เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม, ประธานกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ได้เดินทางพร้อมคณะเพื่อมอบสิ่งของให้กับพระสงฆ์และประชาชนที่ประสบอุททกภัยจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้ว่าฯร้อยเอ็ดรับมอบเรือและถุงยังชีพ มอบให้แก่ศูนย์พักพิงผู้ประสบสาธารณภัย อำเภอโพนทราย
ที่ว่าการอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับมอบเรือและถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อมอบให้แก่ศูนย์พักพิงผู้ประสบสาธารณภัย อำเภอโพนทราย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยมี นายชูศักดิ์ ราชบุรี ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด, นายปารเมศ เห้งสวัสดิ์ นายอำเภอโพนทราย, หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับมอบ
ทั้งนี้ อำเภอโพนทราย ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำมูลหนุนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตรกร และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ทำให้บางหมู่บ้านถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถสัญจรเข้า-ออกได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สำนักงานประมงจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้นำเรือตรวจประมงน้ำจืดลำปาว 14 พร้อมถุงยังชีพ จำนวน 115 ถุง และเครือข่ายสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ดตอนล่าง มอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค จำนวน 250 ถุง โดยสิ่งของที่ได้รับมอบ จะได้นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ที่อาศัยในศูนย์พักพิงผู้ประสบสาธารณภัย อำเภอโพนทราย พร้อมให้กำลังใจพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข ให้พ้นผ่านวิกฤตในครั้งนี้โดยเร็ว
“มจร ร้อยเอ็ด” ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่า คณะของวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดย พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกรรมการวิทยาลัยสวฆ์ร้อยเอ็ด พร้อมด้วยพระครูวาปีจันทคุณ ผู้อำนวยการ พระครูสุตวรธรรมกิจ รองผู้อำนวยการ นายสยามพร พันธไชย รองผู้อำนวยการ พร้อมคณะวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่บ้านสว่าง บ้านศรีสว่าง บัานแสงสว่าง บ้านโนนพะยอม ต.ศรีสว่าง อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด เพื่อมอบสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค บรรเทาทุกข์เบื้องต้นให้กับพระสงฆ์ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 500 หลังคาเรือน
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า หมู่บ้านที่เข้าไปช่วยเหลือในวันนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องให้ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นหนึ่ง และแหล่งทอผ้าใหมด้วยกี่จากมือของชาวบ้าน
จากการได้พบปะพระสงฆ์และชาวบ้านในครั้งนี้ทุกคนต่างมีสีหน้าหม่นหมอง พระครูกิตติพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสว่างเล่าว่า ตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านขึ้นมากว่า 70 ปีแล้วไม่เคยเห็นน้ำมากมายขนาดนี้ วันนี้ชาวบ้านทุกข์ และลำบากมากเพราะน้ำท่วมขังมากว่าสองเดือนแล้ว ทุกวันนี้ชาวบ้านก็อาศัยถุงยังชีพจากผู้มีน้ำใจมามอบให้ ส่วนนายบัวทอง ติดชม นายกอบต.ศรีสว่างเล่าว่า ทุกวันต้องออกเยี่ยมชาวบ้านทั้งทางบกและทางเรือได้เห็นความยากลำบากของขาวบ้านจึงพยายามดิ้นรนขวนขวายทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ พระสงฆ์ก็เป็นที่พึ่งที่สำคัญในภาวะที่ชาวบ้านเดือดร้อน ส่วนที่นาของชาวบ้านซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิของทุ่งกุลาร้องให้นั้นได้เสียหายกว่า 90 เปอร์เซ็น นาข้าววันนี้เต็มไปด้วยน้ำยิ่งกว่าทะเลสาบ และขณะนี้น้ำก็เรื่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นแล้วแสดงว่าต้นข้าวได้เน่าเปลื่อยหมดแล้วชาวบ้านจึงหมดหวังไปตามๆกัน ส่วนนางสมจิตร อุ่นน้ำเที่ยง ผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนพะยอม เล่าว่า ชาวบ้านทั้งหมดมีอาชีพทำนาและปลูกหม่อนเลี้ยงใหมจนมีชื่อเสียง วันนี้นาล่มแล้วปีนี้ก็ไม่รู้ว่าลูกบ้านจะอยู่กันอย่างไร ได้แต่ปลอบใจกันไป ส่วนวัดประจำหมู่บ้านนั้นนำ้ท่วมสูงมาก จึงได้นิมนต์พระสงฆ์ออกมาฉัน มาทำวัตรสวดมนต์ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านก็รวมกันไปถวายอาหารเข้า เพลทุกวัน วันนี้ต้องกราบขอบคุณคณะสงฆ์ มหาจุฬาฯเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ทิ้งชาวบ้าน ที่มีเมตตาต่อผู้ประสบภัยในครั้งนี้
พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อชาวบ้านเดือดร้อนพระสงฆ์ต้องออกมาช่วย ขณะนี้มหาจุฬาฯในทุกจังหวัดต่างตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามนโยบายของพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี เพื่อระดมสรรพกำลังในการให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเต็มกำลัง
Leave a Reply