“นิยม” ถามครบ 3 ปีคดีเงินทอนวัด..สังคมสงฆ์จะอยู่กันแบบนี้ใช่ไหม?? วันที่ 24 พ.ค. 64 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 ได้กล่าวถึงคดีเงินทอนวัดเนื่องในโอการครบครบ 3 ปีว่า การกระทำของ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคมกับกรรมการมหาเถรสมาคม อาจเป็นครั้งแรกที่ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะได้ออกมติมหาเถรสมาคมให้พระเถระวัดสระเกศพ้นจากความเป็นพระภิกษุ โดยเร่งรีบ รวบรัด ด่วนสรุปความเห็น งดดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐาน โดยไม่ผ่านการตั้งกรรมการสอบตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ นึกๆ แล้วให้หวั่นๆ ใจว่า จะเกิดเรื่องเลวร้ายให้เป็นตราบาปกับวงการสงฆ์ คงจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กรรมการมหาเถรสมาคมถูกแจ้งความดำเนินคดีในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งก็เป็นกฎหมายฉบับเดียวกันกับที่เจ้าคณะใหญ่ หนกลางอ้างว่า เป็นพระภิกษุสามเณรต้องทำตามกฎหมายนี่แหละ โดยไม่ต้องไปใส่ใจพระธรรมวินัยแต่อย่างใด ส.ส.ดร.นิยม กล่าวต่อไปว่า ขออธิบายพฤติการณ์แห่งการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายมาตรา 157 แบบง่ายๆ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ เลขาธิการมหาเถรสมาคม และนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ในฐานะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ร่วมกันหรือสนับสนุนกัน อาจเป็นการกระทำเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 86 กล่าวคือ กรรมการมหาเถรสมาคมเป็นเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กรรมการมหาเถรสมาคมจึงเป็นตัวหลักในการเข้าองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 157 ส่วนนายณรงค์ ทรงอารมณ์ เลขาธิการมหาเถรสมาคม และนายสิปป์บวร แก้วงาม เป็นเจ้าพนักงานเพราะเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ร่วมกันประชุมและมีมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 10/2564 มติที่ 236/2564 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 เรื่อง กรณี อดีตพระภิกษุวัดสระเกศ 5 ราย กลับมาครองผ้าเหลือง นายณรงค์ ทรงอารมณ์ และนายสิปป์บวร แก้วงาม จึงอาจเป็นผู้กระทำความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ปอ.มาตรา 157 เพราะเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือผู้สนับสนุน เพราะเป็นผู้รวบรวมเรียบเรียงถ้อยคำเป็นมติมหาเถรสมาคมดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม และได้เข้าร่วมประชุม โดยภายหลังการประชุม นายสิปป์บวร แก้วงาม ได้ออกมาแถลงข่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการคณะสงฆ์ โดยมีเจตนาและจงใจให้เกิดความเสื่อมเสียแก่พระเถระผู้ใหญ่ โดยอ้างเอามติที่ประชุมมีใจความว่า 1.มหาเถรสมาคมต้องปฏิบัติให้เอื้อต่อกฎหมาย ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ดังนั้น กรณีอดีตพระภิกษุทั้ง 5 รูป ข้างต้น พ้นจากความเป็นพระภิกษุสงฆ์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยไม่ต้องเปล่งวาจา ตั้งแต่ศาลสั่งกักขัง และผู้มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ เมื่อปี พ.ศ.2561 2. มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม ซึ่งเป็นมติที่ขัดต่อพระธรรมวินัย เพราะการจะพ้นจากความเป็นพระภิกษุได้นั้น มี 2 กรณี คือ (1) การพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องอาบัติปาราชิก 4 ประการ ได้แก่ เสพเมถุน, ลักทรัพย์, ฆ่ามนุษย์ และอวดอุตริมนุสธรรม (2) สมัครใจกล่าวคำลาสิกขา การที่มหาเถรสมาคมประชุมแล้วมีมติว่า อดีตพระภิกษุทั้ง 5 รูป พ้นจากความเป็นพระภิกษุสงฆ์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 โดยไม่ต้องเปล่งวาจา จึงเป็นการขัดต่อพระธรรมวินัยดังกล่าวอย่างชัดเจน เพราะในพระธรรมวินัยไม่มีการพ้นจากความเป็นพระเพราะมาตรา 30 และตามบทบัญญัติมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ก็ไม่ได้ มีบัญญัติว่า พ้นจากการเป็นพระภิกษุสงฆ์โดยไม่ต้องเปล่งวาจา จึงเป็นการจงใจใส่ข้อความเพิ่มเข้าไปในพระธรรมวินัย เป็นการทำพระธรรมวินัยให้วิปริต และทำให้ผิดไปจากพระธรรมวินัย นอกจากนั้น องค์กรปกครองสงฆ์ที่ชื่อว่า “มหาเถรสมาคม” เกิดขึ้นเพราะกฎหมายกำหนดไวในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วกฎหมายก็ยังให้อำนาจเอาไว้ด้วย เพื่อให้มหาเถรสมาคมใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองสงฆ์ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้กรรมการมหาเถรสมาคมใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม หรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไปเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์สามเณร กฎหมายจึงกำหนดเอาไว้ด้วยว่า “แต่อำนาจที่มหาเถรสมาคมใช้นั้นจะต้องไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและกฎหมาย” ซึ่งตามมาตรา 15 ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 บัญญัติอำนาจหน้าที่มหาเถรสมาคมเอาไว้ว่า “มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม (2) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร (3) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ (4) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา (5) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 19 เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ก็ได้” ตามมาตรา 15 ตรี ดังกล่าวนี้ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของมหาเถรสมาคมไว้ชัดเจน โดยเฉพาะ ข้อ 4 “ต้องรักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา”และในวรรค 2 “กำหนดให้มหาเถรสมาคมมีมติที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัย” ดังนั้น การที่มหาเถรสมาคมมีมติที่ 236/2564 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยไม่มีการสืบเสาะหาข้อเท็จจริงด้วยการเรียกผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง หรือไม่มีการเรียกเอกสารหลักฐานจากผู้ถูกกล่าวหามาประกอบการพิจารณา หรือไม่มีการให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่มีการใช้เอกสารหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณา และหรือไม่มีหนังสือไปสอบถามข้อเท็จจริงจากเจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรา 30 ในวันดังกล่าว ทั้งพยานหลักฐานที่นำมาสู่การพิจารณาในการลงมติดังกล่าว มหาเถรสมาคมก็ได้ยึดเพียงหลักฐานจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นคู่กรณีของพระเถระทั้ง 5 รูปเพียงด้านเดียวเท่านั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะ “เร่งรีบ รวบรัด ด่วนสรุปความเห็น งดดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐาน” เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมติมหาเถรสมาคมกรณีนี้ยังเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรคสอง เพราะพระเถระวัดสระเกศทั้งห้ารูปคดียังไม่ถึงที่สุดก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ แต่พระเถระทั้ง 5 รูป กลับถูกกระทำจากมหาเถระสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเหมือนเป็นผู้มีความผิดสำเร็จแล้ว จึงขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ส.ส.ดร.นิยม เวชกามา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวหา พร้อมทั้งเป็นผู้จัดทําเอกสาร และนําเสนอข้อมูล ที่บิดเบือนอย่างเร่งด่วน เพื่อเสนอให้ที่ประชุมของมหาเถรสมาคมมี มติมหาเถรสมาคมให้พระเถระวัดสระเกศพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ซึ่งเป็นการกระทําข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกําหนดไว้อันเป็นสาระของการกระทําดังกล่าวตามมาตรา 24 มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ประกอบกับ กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 13 (4) ที่กฎหมายกำหนดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต้องเสนอให้มหาเถรสมาคมตั้งกรรมการสอบเพื่อลงนิคหกรรม เมื่อไม่กระทำตามที่กฎหมายกำหนด พระเถระวัดสระเกศ จึงสามารถใช้ช่องทาง ของกฎหมายได้ ดังนี้ 1) มติมหาเถรสมาคม เป็นคําสั่งทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องศาลปกครองได้ตาม ตามมาตรา 12 และมาตรา 15 ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 9 (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2) การกระทําของผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงเป็นการกระทําความผิดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ เพราะเป็นการกระทําโดยมิชอบ ทําให้เกิดความเสียหายแก่พระเถระวัดสระเกศทั้ง 5 รูป ตามมาตรา 157 ซึ่งพระเถระวัดสระเกศเป็นผู้เสียหายมีสิทธิเลือกฟ้องเองโดยตรงต่อศาลอาญาในกรณีความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ที่มีโทษทางอาญา หรือจะฟ้องต่อองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ทําหน้าที่ไต่สวน ชี้มูล ความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้ อีกอย่างหนึ่ง ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้คนอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุรูปใดหรือบุคคลใดก็สามารถกล่าวโทษเอาผิดได้ ตามมาตรา 2 (8) ประกอบกับมาตรา 123 และมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแม้ว่า ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะมีข้อต่อสู้ว่า มิได้จงใจ หรือมีเจตนา กระทําการดังกล่าว เพราะเข้าใจว่า พระเถระวัดสระเกศทั้ง 5 รูป พ้นจากความเป็นพระภิกษุตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะในการจะชี้ว่าพระรูปหนึ่งรูปใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุหรือไม่นั้น ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กำหนดให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต้องเสนอมหาเถรสมาคมตั้งกฎนิคหกรรม เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ได้มีการดําเนินการให้สละสมณเพศ ตามมาตรา ๒๙ หรือมาตรา 30 อย่างรอบด้านให้ครบถ้วนเสียก่อน ประกอบกับผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรจะต้องนําผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ และหนังสือความเห็นของ ศ.อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ศ.ดร.สมภาร พรมทา ราชบัณฑิตทางพระพุทธศาสนา เปรียญธรรม 9 ประโยค ทั้ง 2 ท่าน ที่แจ้งให้ทราบว่า พระเถระวัดสระเกศทั้ง 5 รูป ยังมีสถานะเป็นพระภิกษุ ในบวรพระพุทธศาสนาตามพระธรรมวินัยและกฎหมายมาเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมประกอบในการพิจารณาด้วย แต่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรวม และกรรมการมหาเถรสมาคมก็หาทําเช่นนั้นไม่ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาพระสงฆ์ถูกดำเนินคดีเงินทอนวัดอย่างไม่เป็นธรรม จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แม้จะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต่อศาลได้ว่าไม่ได้มีการทุจริต ยักยอก เบียดบังเอาทรัพย์ไปเป็นประโยชน์ตนแต่อย่างใด แต่พระสงฆ์เหล่านั้นก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งยังถูกกระทำจากพระสงฆ์ด้วยกันโดยไม่คำนึงถึงพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และใช้อำนาจทางการปกครองที่ได้มาตามกฎหมายทำร้ายพระสงฆ์ด้วยกันเอง ครบรอบ 3 ปีของวงจรอุบาทว์สร้างวาทะกรรมคดีเงินทอนวัดแล้ว ผมอยากฝากเตือนสติคณะสงฆ์ เราจะอยู่กันแบบนี้ใช่ไหม ?ส.ส.ดร.นิยม กล่าวในที่สุด จำนวนผู้ชม : 260 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “พี่น้องมุสลิมเดือดร้อน” อุปนายกสมาคมผู้ประกอบกิจการฮัจย์ภาคใต้ ยื่นหนังสือถึง กรมการปกครอง จี้เรื่องเก็บเงิน บินไปประกอบพิธีฮัจย์ อีก 29,000 แบบกะทันหัน ทำค่าใช้จ่ายเพิ่ม อุทัย มณี พ.ค. 23, 2023 วันที่ 23 พ.ค. 66 วานนี้หนังสือพิมพ์ออนไลน์ผู้จัดการ ได้รายงานว่า… วธ. มอบโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น 235 รางวัล สร้างสังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน อุทัย มณี ก.พ. 28, 2022 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ที่ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ… “พระพรหมกวี” และคณะสงฆ์ภาค 3 มอบเงินเยียวยาครอบครัว “นักเรียน-ครู” ตามโครงการสังฆประชานุเคราะห์ รวม 310,000 บาท อุทัย มณี ต.ค. 07, 2024 วันที่ 7 ตุลาคม 2567 ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม… สุดยอดพระเกจิสายรามัญ เทพเจ้าแห่งความเมตตา อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2018 วันนี้ขอเสนอ ประวัติพระเถราจารย์รามัญแห่งเมืองปทุมธานี… “มหานิยม” ติง “บิ๊กตู่” ไม่จริงใจแก้ปัญหาให้กับชาวพุทธชายแดนใต้ อุทัย มณี ก.พ. 16, 2023 เมื่อเวลา 15.08 น. วันที่ 16 ก.พ. 2566 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป… “เจ้าคุณประสาร” แจ้งกำหนดการบำเพ็ญกุศลศพโยมบิดา อุทัย มณี พ.ย. 26, 2022 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร… ปลัดกระทรวงมหาดไทยฝากข้าราชการพันธุ์ใหม่ เน้นย้ำ เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุทิศตนสร้างประโยชน์สุขแด่พี่น้องประชาชน อุทัย มณี ม.ค. 31, 2022 วัน 31 ม.ค. 65 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… “พุทธอารยเกษตร” มีที่มาอย่างไร ปลัดมหาดไทย มีคำตอบ?? อุทัย มณี ก.ค. 31, 2022 วันที่ 31 ก.ค. 65 ที่ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ในหลวงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาจำนวน 184 วัด (เช็ครายชื่อ) อุทัย มณี มี.ค. 30, 2024 วันที่ 30 มีนาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 88 ง. วันที่… Related Articles From the same category “พระมหานรินทร์ ซัด!! พระต้น ข้อความ “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ” รับไม่ได้?? วันที่ 6 ตุลาคม 2567 พระมหานรินทร์ นรินฺโท ป.ธ. 9 อดีตแอดมินเพจ alittlebuddha… “วิสาร เตชะธีราวัฒน์” ถวายเงิน 1 แสนบาทตั้งทุนช่วยเหลือวัดน้ำท่วมเชียงราย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่อุโบสถวัดฝั่งหมิ่น ตำบลริมกก… ปลัด มท. สั่งการทุกจังหวัดให้ความสำคัญการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมการจัดเก็บข้อมูลแบบ One Data for One. วันที่ 27 มิ.ย. 67 เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์… ผอ.พศ.ลำปาง เดินหน้าโครงการ “ทำวัดร้าง ให้เป็นวัดรุ่ง” เร่งออกโฉนดที่ดินวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ วันอังคารที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. นายคนึงกิจ พรหมนุชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง… พระภาสกร ภาวิไล นักการศาสนาชื่อดัง”มรณภาพกะทันหัน” ค่ำวานนี้ (14 มี.ค.64) เวลา 19.58 น. พระภาสกร ภูริวัฑฒโน (ภาวิไล)…
Leave a Reply