นรายได้และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ยกระดับเป็น Premium OTOP เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านดอนกอยและผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงรวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า การย้อมคราม และการใช้สีธรรมชาติ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยและมีความเป็นสากล โดยได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนามาจากลายดั้งเดิมของชุมชนบ้านดอนกอย ไปพัฒนาต่อยอดด้านการใช้สีธรรมชาติจนสามารถพัฒนาได้ถึง 10 โทนสี รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านดอนกอย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยสามารถสวมใส่ได้ในทุกโอกาส ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งในการพัฒนาตั้งแต่ปี 2563 – ปัจจุบัน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมครามพัฒนาให้กลายเป็นผ้าไทยที่ใส่สนุก มีลวดลายใหม่ ๆ ดีไซน์ที่ทันสมัย ตามเทรนแฟชั่น” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน และภาคีเครือข่าย มีแนวทางดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกอำเภอของจังหวัดสกลนครได้นำโมเดลนี้ไปขับเคลื่อน โดยปัจจุบันได้มีการต่อยอดไปสู่โครงการ “ดอนกอยโมเดลสู่สากล” มีการสร้างสรรค์แฟชั่น คอลเลคชั่น ร่วมสมัย พร้อมนำองค์ความรู้ที่ได้มาจัดทำและตีพิมพ์เป็นหนังสือ “ดอนกอยโมเดล” เผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่แพร่หลายและฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้านการสร้างสรรค์ผืนผ้าด้วยความร่วมมือจาก 10 กลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านคำประมง กลุ่มสร้างเสริมอาชีพชุมชนบ้านดอนกอย กลุ่มเยาวชนบ้านดอนกอย กลุ่มทอผ้าภูไทรุณณี วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านอูนดง-หนองไชยวาลย์ กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้บ้านผักคำภู กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านบัวทอง กลุ่มผ้าย้อมครามบ้านหนองครอง และกลุ่มไอดินกลิ่นคราม และได้มีการคัดเลือกผืนผ้าที่มีความโดดเด่น นำไปออกแบบเสื้อผ้าโดยนักออกแบบชั้นนำของประเทศ นำไปสู่ “การสร้างงาน สร้างรายได้ กระจายสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” และเป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มทอผ้าภายใต้โครงการดอนกอยโมเดลและคนในชุมชน จากเดิม 700 บาท/คน/เดือน เพิ่มเป็นกว่า 15,000 บาท/คน/เดือน “ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” จะเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาเรื่องผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการทอผ้า และเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ที่สนใจสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ และเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” และยังเป็นแบบอย่างในเรื่องของการพัฒนาชุมชนโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก Bio-Circular-Green Economy : BCG สร้างความตระหนักให้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนทอผ้า คนย้อมผ้า และอาจส่งไปถึงผู้สวมใส่หากใช้สารเคมีในการย้อมผ้า อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการส่งเสริมให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ โดยได้สนับสนุนให้คนในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ ปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติ ดังพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” โดยกระทรวงมหาดไทยขอน้อมนำพระดำริในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ให้สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 63 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเยี่ยมกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ซึ่งระหว่างที่พระองค์ทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ผ้า