เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ตามที่พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้นำคณาจารย์ประจำหลักสูตรและนิสิตหลักสูตรสันติศึกษา ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน “โคกหนองนาโมเดล” ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติจังหวัดสุรินทร์ ภายใต้การดำเนินการของพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ และวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา หลักสูตรได้นิมนต์พระอาจารย์สังคมบรรยายออนไลน์ เรื่อง”สันติภาพลงดินที่กินได้ พุทธจริยศาสตร์กับโคกหนองนาโมเดล” ภายใต้วิชาพุทธจริยศาสตร์เพื่อสันติภาพ ให้ความรู้กับนิสิตปริญญาเอกรุ่น 4 เพราะแนวทางการพัฒนาโคกหนองนาโมเดลเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและจิตใจ
ดร.พระปราโมทย์ วาทโกวิโท อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า พระอาจารย์สังคมนั้นเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาเอาธรรมลงไปทำอย่าแท้จริง โดยมีพื้นที่กสิกรรมธรรมชาติ ธนาคารน้ำ เพื่อเรียนรู้การดำเนินการเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดล สอดรับกับ แนวคิดของสันติภาพลงดินสันติภาพกินได้ ถือว่าเป็นนักสันติภาพอาหารจิตใจและอาหารกายในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข
พระอาจารย์สังคมได้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะในสถานการณ์ของโควิดในปัจจุบันยังไม่หายไปจากสังคมไทยแต่จะมีอะไรมากกว่าโควิดขึ้นมาอีก เพราะระบบธรรมชาติของเราล้มสลาย ทำลายจนไม่มีอะไรปกป้องมนุษย์อีกต่อไป
“เราจึงต้องเตรียมตัวให้ดีอย่าได้ประมาท เราต้องสร้างประกันชีวิตให้กับตนเอง ด้วยการใช้กลับมาอยู่กับธรรมชาติ เราต้องการเพียงปัจจัยสี่ แต่ปัจจัยสี่ล้มสลาย ทำไมเราจะต้องทำงาน 8 ชั่วโมงเพื่อซื้ออาหาร ทำไมเราจะต้องทำงานตลอดชีวิตที่จะอยากมีความสุข เราต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตนเอง เราต้องชวนคนกลับมารากฐานของตนเองให้มั่นคง ด้วยการอยู่กับธรรมชาติ เราต้องมาสร้างอาหารด้วยตนเอง สร้างระบบอาหารใหม่ สร้างระบบสุขภาพ ธรรมชาติคืนมาชีวิตเราจะกลับคืนมา ในปัจจุบันเราทำงานหนักเพื่อรับใช้ระบบเงิน จนตนเองจะต้องเจ็บป่วยไม่ได้หลับนอนไม่ได้อยู่กับครอบครัว ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า ความรุนแรง ตัวเราจะต้องมีความสุขก่อน ถ้าเรายังรักตนเองไม่ได้เราก็รักสิ่งอื่นไม่ได้ แต่ละท่านอาจจะมีการประกอบอาชีพต่างๆ แต่เราต้องมีรากที่มั่นคง จะทำให้เราใจเต็มเปี่ยมมีความสงบสุขร่มเย็น”ดร.พระปราโมทย์ กล่าวและว่า
ในสถานการณ์โควิดทำให้เรากลับมาพึ่งตนเองให้มากที่สุด ทำในชนบทกับคนในเมืองมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน คนเมืองควรจะเชื่อมกับคนในชนบท รวมกันเป็นสหกรณ์ของคนเมืองแล้วเชื่อมกับคนชนบทเพื่อเชื่อมโยงอาหารอินทรีย์ จึงเห็นว่าการพึ่งกันคือพึ่งกันเอง เราต้องกลับมาสร้างระบบใหม่ ธรรมชาติให้เรากลับมาคิดว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง ชีวิตออกแบบได้ อย่าปล่อยให้พรหมลิขิต อย่าปล่อยว่าเป็นกรรมของเรา
ดังนั้น การทำโคกหนองนาโมเดลทุกคนสามารถทำได้ ด้วยการตระหนักว่า จงสร้างประกันชีวิตให้กับตนเอง ทำงานหนักเพื่อได้เงินจนตนเองเจ็บป่วย รักตนเองไม่ได้เราจะรักสิ่งอื่นไม่ได้ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ไม่รู้จักพอ เรียนจบปริญญาเอกเรายังทานอาหารขยะด้วยราคาแพง โควิดเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการใช้ชีวิต มนุษย์ใช้ความรุนแรงกับธรรมชาติ ยึดครองอาหารได้ยึดครองทั้งโลก ชีวิตเราไม่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร ชีวิตที่ขาดอิสรภาพทำให้มีความทุกข์ อธิปไตยทางอาหาร สร้างอาหารปลอดสารพิษ จงพึ่งตนเองให้มากที่สุด คนเมืองต้องเชื่อมกับคนชนบทด้านอาหารอินทรีย์ การพึ่งกันคือพึ่งกันเอง กลับมาสร้างระบบใหม่ทางด้านอาหาร ชีวิตออกแบบได้อย่าปล่อยให้พรหมลิขิต ชีวิตปกติใหม่ต้องพึ่งตนเองได้
เราไม่วิกฤตอาหารแต่เราวิกฤตทางความคิด ชีวิตมันต้องง่าย อย่าทำงานหนักจนป่วยเพื่อหาเงินซื้ออาหารขยะ มนุษย์ที่ทำงานในออฟฟิคไม่ใช่ผู้ที่ฉลาดที่สุด ในหนึ่งวันมีกี่นาทีที่เรายังหายใจอยู่ อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตสั้นๆ สุขภาพสำคัญทำไมยังต้องทานอาหารขยะ ชีวิตมนุษย์ต้องการเพียงปัจจัยสี่เท่านั้น ซื้อเพราะชอบเป็นอารมณซื้อเพราะจำเป็นคือสติ ลดความรุนแรงกับธรรมชาติ ระบบธรรมชาติล้มสลาย ในที่สุดมนุษย์ต้องหันมาสร้างสันติภายใน มนุษย์ไม่ได้ต้องการเงินแต่มนุษย์ต้องการอาหาร เราให้เงินควบคุมชีวิตเรา เงินไม่ใช่ความมั่นคงของชีวิต ความมั่นคงภายในคือพึ่งพาตนได้ด้วยปัจจัยสี่ ฝึกให้พึ่งเงินจนเราต้องกลัวมีเงินไม่มี อาหารคือสิ่งที่มั่นคงที่สุดในชีวิต ความรักความสงบความสุขคือสันติภาพ การผลิตอาหารคือการดูแลดินน้ำให้มีคุณภาพ การสร้างสันติภาพต้องเริ่มต้นจากดิน เราใช้ความรุนแรงกับธรรมชาติ ความรุนแรงกระจายไปทั่วโลก เมื่อคิดว่าเงินไม่ใช่ความมั่นคงจะสงบสุข ทุกการเคลื่อนไหวของมนุษย์คือการทำลายล้าง ใช้ความรุนแรงแสวงหาผลประโยชน์ ระบบธรรมชาติล้มสลาย
“ในโอกาสนี้พระมหาหรรษาจึงมุ่งเตรียมพร้อมให้กับนิสิตในการพัฒนาพัฒนาโคกหนองนาโมเดล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและจิตใจต่อไป” อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา กล่าว
Leave a Reply