กมธ. ศาสนาฯ ผุดไอเดีย “สร้างสภาองค์กรพุทธฯ เพื่อลดคดีสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา”

เมื่อวานนี้ (10 ต.ค. 2563) ที่พุทธมณฑลจังหวัดเชียงราย อ.แม่ลาว จ.เชียงราย คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดย สส.ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ เป็นตัวแทนนายสุชาติ อุสาหะ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ นายนายประกรณ์เกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพุทธมณฑลจังหวัดเชียงรายเพื่อติดตามกรณีที่ดินและประสานความร่วมมือระหว่างสมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ที่เกิดจากการรวมตัวจากองค์กรพุทธศาสนากว่า 48 องค์กร หลังจากนั้นเวลา 13.00 น. คณะกรรมาธิการการศาสนาฯ เข้าร่วมประชุมกับสมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย โดยการเชิญของ พระรัตนมุนี (ปุณณมี วิสารโท) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเดิม ดอยจำปี อ.เมือง จ.เชียงราย ครั้งที่ 4/2563 โดยมี สส. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และสภาชาวพุทธ กว่า 48 องค์กรเข้าร่วมประชุม

สส.ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการดำเนินการของคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ที่ผ่านมาได้คณะกรรมาธิการฯ ได้ ร่าง พ.ร.บ. เพื่อสนับสนุนงานของพุทธศาสนาจำนวน 4 ฉบับ ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบในชั้นอนุกรรมาธิการฯ และคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ เป็นที่เรียบร้อย ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการหารือในการนำ พ.ร.บ. ทั้ง 4 ฉบับนี้เข้าสู่สภา คาดว่าจะได้รับบรรจุในสภาหลังสมัยเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 พ.ย. 2563 ที่จะถึงนี้
ซึ่ง 1 ใน 4 ของร่าง พ.ร.บ. คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์การส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา จะตรงกับการจัดตั้งสมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ที่เกิดการรวมตัวของผู้นำชาวพุทธเพื่อเสริมสร้างและผลักดันให้ประชาชน เข้าถึงหลักของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะแก่นของพุทธศาสนา คือ “ทาน ศีล ภาวนา” โดยอาศัย มงคล 38 ประการ ที่มีหลักเบื้องต้นใน ข้อ 1 และข้อ 2 ที่ ทำให้บุคคลเลือกคบกับคนที่ถูกต้อง และมีกัลยาณมิตร ที่เป็นผู้นำชาวพุทธในการผลักดันให้ พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะเยาวชน เข้าถึงการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับการบูรณาการร่วมกันจำเป็นต้อง มีทั้ง 3 ท. คือ “ที่ ทีม ทุน” เพื่อทำให้เกิดความสำเร็จ ดังนั้น สำหรับสถานที่นั้น พุทธมณฑลประจำจังหวัด มีความจำเป็นจะต้องมีทุกจังหวัด ในการเป็นศูนย์กลางของการดำเนินกิจกรรม
ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการผลักดันสมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยผ่านพระราชบัญญัติสภาองค์การส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ซึ่งหากฉบับร่าง พ.ร.บ. ผ่านการตรา พ.ร.บ. แล้วตนคิดว่าจะทำให้ จะต้องเกิดการบูรณาการในหลายมิติ เพื่อสร้างคน ให้ เป็นคนเก่งและคนดี ที่มีความสุข ผ่านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องทำอย่างมีกระบวนการโดยผ่านการวิจัยขณะนี้ตอนนี้ตนได้ศึกษาเพิ่มเติมในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีการหารือกับคณาจารย์ที่มีความสนใจในเรื่องนี้รวมถึงเพื่อนๆ ที่ทำงานในระบบยุติธรรม เพื่อนำหลักพระพุทธศาสนามาลดคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะคดีอาญา ในเบื้องต้นเพื่อเป็นการวิเคราะห์และวัดผลในเชิงวิชาการ ตนได้ประสานกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สก สว.) เพื่อการวิจัยในกรอบ “การสร้างสภาองค์กรพุทธเพื่อลดคดีสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา” โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อผนวกกับ “บวร” หรือ “บ้าน วัด โรงเรียน” เข้ามาประกอบ ให้ประชาชนตระหนักในหลักธรรมาภิบาล และเข้าใจในหลักนิติธรรมนิติรัฐ

รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการภารกิจ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และกรอบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สก สว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้หารือกับประธานฯ แล้วมีความเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่จะวิจัยการผลักดันการสร้างสภาองค์กรพุทธเพื่อลดคดีสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประกอบ สำหรับการวิจัยจำเป็นต้องทำให้เห็นผลลับที่แท้จริง (Outcome) ในเบื้องต้นจะต้องมีส่วนประกอบในการวิจัยอันประกอบด้วย
1.สถานที่คือพุทธมณฑลเชียงราย
2.สังคมคือชาวบ้านหรือประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
3.ผู้นำชาวพุทธคือ สมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย
4.กิจกรรมและการดำเนินการอย่างบูรณาการผสานกับระบบโซเชียล
5.ทีมงานวิจัย
ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการเริ่มงานวิจัยในกรอบ
 1. ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์การส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาจะดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงหลักของพุทธศาสนาคือ “ทาน ศีล ภาวนา” ได้อย่างไร?
2..การมีสถานที่อย่างพุทธมณฑล จะสร้างกิจกรรมอย่างบูรณาการโดยใช้หลักของพุทธศาสนาผนวกกับหลัก “บวร.” บ้านวัดโรงเรียน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปลูกฝังผู้กลุ่มตัวอย่างให้ได้ผลให้คนอยู่ในศีลในธรรมและมีผลให้ลดผู้ต้องหาสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้อย่างไร?
3. สภาองค์กรพุทธฯ จะมีส่วนในการลดคดีสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้อย่างไร?

นายปรีชา พัวนุกูลนนท์ นายกพุทธสมาคมจังหวัดเชียงราย กล่าวเพิ่มว่า ในฐานะองค์กรของตนเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์พิทักษ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ตนเห็นด้วยในการจัดให้มี พระราชบัญญัติสภาองค์การส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา เพราะจะทำให้พุทธศาสนาที่เป็นศาสนาหลักของชาติไทย ที่มีคนนับถือมากที่สุด มากกว่า 95% เป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีคำสอนที่เป็นตรรกะ มีเหตุและมีผล นำมาใช้เป็นเครื่องมือให้ประชาชนอยู่ในศีลในธรรม จะส่งผลให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขดังในอดีต จะลดคดีต่างๆ ที่มากมายจนล้นศาลในปัจจุบัน สำหรับการให้พุทธมณฑลแต่ละจังหวัดรวมถึงวัดเป็นเหมือนป่าโกงกางที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำนั้น พุทธมณฑลและวัดก็จะเป็นแหล่งปลูกฝังศีลให้กับประชาชน ก็จะทำให้ “บวร” หรือ บ้านวัดโรงเรียน กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งดังรุ่นปู่ย่าตาทวดในอดีตทำมา เป็นต้นแหล่งของขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทย จะทำให้ประเทศไทยกลับมาเป็นสยามเมืองยิ้ม จะนำมาซึ่งการท่องเที่ยว การเศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้ประเทศไทยเจริญยิ่งๆ เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลกดังเป้าหมายของมหาเถรสมาคม ต่อไป

 

ปรียานุช ปานประดับ ผู้จัดละคร/นักศึกษา มจร.เชียงราย กล่าวว่า ตนย้ายมาอยู่ที่เชียงรายเพราะความน่ารักของจังหวัดเชียงราย เชียงรายมีสิ่งที่สวยงามมีเสน่ห์และน่ารักอยู่ในตนเอง มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายท่าน ตนอยากให้เชียงรายเป็นต้นฉบับและศูนย์กลางของคนดี โดยเริ่มจากเมืองเล็ก ๆ อะไรสักเมืองหนึ่ง ที่น่ารักมีคนหลายกลุ่มหลายวัย โดยเฉพาะเด็กๆ มาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เมืองนี้เป็นดั่งเมืองสวรรค์ ใครมาแล้วก็อยากมาอีกและอยากจะชวนเพื่อนๆ มาด้วย เข้าไปแล้วมีศิลปะที่งดงาม ยิ่งยุคสมัยนี้ถ้าเป็นเมืองที่สวยงามคนก็อยากจะมาถ่ายรูป มีร้านกาแฟเล็ก ๆ มีสระมีสวน ศิลปะที่งามตา อาจจะมีนักออกแบบ Landscape ของเมืองเล็กๆ แห่งนี้ ตั้งชื่อให้ไพเราะ อาจจะเอาต่างชาติเข้ามาแลกเปลี่ยนบ้าง วัฒนธรรมชาวเขาที่น่ารักมาแลกเปลี่ยน มีเสียงดนตรี มีศีลธรรม สิ่งนี้จะดึงดูดให้คนเข้ามาแสวงหา เข้ามาแล้วมีแต่รอยยิ้ม มีแต่ความสุขกลับไป อยากจะให้คนรุ่นใหม่มาช่วยกันคิดช่วยกันทำแบบเปิดกรอบ ไม่ติดในภาพเดิม  ๆ และการสร้างคนดีจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย

 

*****************************

Leave a Reply