พช.จันทบุรี ติดตามความก้าวหน้า “โคก หนอง นา พช.”

วันที่ 30 เมษายน 2564 ณ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบอำเภอท่าใหม่ และอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

นายอดิศร สุทธิเลิศ พัฒนาการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นายทชภณ คงวิจิตร ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และทีมนักวิชาการจังหวัด ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2564 และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยมีพัฒนาการอำเภอท่าใหม่ พัฒนาการอำเภอเมืองจันทบุรี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอและนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ทั้ง 2 อำเภอร่วมให้การต้อนรับและให้ข้อมูลในการติดตาม

โดยอำเภอท่าใหม่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 3 แปลง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดจันทบุรี งบกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564 จำนวน 3 แปลง และสำหรับอำเภอเมืองจันทบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดจันทบุรี งบกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564 จำนวน 10 แปลง

ในการนี้ พัฒนาการจังหวัดจันทบุรี และทีมงานได้ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 5 ราย ได้แก่

📌ครัวเรือนของนายวรวุฒิ ดวงมาลา ณ หมู่ที่ 4 ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (งบเงินกู้) โดยใช้พื้นที่ขนาด 3 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ พบว่า ครัวเรือนต้นแบบให้ความสนใจในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก และได้ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่โดยการรื้อถอนต้นยางพาราเก่าออก เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานขุดปรับพื้นที่ตามโครงการฯ

📌ครัวเรือนของนายปรารมย์ โอภาโส หมู่ที่ 5 ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (งบเงินกู้) โดยใช้พื้นที่ขนาด 1 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ พบว่า เป็นพื้นที่ราบ มีความพร้อมดำเนินการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอและนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ร่วมกับครัวเรือนต้นแบบ ได้ร่วมกันปักพิกัดค่าแปลง ออกแบบรูปแบบแปลง และขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดราคากลาง

📌ครัวเรือนของนายคำนึง ศรีคงรักษ์ หมู่ที่ 4 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (งบเงินกู้) โดยใช้พื้นที่ขนาด 1 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ พบว่า เป็นพื้นที่ราบมีน้ำขังบางส่วน ครัวเรือนมีความพร้อมดำเนินการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ โดยร่วมกับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ดำเนินการปักพิกัดค่าแปลง ออกแบบรูปแบบแปลงเบื้องต้นแล้ว

📌ครัวเรือนของนายธนเดช ม่วงเกลี้ยง ณ หมู่ที่ 4 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดจันทบุรี งบกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564 โดยใช้พื้นที่ขนาด 1 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ พบว่า ครัวเรือนต้นแบบให้ความสนใจในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก โดยร่วมกับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ดำเนินการปักพิกัดค่าแปลง ออกแบบรูปแบบแปลงเบื้องต้นแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดราคากลาง

📌ครัวเรือนของนางกนกอร พลกิจ ณ หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดจันทบุรี งบกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564 โดยใช้พื้นที่ขนาด 3 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ พบว่า เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยคณะติดตามได้ร่วมกับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ดำเนินการปักพิกัดค่าแปลง และวัดขนาดแปลง เพื่อนำข้อมูลไปประสานนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกแบบและประมาณราคา

ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี ได้เน้นย้ำการดำเนินงานโครงการฯ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และขอให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ร่วมกับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงพื้นที่ติดตาม ตรวจสอบการขุดปรับพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด และขอเป็นกำลังใจในการดำเนินงานแก่ครัวเรือนและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” ที่เป็นรูปธรรมและสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป

📝ข่าว : สนง.พช.จันทบุรี

Leave a Reply