“เจ้าคุณประสาร”ย้อนอดีตส่องอนาคตถอดรหัสทางรอด“มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย” เช้าวันมาฆบูชา วันนี้ (26 ก.พ.64) พระเมธีธรรมาจารย์, รศ. ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊ก พูดถึงสถานการณ์มหาวิทยาลัยสงฆ์ในสถารณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ มหาวิทยาลัยของไทยในปัจจุบันกำลังประสบปัญหามากมายทั้งในแง่ทรัพยากรบุคคล ประชากร งบประมาณ เทคโนโลยี นวัตกรรม วิจัย และสถานการณ์เฉพาะหน้า สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยมี 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2430 เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง(อุดมศึกษา) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2436 เพื่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทั้งสองมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทั้ง 2 นิกาย โดย มหาจุฬาฯ หรือ มจร ในฝ่ายมหานิกายนั้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ส่วนมหามกุฏฯ หรือ มมร ในฝ่ายธรรมยุติกนิกายนั้นเพื่ออนุสรณ์แก่พระราชบิดา เมื่อคราวที่พระปิยมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) นั้นพระองค์มีพราราชภารกิจที่สำคัญ 3 ประการคือ 1.ปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้อยู่ดี มีสุข 2.พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า 3.ทำทุบำรุงและอุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยและพยายามทุกวิถีทางที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงเสด็จประภาสยุโรปหลายครั้งหลายคราเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ให้ฝรั่งมังค่าเห็นว่าสยามประเทศนั้นไม่ได้ล้าหลัง ป่าเถื่อน นอกจากนั้นยังเป็นจิตวิทยา เป็นการทำแบบทำเนียมฝรั่ง รักษาดินแดนและดูบ้านดูเมืองเขาเพื่อกลับมาพัฒนาประเทศของตน ในยุคสมัยของพระองค์จะเห็นได้ว่าสยามประเทศนั้นได้พัฒนาไปมากทั้งด้านการศึกษา การทหาร สาธารณสุข สาธารณูปโภคและอื่นๆอีกมากมาย เมื่อพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าแล้วพระองค์ก็ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล (จกฺขุมา) ว่าแล้วคณะสงฆ์จะอยู่อย่างไร การศึกษาสงฆ์จะพัฒนาไปได้อย่างไร จะช่วยกันสืบทอดพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงได้อย่างไร พระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระองค์ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้วก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ” ดังนั้นพระองค์จึงมีลายพระราชหัตถเลขา ในการสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งด้วยพระองค์เอง ในรอบศตวรรษที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด เพราะกฎหมายหรือพระราชบัญญัติสมัยพระองค์ที่ทรงร่างไว้นั้นยังไม่ทันประกาศใช้ เป็นกฎหมายการบริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและจะช่วยการศึกษาสงฆ์ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและทั่วโลก และนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงพระราชอุทิศอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย (ตึกถาวรวัตถุหรือตึกแดงภายในวัดมหาธาตุด้านสนามหลวง)ถวายเป็นอาคารเรียนของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.2453 พระปิยมหาราชทรงสวรรคต บ้านเมืองเปลี่ยนผ่าน ทำให้การศึกษาของคณะสงฆ์ในรูปแบบมหาวิทยาลัยต้องพลอยได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไปด้วย ไม่มีการจัดการศึกษา ไม่มีพรบ.รองรับ ไม่มีอาคารเรียน ตึกแดงสร้างยังไม่แล้วเสร็จกระเบื้องที่สั่งมาจากจีนผิดพลาด กาลต่อมาตึกแดงกลายเป็น”หอสมุดวชิรญาณสำหรับพะนคร” ปัจจุบันตึกแดงเป็นอาคารหอสมุดเและเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมศิลปากร แต่อยู่ในที่ดินภายในวัดมหาธาตุ เรื่องนี้เป็นข้อพิพาท เป็นมหากาพย์อันยาวนานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นพระนิสิตมหาจุฬาฯเคยเดินขบวนประท้วงเรียกร้องคืนตึกแดงมาแล้วในนาม “กลุ่มเรียกร้องคืนตึกแดง” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ วันนี้วัดมหาธาตุยังคงพยายามในเรื่องนี้ต่อไปเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จนกว่าจะประสบความสำเร็จ พ.