จังหวัดอุบลแชมป์ “โคก หนอง นา” ดำเนินการคืบหน้าแล้วกว่า 50 เปอร์เซนต์

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564  นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยมี นายบุญสม สีลาไหม พัฒนาการอำเภอเมืองอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอฯ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เจ้าของแปลงและผู้รับจ้างขุดปรับพื้นที่ ร่วมให้ข้อมูลและสนับสนุนการดำเนินงาน

โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี และคณะ ได้ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้รัฐบาล จำนวน 2 แปลง ได้แก่ แปลง นางกัลยาณี แม่นธนู บ้านเลขที่ 35/5 หมู่ที่ 3 บ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง​อุบล​ราชธานี​ กลุ่ม​เป้าหมายสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1 ไร่ เอกสาร​สิทธิ์​โฉนด เลือกแบบในการสร้างพื้นที่ฯ เลือกแบบมาตรฐาน​ 1:3 ดินทราย ขุดปรับเรียบร้อย 100% และแปลงที่ 2 นายมงคลชัย แก้วพวงงาม บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 14 บ้านดอนจิก ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง​อุบล​ราชธานี​ กลุ่ม​เป้าหมายสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3 ไร่ เอกสาร​สิทธิ์​โฉนด เลือกแบบในการสร้างพื้นที่ฯ เลือกแบบมาตรฐาน​ 1:3 ดินร่วนปนทราย อยู่ระหว่างดำเนินการขุดปรับพื้นที่แล้วประมาณ 40%

โอกาสนี้ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้พบปะและมอบแนวทางแก่นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ผู้รับจ้างและกลุ่มเป้าหมายเจ้าของแปลงที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมได้กล่าวว่า

     “ขอขอบคุณที่ได้ให้การสนับสนุนและเร่งดำเนินการปรับพื้นที่ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จหรือปรับปรุงแก้ไข ขอให้คณะทำงานในระดับพื้นที่และผู้รับจ้างได้เร่งดำเนินการตามระเบียบของทางราชการ โดยคำนึงถึงหลัก “ภูมิสังคม” เช่น ลักษณะทางกายภาพ ดิน น้ำ ลม สังคม วัฒนธรรม ความเช่ือ ภูมิปัญญาดั้งเดิม ท่ีอยู่ในพื้นที่นั้น สำหรับดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้น ให้นำมาทำโคก “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ และปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย สุดท้ายนี้ ขอให้ฝากให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ได้ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด ส่วนพัฒนาการอำเภอ ก็ขอให้กำชับเจ้าหน้าที่ได้เร่งรัดการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ก่อนเตรียมความพร้อมในการเอามื้อสามัคคีตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดต่อไป”

        จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้ COVID ในพื้นที่ทั้งสิ้น 47 แปลง แยกเป็น HLM 46 แปลง (พื้นที่ 1 ไร่ 13 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 33 แปลง ) เเละ CLM 1 แปลง (พื้นที่ 15 ไร่ 1 แปลง) และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จำนวน 32 คน โดยได้รับงบประมาณโครงการฯ รวม 9,330,600 บาท และมีความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำสัญญา PO ในภาพรวมทุกกิจกรรมแล้ว 5,437,7310 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.27 (ข้อมูลวันที่ 7 พฤษภาคม 2564)

        จากการที่จังหวัดอุบลราชธานี นั้น ได้รับงบประมาณการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ มากที่สุดในประเทศไทย ถึง 3,960 แปลง จึงต้องให้ความสำคัญในการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นตามเป้าหมาย ไม่เว้นแม้จะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อให้แปลงที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับประโยชน์จากโครงการฯโดยเร็ว โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน ถือเป็นการช่วยสร้างทางรอดหรือแหล่งเรียนรู้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่คนในชุมชน โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักและมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนคอยเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ส่งผลดีต่อคนในชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ และสร้างงาน สร้างรายได้ อย่างยั่งยืนต่อไป..

 สพจ.อุบลราชธานี…ภาพข่าว/รายงาน

Leave a Reply