ปลัดมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่ “จังหวัดพะเยา” เน้นย้ำ ผู้นำที่ดี ต้องมีหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ วันที่ 5 ส.ค. 66 เวลา 10.00 น. ที่ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยมี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจ กรมที่ดิน นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นายบำรุง สังข์ขาว นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ว่าที่ร้อยตรี กรกฎ ประเสริฐวงษ์ ว่าที่เรืออากาศตรีสมภพ โชติษฐยางกูร หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพะเยา หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 9 อำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นางสุมิตรา กัณฑมิตร นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา นายกมลสันต์ ศรีวิราช ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคีเครือข่าย กว่า 500 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และพี่น้องชาวมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดพะเยาที่ได้ให้เกียรติมาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองการทำงาน ซึ่งผมตั้งใจจะไปให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศก่อนเกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ต.ค. 67 เพราะผมมีความปรารถนาที่จะปลุกเร้า Passion ของพวกเราชาวมหาดไทยทุกคนให้รำลึกนึกถึงวันแรกของการเริ่มต้นหลังจากสมัครเข้ารับราชการที่มุ่งหมายจะทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขที่ยั่งยืน ความทุกข์ลดลงจนหมดไป ซึ่ง การที่จะทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขได้นั้น “ใจสำคัญ” ต้องมี “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ใจของพวกเราทุกคนต้องเป็นใจของนักปกครองที่อยากจะปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายให้กับพี่น้องประชาชน อยากช่วยเหลือพี่น้องประชาชนมีความสุข อยากเห็นประเทศเราอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ผู้คนมีความรู้รักสามัคคี ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาการคลอดก่อนกำหนด และทุกปัญหาได้รับการแก้ไขจนหมดไปอย่างยั่งยืน “พวกเราทุกคนตั้งใจ ไม่งั้นไม่มาเป็นข้าราชการมหาดไทย หรือมาสมัครรับเลือกเป็นผู้นำท้องที่ สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุขร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ และข้าราชการมหาดไทยทุกคน ทุกตำแหน่ง เพราะเรามุ่งหวังว่าเราอยากทำงานช่วยเหลือประชาชน เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งคนจบนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อเรียนจบมาแล้วก็อยากเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด อยากเป็นนายอำเภอ เพราะเราอยากเป็นข้าราชการที่ดีผู้ช่วยเหลือประชาชน ผู้พัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน พัฒนาประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่ง เฉกเช่นเดียวกับท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่มาเป็นเพราะอยากช่วยเหลือญาติมิตรที่อยู่ในหมู่บ้านของท่าน ทั้งนี้ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญและเหลียวแล หนุนเสริมกำลังใจให้กับท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเสมอมา นับแต่ครั้งบรรพบุรุษของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในรัชสมัยล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ค้นหา “คนที่มีจิตอาสา เสียสละ เป็นที่เคารพรักของประชาชน” มาเป็น “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” เพราะประชาชนเชื่อมั่นว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือ ผู้นำที่จะเป็นที่พึ่งในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนได้ ซึ่งนับเนื่องตั้งแต่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้มีพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 109 ปี หลักการของประเทศไทยไม่เคยเห็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนมีเงินเดือน แต่สังคมไทย “ยกย่องนับถือว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ เป็นราชสีห์ผู้มีความภักดีของแผ่นดิน เป็นคนที่ประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบลพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือดูแลป้องกันเหตุเภทภัย บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน” ไม่มีข้าราชการมหาดไทยคนไหนไม่ให้ความสำคัญกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะชีวิตของข้าราชการมหาดไทยพึ่งพากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งการทำงาน อาหารการกิน ที่พักอาศัย เวลาไปราชการในพื้นที่ เรากินข้าวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวต่ออีกว่า สิ่งสำคัญของการทำงานที่เป็นหัวใจของการปฏิบัติราชการคนมหาดไทยนั้น คือการน้อมนำพระโอวาทของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีที่ว่า “ต้องทำงานให้รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด” ซึ่งหมายถึงต้องหมั่นลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียนไปพบปะไปเข้าหาพี่น้องประชาชน แต่ปัจจุบันปลัดอำเภอ พัฒนากร และข้าราชการมักทำงานแบบยกหูโทรหานายก อบต. โทรหากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบลได้แต่นั่งรถผ่านพื้นที่แต่ไม่แวะลงไปพูดคุยกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน มีลักษณะการทำงานเป็นมนุษย์ office มากขึ้น ส่งผลให้เกิด Gap เกิดช่องว่างระยะห่างของพวกเราที่เป็นข้าราชการกับท่านผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ภาควิชาการ ครูที่โรงเรียน ผู้นำศาสนา ตุ๊เจ้าที่วัด ทำให้ประโยคที่ว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ดังพุทธพจน์ “วิสฺสาสปรมา ญาตี” มันลดลงจนหายไป จึงขอย้ำว่า “หัวใจของความมั่นคงของชาติอยู่ที่พวกเราชาวราชสีห์ทุกคน” ความสำเร็จของการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อยู่ที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยมีข้าราชการมหาดไทยทุกคนเป็นผู้นำที่ต้องรับผิดชอบภาระงานของทุกกระทรวง ทุกกรม เพราะเป้าหมายงานทุกกระทรวงอยู่ที่พี่น้องประชาชน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากที่สุดเป็นกำลังสำคัญ “ถ้าข้าราชการทุกคนทำงานจนรองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด มุ่งมั่นทำงานในลักษณะใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน หรือที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้หลักการทำงานว่า “ต้องเข้าใจ ต้องเข้าถึง แล้วจึงพัฒนา” ไม่ทำงานเป็นหอคอยงาช้าง พัฒนาบนพื้นฐานที่ไม่สอดคล้องกับภูมิสังคม บนพื้นฐานฐานข้อมูลที่ผิดพลาด และจงภาคภูมิใจว่า พวกเราได้ทำจริง ๆ เพราะทั่วประเทศ “คนมหาดไทยทุกคนสำคัญ” โดยเฉพาะข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบล ที่ต้องทำงานเชิงรุก ต้องทำงานอย่าง Active ได้แก่ รุกที่ 1 คือ ข้าราชการทุกคนต้องให้ความสำคัญในการลงพื้นที่ไปหาประชาชน โน้มตัวเข้าหาประชาชนแบบลูกหลาน แบบญาติมิตร ไม่ใช่ไปแบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งต้องตระหนักในใจเสมอว่า ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือ ญาติ คือ Key Success ที่จะทำให้การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชนประสบความสำเร็จ ด้วยการสร้างความเป็นญาติ ซึ่งปลัดอำเภอทุกคนต้องกินข้าวที่บ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ จะต้องสนิทสนมคุ้นเคย จึงจะไปกินข้าวที่บ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ “ผู้ว่าฯ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการทุกคน จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งทั้งงานนโยบายทุกกระทรวง งานฟังก์ชันตามกรม กระทรวงที่สังกัด รวมถึงงานพื้นที่ ที่ต้องเป็น “ผู้นำต้องทำก่อน” ต้องเป็นผู้นำต้นแบบจนวินาทีสุดท้ายของชีวิตราชการ” รุกที่ 2 คือ การสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น โครงการพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมุ่งมั่นสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีเป้าหมายที่ปลายน้ำ คือ พี่น้องประชาชนผู้ประกอบการ ช่างทอผ้าในทุกถิ่นที่ชนบท ได้มีการมีงานทำมีเงินทองจุนเจือเลี้ยงดูชีวิตและครอบครัวให้มีความสุขอย่างยั่งยืน และเป็นเครื่องกำหนดถึงความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่มของชาติ ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีได้ร่วมกันทำงาน Change for Good สร้างสิ่งที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยการน้อมนำพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ด้วยการเริ่มที่ครัวเรือน มีการแบ่งกลุ่มบ้านเป็นป๊อกบ้าน หย่อมบ้าน กลุ่มละ 10-20 ครัวเรือน ดูแลช่วยเหลือเกื้อกูล ปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร ทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการจัดกิจกรรมสร้างความรัก ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการจัดเวรดูแลชีวิตความเป็นอยู่คนในหมู่บ้าน ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้จะเข้มแข็งได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งทรงสรุปจากการปฏิบัติพระราชกรณียกิจผ่านโครงการพระราชดำริ 4,741 โครงการไว้ว่า จะต้อง 1) เปิดเวทีพบปะพูดคุยอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 1 ปี 2) ร่วมคิด ร่วมพูดคุย ร่วมเสนอแนะ 3) ร่วมลงมือทำ และ 4) ร่วมรับประโยชน์ “ความสุขอย่างยั่งยืนจึงจะเกิดขึ้น”” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ จากนั้น คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา และตัวแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานตามนโยบายและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุงเจริญ กล่าวในช่วงท้ายว่า การทำงานทุกอย่างจะประสบความสำเร็จ ต้องมี “การสื่อสาร” ซึ่งการสื่อสารที่ดีจะเกิดขึ้นได้ ผู้นำทุกคนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่พวกเราทำ ในเรื่องที่พวกเราจะไปสื่อสาร และต้องมีการข่าว ได้รับการสื่อสารทุกเรื่องในพื้นที่ ต้องมี “หัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ)” ด้วยการคิดและทำความเข้าใจเนื้องานในเชิงลึกอย่างกว้างขวางรอบด้าน และต้องสร้างทีมงานแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ทั้งทีมจังหวัด ทีมอำเภอ ทีมตำบล ทีมหมู่บ้าน ที่ต้องบูรณาการคน (ทีมงาน) บูรณาการเนื้องาน (ฟังก์ชัน) เพื่อจะได้มีข้อมูลและกำหนดแนวทางการทำงาน การแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทำงานแบบ RER ทั้งหน้าที่ประจำ (Routine Job) งานนโยบายพิเศษเพิ่มเติมที่ไม่ใช่หน้าที่ประจำ (Extra Job) ที่เกี่ยวพันกับ Routine Job และต้องมีการรายงานความก้าวหน้าของงาน (Report) ทั้งต่อผู้บังคับบัญชาและสาธารณชน อันจะส่งผลทำให้สิ่งที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ UN Thailand “1 จังหวัด 1 คำมั่นสัญญา เพื่อความเท่าเทียม และการพัฒนาที่ยั่งยืน” อันเป็นความมุ่งมั่น (Commitment) ที่พวกเราต้องการให้เกิดการ Change for Good ให้กับพี่น้องประชาชนเกิดขึ้นได้ เพราะเป้าหมายสูงสุด คือ เกิดประโยชน์สุขที่ยั่งยืนกับประชาชน จำนวนผู้ชม : 22,515 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author รัฐมนตรีคนไหน!! เหมาะสมคุมสำนักพุทธ ฯ ในสายตา “เจ้าคุณประสาร” อุทัย มณี พ.ค. 01, 2024 วันที่ 1 พ.ค. 67 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ "เจ้าคุณประสาร" ในฐานะเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย… “เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” อุทัย มณี ต.ค. 30, 2021 “เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน… ที่ปรึกษารัฐมนตรี ฯ ประชุมร่วมสำนักงานพุทธฯ เร่งงาน ร.ร.พระปริยัติธรรม -พระคิลานุปัฎฐาก -Smart Card ป้องกันพระปลอม!! อุทัย มณี ต.ค. 31, 2023 วันที่ 31 ตุลาคม 2566 วานนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ … ‘AI’มุมมอง’ทองย้อย แสงสินชัย’ ชอบคำว่า ‘สมองกล’มากกว่า’ปัญญาประดิษฐ์’ อุทัย มณี ส.ค. 18, 2019 วันที่ 18 สิงหาคม 2562 นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย อดีตผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์… นายอำเภอรัตนบุรีนำคณะลงพื้นที่บ้านบะฮีตำบลเบิด เยี่ยมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดูฐานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อุทัย มณี มิ.ย. 15, 2021 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอรัตนบุรี… “นิยม” ถาม “ประยุทธ์” ตอบ 3 ประเด็น : สำนักพุทธ ฯ ถูกครอบงำจากบุคคลภายนอกหรือไม่?? อุทัย มณี มี.ค. 01, 2022 วันที่ 1 มีนาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกระทู้ถามของ… ปลัด มท. ปลื้มการเเข่งขันกีฬาเยาวชน ชี้เป็นช่องทางให้เด็กและเยาวชนได้เเสดงความสามารถและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ พร้อมเน้นย้ำ ต้องตั้งใจทำหน้าที่เรียนหนังสือควบคู่การเล่นกีฬา อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2022 วันที่ 11 ธ.ค. 65 วานนี้ ที่สนามฟุตบอล ขุนศึกสระบุรี สเตเดี้ยม… “สำนักงานพุทธอยุธยา” เร่งสำรวจความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ ให้แก่ “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ” อุทัย มณี ม.ค. 26, 2022 วันที่ 26 ม.ค. 64 มีรายงานว่า ขณะนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอความร่วมมือหัวหน้าส่วนราชการ… ภริยารองนายกฯกัมพูชา เข้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่ “เจ้าคุณประสาร” 8 ธ.ค.นี้ อุทัย มณี ธ.ค. 07, 2022 ภริยารองนายกฯกัมพูชา เข้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "เจ้าคุณประสาร"… Related Articles From the same category “พระพรหมสิทธิ -พระธรรมโพธิมงคล” เคียงคู่รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง พร้อมประกอบพิธีร่วมกัน ณ พระอุโบสถวัดสระเกศฯ วันที่ 9 กันยายน 2567 หลังจากมี พระบรมราชโองการ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม… เริ่มแล้ว “เทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ ๕” เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ เวทีการแสดง… สมเด็จพระมหาธีราจารย์เปิดโครงการ อบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ 26 https://youtu.be/C_wXKZP1uyI วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ที่อาคารวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระพุฒาจารย์… สุดยอด!! สำนวนศาลวินิจฉัยยกฟ้องคดี “ฐิตินาถ ณ พัทลุง” ฟ้อง “ผู้จัดการ” ชี้เจ้าตัวเอาหลักศาสนาพุทธมาหากินทั้งที่ไม่ได้ “เปรียญธรรม” ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง คดี "ฐิตินาถ ณ พัทลุง" ไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิต… ผอ.หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต “มจร” ถวายเครื่องครัวทำภัตตาหาร ถวายพระ-เณรเรียนบาลีวัดโมลี วันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต…
Leave a Reply