ศ.2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์)ทรงสนับสนุนพระมหาสุชีพ สุชีโว (สุชีโวภิกขุ) พระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษได้ร่วมกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายจัดการเรียนการสอนขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากที่พระมหาสุขีพ สุชีโว มาขอใช้สถานที่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร (แต่เดิมนั้นจัดการเรียนวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาการสมัยใหม่ที่วัดกันมาตุยาราม )ในนาม สภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย ในรูปแบบมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2488 โดยพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุรูปทึ่ 15 นำพระมหาเถระ 57 รูปเจริญชัยมงคลคาถาที่ตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุ ประกาศเปิดการเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2490 ณ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฏิ์ ในนาม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฝ่ายมหานิกาย ในรูปแบบมหาวิทยาลัย โดยเปิดคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก และมีนิสิตเริ่มแรก 8 รูป จะเห็นได้ว่า เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงสวรรคตการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่ได้สืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ ซึ่งถ้าไม่มีพระมหาเถระที่มองการณ์ไกล หัวก้าวหน้า ล้ำสมัย ก็ยากจะมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ในวันนี้ ระยะเริ่มแรกจัดการจัดศึกษาถูกดูหมิ่นดูแคลนว่าเป็นมหาวิทยาลัยเถื่อน ปริญญาเถื่อน ผู้บริหารก็ต้องอดทน ก้มหน้าก้มตาทำเพื่อคณะสงฆ์และคุณภาพของพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ส่วนบัณฑิตนั้นเมื่อจบแล้วต้องไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปในต่างประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา เป็นต้นเพราะเมืองไทยไม่มีการยอมรับปริญญาของทั้งสองมหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2512 มหาเถรสมาคม ประกาศให้การศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ พ.ศ.2527 รัฐบาลประกาศรับรองปริญญาบัตร แต่ไม่รับรองสถานะของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540 รัฐบาลสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ออกพระราชบัญญัติให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล สิ้นสุดการต่อสู้อันยาวนานเพื่อให้รัฐรับรองสถานะของมหาวิทยาลัย สถานการณ์ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยในหลากหลายปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ย่อมหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ในข้อนี้ มหาวิทยาลัยสงฆ์จะปรับตัวอย่างไร จะเดินหน้าแบบใหน จึงจะยังคงคุณค่าและรักษาสถานะให้มั่นคงไว้ได้ เพราะปัญหาต่างๆนั้นมีมากมาย ให้บริหาร จัดการ เช่น 1.ประชากรลดลง ปัจจุบันประชากรทั้งในประเทศและทั่วโลกต่างลดลงตามลำดับ คนชรามีมากขึ้น ศาสนทายาทหายากขึ้นทุกที นั่นย่อมหมายถึงจำนวนผู้เรียนจะหายากขึ้นทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ 2.โลกยุคโควิด-19 เปลี่ยนไป ทำให้วิถีแห่งการเรียน การสอน ถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย นิสิต นักศึกษานั่งนอนอยู่บ้านแต่สามารถพบศาสตราจารย์ชั้นนำในมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก แปลว่า คู่แข่งขยายวงกว้างมากขึ้น แนวรบทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้น 3.รายได้จากรัฐลดลง เฉพาะในเมืองไทยชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยที่ขอรับงบประมาณจากรัฐ จะมีสัดส่วนที่จะต้องถูกลดงบประมาณลงมีความเป็นไปได้สูง 4.รายได้ในส่วนของมหาวิทยาลัยถดถอย แน่นอนเมื่อผู้เรียนลดลง การแข่งขันมากขึ้น เศรษฐกิจฝืดเคือง รายได้จากการจัดเก็บ การบริจาค และผลประโยชน์อื่นไดก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยเข่นกัน 5.แบกรับภาระเพิ่มมากขึ้น ทั้งภาระค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัย ทั้งภาระคือความคาดหวังจากภาครัฐและคนทั่วไปในด้านศักยภาพ การบริการและการพัฒนา 6.ลูกผสมมีมากขึ้น แต่เดิมมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งมีเฉพาะพระสงฆ์สามเณรเท่านั้นที่มาศึกษาเล่าเรียน ส่วนผู้บริหารนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ ปัจจุบันนิสิต นักศึกษา มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ หลากหลายทั้งเพศ อายุ ความเชื่อและการแสดงออกในฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยนั้นก็เช่นกัน มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เดิมนั้นทั้งสองแห่งเป็นการบริหารแบบครอบครัว คือจบ พธ.บ. มาบริหารมหาจุฬาฯ จบ ศน.บ.มาบริหารมหามกุฏ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีบุคคลากรที่จบมาจากสถาบันอื่นๆมาอยู่ในองค์กรและรวมทั้งเป็นผู้บริหารในสัดส่วนที่มีมากขึ้น เมื่อเป็นลูกผสมก็จำต้องระมัดระวังในเรื่องผลประโยชน์ ทิศทางในการดำรงสถานะของความเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมทั้งเรื่องของความสามัคคีด้วย 7.เทคโนโลยีสารสนเทศ แน่นอนวันนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ต้องวิ่งแข่งขันในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ก็เนื่องด้วยงบประมาณที่ได้รับค่อนข้างจำกัด รายได้ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีไม่มากนัก จะประยุกต์ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพจะตอบสนองผู้เรียนอย่างไรให้พึงพอใจและจะวิ่งแข่งกับมหาวิทยาลัยอื่นๆอย่างไร 8.งานวิจัย เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยในทั่วโลก แต่สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์จะมีทิศทางในการวิจัยอย่างไร เช่นการผลิตนักวิจัยอย่างมืออาชีพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อตอบโจทย์สังคมปัจจุบัน เป็นต้น 9.นวัตกรรม จะกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยเฉพาะนวัตกรรมด้านพระพุทธศาสนาเพื่อสนองตอบสังคมอย่างไร รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแนวคิดของผู้คนทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้เดินก้าวไปด้วยกัน หายใจเป็นจังหวะเดียวกันและมีเป้าหมายที่ตรงกันอย่างไร 10.แหล่งผลิตและศูนย์รวมแห่งศีลธรรม ในฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องชัดและประจักษ์ในเรื่องศีลธรรม ทั้งในทางการบริหาร บุคลากร และบัณฑิตที่ผลิตออกไปสู่สังคม รวมทั้งที่ว่า คิดอะไร สนใจแบบใหน ในทุกหลักสูตร ทั้งระดับประกาศนียบัตร เกียรติบัตร การฝึกฝนอบรม การเรียนการสอนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หรือจะต้องการเรียนหลักสูตรอย่าง วปอ. สถาบันพระปกเกล้า ในด้านที่เกี่ยวกับศีลธรรม หรือในเรื่องบุญในเรื่องกุศล ผู้คนจะต้องคิดถึงสองมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้เท่านั้น 11.มหาวิทยาลัยเปิดกว้าง ขณะนี้มหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลกกำลังปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยสงฆ์จะ Block Course ต่อไปคงลำบาก จะต้องขยับเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังเพื่อความอยู่รอด 12.ความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นผู้บริหารจะต้องเปรียบประหนึ่งว่าเป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ในการเข้ามาบริหารการศึกษาในส่วนนี้ ขณะเดียวกันคณะสงฆ์ เจ้าคณะผู้ปกครองก็ต้องคิดเช่นเดียวกัน และควรให้การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อพระราชปณิธานของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 จะบรรลุผล 13.เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ในทั่วโลก วันนี้ในทั่วโลกมีทั้งคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทและมหายาน ทั้งในประเทศเพื่อนบ้านและห่างไกลออกไป มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะต้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง และถูกไว้วางใจเพื่อเป็นตัวแทนในการจัดการศึกษาในฐานะมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลกของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายใหญ่ เพื่อขยายมหาวิทยาลัยให้เป็นสากลมากขึ้น มหาวิทยาลัยสงฆ์ยุคเริ่มแรกนั้น อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ดูเหมือนมหาวิทยาลัยสงฆ์จะตกอบ ไม่มีอนาคตและหาผู้สืบทอดยาก เมื่อตกมาถึงยุคที่เริ่มมีการเรียนการสอนผู้บริหารต้องต่อสู้ด้วยมือเปล่าและเสียสละท่านต่อสู้เพื่อให้ได้รับการ “ยอมรับ”ทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์เมื่อมีสถานะต่าง ๆที่พึงมีพึงได้แล้วก็ต้องต่อสู้กับตัวเองให้มากขึ้น การพัฒนามหาวิทยาลัย การพัฒนาบุคคลากรเพื่อให้ถูกทิศถูกทางและในขณะเดียวกันต้องสนองตอบสังคมเทคโนโลยีให้ได้ประสิทธิภาพขั้นสูง ในส่วนของเป้าหมายนั้นแน่นอนว่ามหาวิทยาลัยจะต้องมีอะไรอีกหลายอย่างรวมทั้งเป้าหมายคือพันธกิจและวิสัยทัศน์ให้จัดเจน จับต้องใด้และก็เดินไปให้ถึงภายในระยะเวลาที่กำหนดและทันท่วงที… จำนวนผู้ชม : 291 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “ปลัดเก่ง”ลงพื้นที่อำเภอแม่ริม สำรวจพื้นที่จัดทำฝายชะลอน้ำ เน้นย้ำ น้อมนำพระราชปณิธาน “แก้ไขในสิ่งผิด” อุทัย มณี ก.พ. 12, 2024 วันนี้ (12 ก.พ. 67) เวลา 13.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ นายสุทธิพงษ์… “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข “ปลัด มท. ลงพื้นที่แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชนบนเกาะสีชัง สนองพระราชดำริ อุทัย มณี ก.ย. 05, 2024 วันนี้ (5 ก.ย.67) เวลา 08.30 น. ที่โครงการพัฒนาพื้นที่เกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง… พุทธเวียดนาม (1) อุทัย มณี ม.ค. 24, 2022 วันที่ 24 ม.ค.64 พุทธเวียดนามตอน 1 เขียนโดย คุณนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย… นายกสมาคมไวยาวัจกร “ไม่กลัวนรก” จับพิรุธ “น้องไนซ์” เด็กมีของ “นักบุญ หรือพวกลวงโลก” อุทัย มณี พ.ย. 17, 2023 วันที่ 17 พ.ย. 66 วานนี้ รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น… วิศวกรมะกันทำแอปพลิเคชันฝึกสมาธิ ชาวผิวสีพื้นเมืองนิยมใช้บริการเพียบ อุทัย มณี ส.ค. 16, 2019 วันที่ 16 สิงหาคม 2562 เพจ Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies-ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร… เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปี 2518 พระอาจารย์ฝั้น-หลวงปู่ทิมปลุกเสก อุทัย มณี พ.ย. 06, 2019 เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างโดย ค่ายตากสินมหาราช จ.จันทบุรี มี 4… “วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้ เพราะไม่มีโฉนดที่ดิน อุทัย มณี ม.ค. 26, 2024 วันที่ 26 มกราคม 2567 วานนี้เวลา 10.00 น. ที่ศาลาหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี… กกต.ประกาศรับรอง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 26 พรรค 149 คน ‘ธนาธร’รอด อุทัย มณี พ.ค. 08, 2019 เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 8 พ.ค.2562 นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง… ฝากการบ้านพรรคเพื่อไทย ด้าน“พระพุทธศาสนา” อุทัย มณี ก.ย. 04, 2023 ตอนนี้หลายคนตั้งคำถามว่า “พรรคเพื่อไทย” มีนโยบายด้านศาสนาหรือพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง… Related Articles From the same category มติ มส. มอบตำรวจพระจัดการเรื่อง “พระบิณฑบาตไม่เหมาะสม : ฝ่าฝืนบ่อยจับสึกได้” เมื่อวานนี้ (10 ส.ค.63 ) ณ พระตำหนักจันทร์ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร… รับซื้อกะลาใบละ ๓๐๐,๐๐๐! บาท เลขาสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยสะสม ๓๐ ปี ๑,๐๐๐ ลูก พ.ต.ท. ระพิน ชาติไทย เลขาสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย… ที่ประชุม กบป.เห็นชอบให้เสนองบประมาณและอัตรากำลังตาม พ.ร.บ.พระปริยัติธรรม เมื่อบ่ายวันนี้ (29 ม.ค.64) ณ สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง… พระมหาเปรียญอยุธยาวางตำรา..ออกโรงทานเคลื่อนที่เดลิเวอรี่ การออกโรงทานตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช ของวัดและคณะสงฆ์… กมธ.ศาสนาฯสภาฯยื่นจดหมดเปิดผนึก “สละสมณเพศไม่ได้แปลว่าสึก” ถวายสมเด็จพระสังฆราช วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2564 ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา…
Leave a Reply