“เจ้าคุณเสียดายแดด” แห่งวัดป่าศรีแสงธรรม พระผู้ยึดหลัก “บวร” ขับเคลื่อน “โคก หนอง นา พช.” สู่ฐานแห่งการเรียนรู้ วันที่ 13 กันยายน 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดย นายภคิน ศรีวงศ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ประสานความร่วมมือกับ นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิด จังหวัดอุบลราชธานี ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ณ แปลงตัวอย่างงบพัฒนาจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วัดป่าศรีแสงธรรม ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดยได้รับความเมตตาจาก พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ฉายา “พระเสียดายแดด” ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ กรมการพัฒนาชุมชน ได้อำนวยอวยพรให้ข้อคิดในการขับเคลื่อนโครงการฯ สำหรับแปลงตัวอย่างวัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากงบพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 บนพื้นที่ 5 ไร่ ปัจจุบัน เป็นศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม พระนักพัฒนาชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ได้ขยายผลเพื่อต่อยอดการดำเนินโครงการฯ โดยการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ในรูปแบบ “โคก หนอง นา” เพิ่มอีกในเนื้อที่ 20 ไร่ ควบคู่ไปกับการเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Socar Cell) เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เเละฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงแก่ผู้ที่สนใจในการทำ “โคก หนอง นา” ถือเป็นความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลัก “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เป็นกลไกพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งก่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โอกาสนี้ เจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ได้เมตตาเสนอข้อมูลว่า “ในพื้นที่ 20 ไร่ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ให้มีความสวยงามในรูปแบบ “โคก หนอง นา” เพื่อให้มีความร่มรื่นเเละให้ผู้มาเยือนได้ศึกษาเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เเละที่สำคัญคือศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างยั่งยืน ขออนุโมทนาและขอบคุณจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้อนุมัติและจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบพัฒนาจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ให้แก่วัดป่าศรีแสงธรรม จำนวน 52,568 บาท และขณะนี้ได้นำนักเรียนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉลี่ยวันละ 40-60 คน จึงถือเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิตและมีผู้มาศึกษาเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน” พระปัญญาวชิรโมลี ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกกว่า ในเรื่องของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อีกว่า “เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ต้องทำให้พอกิน คนเราเมื่อกินอิ่มก็มีเรี่ยวแรงจะทำอะไรต่อไปได้ การจะพัฒนาเบื้องต้นจึงต้องให้มีกิน และกินอย่างไรไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย จากนั้นค่อยพัฒนาให้มี พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้พร้อมกัน ด้วยคำตอบเดียวคือ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ซึ่งป่า 3 อย่างจะให้ทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพรสำหรับรักษาโรค ทั้งโรคคน โรคพืช โรคสัตว์ ให้ไม้สำหรับทำบ้านพักที่อยู่อาศัย และให้ความร่มเย็นกับบ้าน กับชุมชน กับโลกใบนี้ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนของคนขยัน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง และยังสามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาหนี้สินซึ่งสะสมพอกพูนจากการทำ เกษตรเชิงเดี่ยว ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ปัญหาความขาดแคลนนำ ภัยแล้ง ทั้งหมดล้วนแก้ไขได้จากแนวคิดป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ่อหลวงของเรา” “ในช่วงฤดูฝนที่พระพิรุณโปรยปรายแทบจะทุกวัน การพัฒนาพื้นที่ ก็มิได้หยุดหย่อน ยังมีกิจกรรมในพื้นที่แปลง “โคก หนอง นา” ร่วมกับชาวบ้านผู้มีจิตอาสาและนักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรมอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า หนอง 1 โคก 1 ความมั่นคงทางอาหาร ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม แต่ถ้าชักช้าไม่ได้พร้าเล่มงาม หลังจากที่รถขุดหนองที่ 1 เสร็จทั้งหมดมี 6 หนอง เราก็จะได้ดินจากการขุด ไม่ได้เอาไปไหน แต่ยกเป็นคันดินให้สูง และกว้างประมาณ 8-10 เมตร นั่นคือโคก ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการจัดการต้นไม้ จัดการที่ดิน ดูระบบการให้น้ำ ดูทิศทางลมในแต่ละฤดู และดูทิศทางแสงดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ วงโคจรของโลกในแต่ละเดือนมีส่วนต่อการเอียงของแกนโลกกับพระอาทิตย์ เมื่อคิดจะทำป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างก็ต้องเลือกปลูปป่า 5 ระดับ หนองที่ 1 โคกที่ 1 จะมีต้นมะม่วง 90 ต้น แต่พอมากะหลุมด้วยระยะห่าง 6 เมตรแล้วได้เพียง 60 ต้น เป็นไม้หลัก การปลูกจนกว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 4-5 ปี มีเขียวเสวย 30 ต้น กับ โชคอนันต์ 30 ต้น ส่วนแก้วขมิ้น 30 ต้น คงต้องหาที่ปลูกใหม่ มีมะพร้าวน้ำหอมสลับระหว่างต้น ระยะห่าง 4-6 เมตร รอบขอบหนอง 30 ต้น ส่วนที่ 2 เป็นไม้กลาง อายุการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1-3 ปี กล้วยน้ำหว้า พันธุ์ปากช่อง 50 เป็นไม้พี่เลี้ยง อาจจะมีต้น แคแดง แคขาว อ้อย มะละกอ หรือพวกสมุนไพรอื่น ๆ สลับไป ขอดูรายการไม้อีกที ไม้ที่ 3 เป็นไม้เตี้ย มะเขือ พริก โหรพา กะเพรา มะเขือเทศเตรียมมาในพื้นที่ว่าง ไม้ที่ 4 คือประเภทเรี่ยดิน ฟักทอง แตงไทย ผกบุ้ง ผักกาด ผักคะน้าต่าง หรืออื่นๆ ถ้ามี ไม้สุดท้ายคือพวกใต้ดิน ขิง ข่า กระชาย ตะไคร้” “ประการสุดท้ายต้อง ททท. คือทำทันทีที่คิดได้ ตากดิน ผสมปุ๋ยหมัก ขุดคลองไส้ไก่เล็ก กับหลุมขนมครกบนคันดิน เวลาให้น้ำจะได้กระจายไปทั่ว และเวลาฝนตกจะไม่ชะล้างขอบสระให้พัง ทลาย มีหญ้าแฝกคนละอันกับหญ้าแพรกนะ เป็นพระเอกกั้นดินระยะยาว ส่วนระบบการให้น้ำ ปลูกเยอะขนาดนี้คงต้องจ้างคนมาดูแลไม่งั้นตายหมด กำลังออกแบบระบบให้น้ำควบคุมด้วยอินเทอร์เน็ต คนรดน้ำต้นไม้ดูในจอทีวีหรือจอมือถือกดคำสั่งรดน้ำไปทีละแปลง หรือจะเป็นเวลาด้วย Timer ก็ได้ รวมไปถึงระบบเซ็นเซอร์วัดความชื้นของดิน ถ้าแห้งเกินก็รดน้ำ ถ้าเปียกแล้วปิด รอดูว่าเด็ก ๆ ที่นี่จะใช้ Internet of things ยังไง รอดูกันว่าแปลงเดียวจะเลี้ยงทั้งตำบลได้อย่างไร อย่ายึดติดตำรา บุคคล กาล สถานที่ เป็นหลักเดียวกันกับหลักธรรมะที่ว่า อกาลิโก บางที่ก็มุ่งไปทางไม่ยึดติดตำราฝรั่งก็อาจใช่ แต่บางทีก็ลืมไปว่ายึดติดตัวเองก็มี จนบางครั้งคนจะทำด้วยก็ไปได้ยากเพราะกลัวผิดหลักการของคนพาทำ การแม่นในหลักการและวิธีปฏิบัติเป็นสิ่งดี แต่ถ้ามีอัตตา มีทิฐิเมื่อไหร่ก็กลายเป็นกิเลสไปเสียซึ่งเห็นได้มากในหมู่นักปฏิบัติ จึงขอฝากสั้น ๆ ไว้ก่อน” ขณะที่ นายภคิน ศรีวงศ์ ผู้แทนพัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กราบนมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม และได้กราบเรียนถึงการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้รัฐบาลและงบกรมการพัฒนาชุมชน ว่า “จังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3,960 ราย มากที่สุดในประเทศไทย และได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหน่วยดำเนินการ มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 3,892 คน และผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ (นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ) จำนวน 898 คน รวม 4,790 คน ปัจจุบันดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 42 รุ่น คงเหลือดำเนินการอีก 6 รุ่น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการ 48 รุ่น ๆ ละ 100 คน ใช้สถานที่ฝึกอบรม จำนวน 5 แห่ง ซึ่งวัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้ ก็เป็นหนึ่งในสถานที่จัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นฯ จำนวน 11 รุ่น ที่ผ่านมา ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี ที่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา และเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Cell ให้กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงประชาชนและคนในพื้นที่ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา ในพื้นที่เป้าหมาย ส่งผลให้ชุมชนมีกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการสร้างทางรอดให้กับชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” จำนวนผู้ชม : 361 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author นัตถิปัจจัย!ผู้สมัครแผ่นดินธรรมราชบุรีติดป้ายโดดเป็นที่ระลึก อุทัย มณี มี.ค. 22, 2019 วันที่ 21 มี.ค.2562 ช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่… “เจ้าคุณ ว.”แนะการสื่อสารยุคโควิดต้องสันติวิธี แก้ปมวาทกรรมวัคซีนการเมือง อุทัย มณี มิ.ย. 02, 2021 เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้ดำเนินรายการเวทีสันติสุข… ‘อธิการบดี มจร’ชี้วิชาการผสานวิชาชีวิตจุดเน้นม.สงฆ์ อุทัย มณี ธ.ค. 24, 2018 "อธิการบดี มจร" เยี่่ยมให้กำลังใจและพร้อมให้โอวาทผู้บริหาร… “ดร.มหานิยม” ฉุน” นายกฯ”ตั้งกระทู้ถาม ทวงเงินตอบแทนบุคลากรม.สงฆ์ปัตตานีเป็นปีถูกเลื่อนตลอด อุทัย มณี ม.ค. 26, 2023 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ที่ห้องประชุมรัฐสภา ดร.นิยม เวชกามา… “วิสาร เตชะธีราวัฒน์” ถวายเงิน 1 แสนบาทตั้งทุนช่วยเหลือวัดน้ำท่วมเชียงราย อุทัย มณี ต.ค. 02, 2024 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่อุโบสถวัดฝั่งหมิ่น ตำบลริมกก… รองผอ.พศ.เปิด “พระไตรปิฏก” ชี้ “พ่อ-แม่” ภิกษุไหว้ได้หรือไม่?? อุทัย มณี ส.ค. 17, 2024 วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๖๗ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ป.ธ.๙ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งได้… กรมศิลป์ขาดงบฯ! วัดกลางกรุงบอกบุญ 1 ล้าน บูรณะพระเศียรขาด 12 ปี อุทัย มณี ธ.ค. 17, 2021 วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา… วัฒนธรรมปล่อยคลิปร่วมรณรงค์ 4 ไม่ 3 ทำ “เทศกาลสงกรานต์” อุทัย มณี เม.ย. 11, 2020 กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับ Tacga จัดทำ Animation รณรงค์เรื่องมาตรการรับมือไวรัสโคโรน่าหรือ… คณะสงฆ์-ชาวพุทธ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “คิดอย่างไร” ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ ชูประเด็น “ประชามติแยกดินแดน – แยกตัวเป็นเอกราช” อุทัย มณี มิ.ย. 09, 2023 วันที่ 9 มิ.ย. 66 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เสนอข่าว "เปิดตัวขบวนการ… Related Articles From the same category ครม.ตั้งศิษย์เก่ามหาจุฬา ฯ ผงาดคุม “กรมการศาสนา” วันนี้ (29 ก.ย.63) ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร… ด่วน!! สภา มจร แต่งตั้ง “รองอธิการบดี” ดึงพระรุ่นใหม่ปรับโฉมหลายตำแหน่ง วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… “เจ้าคุณประสาร”ถอดเขี้ยวเล็บ! มุ่งงานสอนหนังสือเป็นหลัก "เจ้าคุณประสาร" ร่วมเวทีเสวนาวิชาการ มธ. ถกประเด็น "ถ้าไม่ยกย่องก็อย่าเหยียบย่ำ… ‘อภิสิทธิ์’เว้นวรรคการเมือง! เข้าวัดร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์วิทยบริการ’มจร’ วันที่ 23 ก.ค.2562 ผู้สื่อว่ารายงานว่า เวลา 08.30 น.วันที่ 26 ก.ค.2562 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… เณรหนึ่งเดียวของไทย! ร่วมสนทนาธรรมกับองค์ทะไลลามะผ่านZoom เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 มิ.ย. 2563 องค์ทะไลลามะ (His Holiness the Dalai Lama’s) ได้สนทนาธรรมกับเยาวชนจากประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…
Leave a Reply