ส่องข้อมูล “มจร” ว่าด้วยจำนวนนิสิต “ในประเทศ-ต่างประเทศ” เพิ่มหรือลด?? “เปรียญสิบ” ทุกปีจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถาบันเรียนเดิมของตนเองคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ “มจร” อย่างน้อย 2 งาน คือ หนึ่ง งานวิสาขบูชาโลก ซึ่งงานวิสาขบูชาโลกนั้นถือว่าเป็นงานระดับชาติและโลก ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาไม่เฉพาะของ “มจร” เท่านั้นรวมถึงคณะสงฆ์และรัฐบาลไทย ประเทศไทยด้วย เพราะทุกปีจะมีประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการและประชาชน จากประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เดินทางมาร่วมประชุม 80 กว่าประเทศ รวมจำนวนคนแล้วไม่ต่ำกว่า 1,500 คน เจ้าภาพหลักก็คือ “มจร” เพราะ “พระพรหมบัณฑิต” อุปนายกสภา มจร เป็น..ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ส่วนงานที่สอง ที่ร่วมทำงานทุกปี เช่นกันคือ “งานประสาทปริญญา” ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 ธันวาคม 2566 รายละเอียดในวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2566 เป็นวันซ้อมใหญ่ทั้งภาคเช้าและบ่าย ส่วนวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ภาคเช้าผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโทและอภิธรรมบัณฑิต จะรับปริญญาบัตร จากผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช คือ “สมเด็จพระมหาธีราจารย์” ส่วนภาคบ่าย “สมเด็จพระสังฆราช” จะเสด็จมาประทานปริญญาบัตรให้แก่กลุ่มผู้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มเกียรติคุณ ปริญญาเอก และสถาบันสมทบ สำหรับนิสิตผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566 นี้ รวมทั้งสิ้น 4,628รูป /คน จำแนกเป็นปริญญาตรี 3,177 รูป/คน ปริญญาโท 990 รูป/คน และปริญญาเอก 461รูป / คน ใน 4,628 รูป/คนนี้ มีผู้ลงทะเบียนเข้ารับประทานปริญญาบัตรทิ้งสิ้น 3,108 รูป/คน แยกเป็นบรรพชิต 1,671 รูป และคฤหัสถ์ 1,437 คน อันนี้ไม่นับรวมผู้มีชื่อเสียงทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ที่สภา “มจร” อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มเกียรติคุณ ซึ่งมาจากทั่วโลกอีก 117 รูป/คน โดยแบ่งเป็นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 74 รูป/คน และเข็มเกียรติคุณ 43 รูป/คน อันนี้ข้อมูลเบื้องต้น..อาจขาดหรือเกินจากนี้ในวันรับ “จริง” โดยเฉพาะข้อมูลของผู้รับ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มี “พระพรหมวชิราธิบดี” ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย “พระพรหมบัณฑิต” ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และมี “พระธรรมวัชรบัณฑิต” ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 คณะ ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย คณะพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มี 11 วิทยาเขต 30 วิทยาลัย 1 โครงการขยายห้องเรียน และ 1 หน่วยวิทยบริการ นอกจากนี้ ยังมีสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง มีจำนวนทั้งหมด 293 หลักสูตร โดยจำแนกเป็น ปริญญาตรี 170 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร ปริญญาโท 78 หลักสูตร ปริญญาเอก 43 หลักสูตร มีอาจารย์ทั้งหมด 1,351 รูป/คน จำแนกเป็นปริญญาโท 493 รูป/คน ปริญญาเอก 805 รูป/คน และมีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 473 รูป/คน จำแนกเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 348 รูป/คน รองศาสตราจารย์ 117 รูป/คน และศาสตราจารย์ 8 รูป/คน ผลิตผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ 1,276 เรื่อง มีนิสิตทั้งสิ้น 19,704 รูป/คน จำแนกเป็น ปริญญาตรี 14,246 รูป/คน ปริญญาโท 3,427 รูป/คน ปริญญาเอก 2,031 รูป/คน ในจำนวนนิสิตทั้งสิ้นมีนิสิตชาวต่างประเทศ 1,383 รูป/คน จาก 28 ประเทศ และใน 28 ประเทศนี้ โดยเฉพาะจากนิสิตจาก “ประเทศเมียนมา” มีชนชาติพันธุ์อีกหลายสิบชาติพันธุ์ที่มาเรียนที่ มจร เฉพาะชาติพันธุ์ “ไทใหญ่” มีผู้มาศึกษาที่ มจร มากกว่า 300 รูป/คน ยิ่งตอนนี้ “สถานการณ์การเมือง” ในประเทศเมียนมา “วุ่นวาย” มีข่าวว่า พระ-เณร สมัครมาเรียน “มจร” กันเป็นจำนวนมาก และไม่เฉพาะพระ-เณร เท่านั้น “คฤหัสถ์” ก็แห่มาเรียนกันเยอะเช่นกัน ตรงนี้ “มจร” ต้องเตรียมสถานที่รองรับให้ดี ทั้งเรื่องคุณภาพของผู้เรียนและสถานที่รองรับ “เปรียญสิบ” ดูสถิติย้อนหลังของจำนวนนิสิต “มจร” จากสำนักทะเบียนและวัด มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นปี 2562 มีจำนวน 18,420 รูป/คน ปี 2563 มีจำนวน 19,652 รูป/คน และปี 2566 มีจำนวน 20,346 รูป/คน ในขณะที่นิสิตต่างประเทศก็เช่นกันปี 2563 มีจำนวน 1,294 รูปคน จาก 28 ประเทศ ปี 2564 มีจำนวน 1,195 รูป/คน จาก 26 ประเทศ ปี 2565 มีจำนวน 1,383 รูป/คน จาก 28 ประเทศ จากสถิติดังกล่าว “มจร” ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนจำนวน “นิสิต-นักศึกษา” ที่มหาวิทยาลัยทั่วไทยกำลังเจอกับ “วิกฤติ” จำนวนนิสิตนักศึกษาที่ลดลง รวมทั้งจากสถิติข้อมูลดังกล่าว “มจร” กำลังส่งนัยว่า “มจร” ของเราต้องมีดี ส่วนจะมีดีอะไรนั้น แน่นอนเรื่อง คุณภาพการเรียน เรื่องค่าเทอม เรื่องบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนสำคัญไม่ใช่น้อย “เปรียญสิบ” เชื่อว่าตรงนี้คือ “เสน่ห์” ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงทำให้มีนิสิตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มจำนวนเรียนขึ้นทุกปี!! จำนวนผู้ชม : 781 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author แผ่นดินธรรมลงพื้นที่มหาชัยร่วมตักบาตรเนื่องในวันเด็ก อุทัย มณี ม.ค. 13, 2019 เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2562 นายบุณยติเลิศ สาระ รองหัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม… พระอาจารย์ชยสาโร มอบอาคารปฏิบัติธรรมแด่ ร.ร. ณ ประเทศอินเดีย อุทัย มณี ม.ค. 16, 2019 เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ที่โรงเรียน RAM MANOHAR LOHIYA… เหรียญ’มหาเศรษฐี’เจ้าพ่อยี่กอฮง เทพแห่งการเสี่ยงดวง โชค พนัน ผู้ที่แสวงหาอยากพึ่งบารมีขอพรจากท่าน อุทัย มณี พ.ค. 15, 2019 เหรียญเจ้าพ่อยี่กอฮง รุ่น มหาเศรษฐี เป็นอีกหนึ่งเหรียญ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้… ภาพแรก “ครูบาบุญชุ่ม” ออกจากถ้ำเมืองแก็ด หลังเข้ากรรมฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน อุทัย มณี ส.ค. 01, 2022 วันที่ 1 ส.ค. 65 วันนี้ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ออกถ้ำ หลังจากครบรอบ… ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯร่วมในพิธีชาวปกากะญอ 700 ครอบครัวแสดงตนเป็นพุทธมามกะกับ”กก.มส.” อุทัย มณี ธ.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม… อุบลฯ โชว์ “โคก หนอง นา วังอ้อโมเดล” และภารกิจ MOU ด้วยพลัง “บวร” ประจักษ์ต่อชาว อบจ.ชัยนาท อุทัย มณี ก.ย. 19, 2022 วันที่ 19 กันยายน 2565 วานนี้ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี… ตอบข้อสงสัย:ตำแหน่งและอัตรากำลัง“สำนักเรียน-สำนักศาสนศึกษา”ตาม พ.ร.บ.พระปริยัติธรรม’62 อุทัย มณี มี.ค. 03, 2021 เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระเทพเวที รักษาการเจ้าคณะภาค 6 ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการด้านศาสนศึกษา… “สมเด็จพระสังฆราช” ทรงนำสวดมนต์ทำวัตรเย็น เนื่องในวันวิสาขบูชา อุทัย มณี พ.ค. 23, 2024 วันที่ 23 พ.ค. 67 ค่ำวานนี้ เวลา 19.00 น. เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ… “วัดโมลีฯ” แชมป์สอบได้ประโยค ป.ธ. 9 จำนวน 25 รูป จากทัั้งหมด 76 รูป (เช็คชื่อผู้สอบได้ปธ.9) อุทัย มณี มี.ค. 30, 2024 วันที่ 30 มีนาคม 2567 ณ วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร มีการประกาศผลการสอบบาลีสนาม… Related Articles From the same category วัดพระธรรมกายจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายสมเด็จพระสังฆราช วาระคล้ายวันประสูติ 92 พรรษา วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562 พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร… มูลนิธิต่อต้านการทุจริตมอบรางวัลเกียรติยศ องค์กรดีเด่นด้านการต่อต้านการทุจริตแก่”มจร” วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร… “ณพลเดช” มองจิ๊บๆ! เจ้าคณะตบท้ายทอย-เท้ายันสามเณรนั่งหลับ ต่างประเทศโหดกว่านี้เยอะ ชี้คนแชร์ภาพด่าส่อผิดพรบ.คอมฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม… “ณพชเดช” จ่อเสนอ “รบ.” จัดทำบุญตักบาตร-บวช ครั้งใหญ่เอาบุญให้ประเทศ หลังน้ำท่วมใหญ่เชียงราย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2567 ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ดร.ณพลเดช มณีลังกา… ว่าด้วย..”สมมติเทพ” ช่วงนี้เกิดมีกระแสกรณีเจ้าอาวาส วัดฝายหิน ต.สุเทพ อ.เมือง…
Leave a Reply