และผ้าทอลายโบราณต่างๆ ของกลุ่มนั้น ได้มีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำในเรื่องลายผ้าโบราณ เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพระราชทานคำแนะนำให้ย้อมผ้าในโทนสีที่อ่อนลงเพื่อให้มีความร่วมสมัย และปรับการทอชายผ้าถุงให้กว้าง ปรับทอหัวผ้าถุงให้ยาวขึ้น พร้อมทั้งทรงมีพระวินิจฉัยเพิ่มเติมให้ผสมผสานลวดลายเดิมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดลายใหม่ ร่วมสมัยและเป็นสากล อาทิ ทอผ้าลายโคมไฟใหญ่สลับกับลายพิกุลทอง ทอผ้าลายต้นกล้วยแทรกด้วยลายฟันปลา และทอผ้าลายตุ้มป่องใหญ่ให้มีสัดส่วนลายที่เล็กลง และทรงมีพระวินิจฉัยให้ปรับการทอลายเกล็ดเต่าของกลุ่มทอผ้าบ้านคำประมงให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้นำไประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น และต่อมา พระองค์ได้เสด็จไปทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP City 2020 ในวันที่ 21 ธ.ค. 63 กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ได้ถวายรายงานและนำผ้าที่ทอขึ้นตามพระวินิจฉัย ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร พระองค์ตรัสว่าสวยมาก และพระราชทานพระดำริเพิ่มเติมให้ปรับขั้นตอนการค้นหมี่ โดยให้ฟืมกับโฮงหมี่มีขนาดเท่ากัน เพื่อไม่ให้เส้นขอบด้ายมีพื้นที่เหลือมากเกินจำเป็น ยังทรงให้ศึกษาทดลองเรื่องการย้อมครามเพื่อให้ได้สีโทนอ่อนลง และทดลองการล้างด้ายจนสีไม่ตกว่าจะต้องล้างกี่น้ำ “ภูมิปัญญาพื้นถิ่นและองค์ความรู้การทำผ้าย้อมครามอันเป็นเอกลักษณ์ของสกลนคร การย้อมสีธรรมชาติ การปลูกฝ้าย ทำฝ้าย เข็นมือ ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษผสมผสานกับวิถีชีวิตชาวบ้าน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ อันมีเสน่ห์งดงาม เชื่อมโยงกับสายสัมพันธ์ ความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สมบัติอันล้ำค่าให้แก่ผืนแผ่นดินไทย นั่นคือ ผ้าไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของสกลนครที่งดงาม ทรงคุณค่า สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนและคนไทยทุกคนเป็นอย่างยิ่ง และในฐานะที่เป็นคนไทย ช่างทอทุกคนก็มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการที่จะสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ต่อยอด สร้างสรรค์ ผลงานศิลปะผ้าไทยให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ อย่างยั่งยืน” ดร.วันดีฯ กล่าวในช่วงท้าย ด้าน นางถวิล อุปรี ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย กล่าวว่า ตนรู้สึกซาบซึ้งดีใจและสำนึกในพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จากในอดีตพวกเราทอผ้าแบบโบราณ ตามวิถีชีวิตชาวบ้านโบราณดั้งเดิม ทอเฉพาะใช้ ใช้ทุกอย่างที่ทำ พระองค์ท่านมาพระราชทานเสริมให้ลายผ้ามีความหลากหลาย เพื่อให้ชุมชนเรามีรายได้ มีเงินไปดูแลครอบครัว ดูแลลูกหลานในชุมชน พระองค์ทรงตรัสว่า “แม่ ๆ หนูมานี่มาให้กำลังใจแม่ ๆ นะ แม่ ๆ อย่าขี้คร้านนะ” ทำให้พวกตนมีความซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงใช้พระหัตถ์จับเครื่องมือเครื่องทอต่าง ๆ ก็ได้แต่ทูลว่าเป็นห่วงพระองค์ กระทั่งทรงตรัสตอบว่า “แม่ไม่ต้องห่วง หนูทำได้ หนูเคยตามเสด็จสมเด็จย่าบ่อย ๆ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเหมือนความฝันที่กลายเป็นความจริงเกิดขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่พวกเราทำไม่ได้ พระองค์ทรงโปรดให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญลงมาช่วยให้แง่คิด ให้ข้อชี้แนะ ให้องค์ความรู้พวกตนด้วย ซึ่งแนวทางพระราชทานทำให้คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น ลักษณะลายผ้าเฉดสีมีมากขึ้น ทั้งครามน้ำหนึ่ง ครามน้ำสอง ครามน้ำกลาง และผสมผสานหลากหลาย และจะน้อมนำถ่ายทอดให้ลูกหลานได้สืบสาน รักษา และพัฒนาต่อยอดต่อไปให้เกิดความยั่งยืน “พวกเราทุกคนจะน้อมนำพระดำริที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ มาทำให้วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ พื้นที่แห่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับลูกหลาน ให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อทำให้ผ้าไทยเป็นเครื่องมือแห่งการสร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราทุกคนและพี่น้องคนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีด้วยหัวใจของพวกเราที่มีต่อ “พระองค์หญิง” พระผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคนตลอดไป” นางถวิลฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเสริมในตอนท้ายว่า กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำแนวพระดำริการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืนของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงริเริ่ม ณ บ้านดอนกอย มาขับเคลื่อนในปี 2566 ใน 76 จังหวัด ตำบลละ 1 หมู่บ้าน รวม 7,255 หมู่บ้าน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้ดูแลครอบครัว ดูแลหมู่บ้าน จนเป็นหมู่บ้านยั่งยืน เฉกเช่น บ้านดอนกอย อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา 8 มกราคม 2566 เพื่อทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน จำนวนผู้ชม : 493 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “หลวงพี่น้ำฝน” ให้อภัยถอนฟ้องสื่อทีวี 9 คน ส่วน “จาตุรงค์- ไพรวัลย์ ” เกินให้อภัย?? อุทัย มณี ก.ย. 25, 2023 วันที่ 25 ก.ย. 66 ที่ศาลาหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์… ผู้ว่าฯเชียงใหม่ร่วมตรวจเยี่ยมหมู่บ้านรักษาศีล 5 วัดขันแก้ว ผลงานเด่นเล็งยกเป็นต้นแบบ อุทัย มณี ส.ค. 29, 2023 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่วัดขันแก้ว บ้านหารแก้ว ต.หารแก้ว… มีเทศน์ มีทอล์ค ก้าวสู่ปีที่ 8 อุทัย มณี พ.ค. 31, 2019 อธิการบดีมหาจุฬาฯแนะนำอริยสัจโมเดล ประยุกต์แก้ความขัดแย้งสังคมไทย อุทัย มณี พ.ย. 25, 2020 พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาจุฬาฯ แนะนักวิชาการสันติวิธีนำอริยสัจโมเดล… พุทธอิสระโพสต์ “ลัทธิพุทธวจน” ถาม “ฝ่ายมั่นคง” จะจัดการอย่างไร?? อุทัย มณี ส.ค. 29, 2022 วันที่ 29 สิงหาคม 65 นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือเดิม พระพุทธะอิสระ… “สีจีวร” เรื่อง “ธรรมดา” ที่ไม่ธรรมดาในสังคมสงฆ์ อุทัย มณี มี.ค. 28, 2022 “สีจีวร” ของพระสงฆ์ กำลังถูกจับตามอง ใน “มุมวงแคบ”… เรียนทำไม!! ภาษาบาลี อุทัย มณี ม.ค. 24, 2022 สมัยเป็นนักเรียนบาลี มีบรรดาพระเณรในวัดที่ไม่ได้มาร่วมเรียนด้วย… พระถาม 91 วันแล้ว! “เยียวยาพระสงฆ์: ย่ามใครดี ???” อุทัย มณี มิ.ย. 10, 2020 วันที่ 10 มิ.ย.2563 เพจ Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า “เยียวยาพระสงฆ์:… ปฎิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ว่าด้วย: อธิการบดี “มจร” อุทัย มณี ก.ค. 04, 2022 ฉับพลัน!! ที่ทราบข่าวว่า สภามหาวิทยาลัย มจร เห็นชอบชื่อ “พระธรรมวัชรบัณฑิต”… Related Articles From the same category “พึ่งพระ” สธ.เปิดอบรม “หลักสูตรการดูแลพระอาพาธระยะสุดท้าย” "หมอชลน่าน"เปิดอบรม "หลักสูตรการดูแลพระอาพาธระยะท้ายของพระคิลานุปัฏฐาก" … คณะสงฆ์นางรองบุรีรัมย์ พัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัด ส่งเสริมสุขภาพพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา… เลขาฯพุทธใต้เชื่อมั่นผู้สมัครส.ส.สงขลาพรรคแผ่นดินธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น. ที่บ้านบ่อระกำ ตำบลพะวง… เช็คด่วน..ใครมีอำนาจเบิกจ่ายกองทุน“วัดช่วยวัด” หลังจากมีข่าว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะตัดนิตยภัตพระสงฆ์… ชาวปรางค์กู่ร่วมคืนธรรมชาติให้โลกา คืนผืนป่าให้ชุมชน ปลูกสมุนไพรสู้ภัยโควิด เนื่องในวันแม่แห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา…
Leave a Reply