ตามไปดู : โคก หนอง นา “น้ำไม่ท่วม” จากสถานการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วม พายุเตี้ยนหมู่ เกิดฝนตกหนักถล่ม 40 จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เกิดน้ำท่วม พื้นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก หลายจังหวัดผลผลิตจมอยู่ภายใต้น้ำนับเดือนก่อให้เกิดความเสียหายนับล้านไร่ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคอีสานในบางจังหวัด แต่กลายเป็นเรื่องฮือฮาเมื่อแปลง “โคก หนอง นา” ของประชาชนหลายจังหวัด “ไม่จมน้ำ” โดยเฉพาะภาพข่าวแปลงของ “อดิรุจ แสงชัย” ผู้นำต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน” บ้านโคกกระมือ หมู่ 5 ตำบลวังใหญ่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” ได้รับคำแนะนำจาก สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อไปพูดคุยกับ อดิรุจ แสงชัย พร้อมกับพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ไปดูวิธีการบริหารจัดการโคกหนองนา ว่า คนเหล่านี้มีภูมิปัญญา วิธีการป้องกันน้ำท่วม การจัดการแปลงโคกหนองนา ทำอย่างไรให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี รวมทั้งมีผลผลิตที่เลี้ยงครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ ตามศาสตร์ของพระราชา ขณะเดียวกันให้บุคคลเหล่านี้ถ่ายทอดความความสุข สำเร็จที่ได้เข้าร่วม และความมั่นใจที่จะทำให้ชีวิต ครอบครัวมีความสุข รวมทั้งสังคมและสภาพแวดล้อม ดีขึ้นได้อย่างไร หลังจากประชาชนเหล่านี้ทำ “โคก หนอง นา” กับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย “อำเภอศรีสำโรง” ช่วงที่ทีมข่าวลงพื้นที่ยังมีน้ำท่วมอยู่กินพื้นที่กว้าง ท้องทุ่งเหมือนทะเล ประชาชนเดือนร้อนหนัก ข้าวในนาที่ถูกน้ำท่วมหมดสิทธิ์เก็บเกี่ยวแล้ว เพราะระยะเวลาที่ข้าวกำลังออกรวงถูกน้ำท่วมมิดกินเวลานับเดือนแบบนี้ “เน่าเสียหาย” หมดสิ้นแล้ว ในขณะที่ถามชาวบ้านภาครัฐไม่มีการเยียวยาแต่ประการใด คงได้ยินแต่เสียงการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่นที่เสนอนโยบายแก้ปัญหาต่าง ๆในพื้นที่ โดยเฉพาะการป้องกัน “น้ำท่วม” การเดินทางเข้าไปยังแปลงโคกหนองนาของ “อดิรุจ แสงชัย” ช่วงที่เราเดินทางลงไปฝนยังคงตกอยู่ต่อเนื่อง ถนนลื่น และเป็นถนนเลนเดียว ค่อนข้างลำบาก ตลอดทางเห็นน้ำท่วมท้องนา ขนาดเราเห็นแล้วยังอดสงสารชาวบ้านไม่ได้ มีก้อนน้ำมหึมามองไปซ้ายขวาขาวโพลนไปด้วยน้ำเหมือนเราลอยอยู่ในทะเลสาบ เห็นชาวบ้านกัดตะขัด จับปลา ตกเบ็ด เป็นระยะ ๆ ท่ามกลางน้ำท่วมแบบนี้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมแปลงโคก หนอง นา ของ อดิรุจ แสงชัย น้ำจึงไม่ท่วม ซึ่งเขาบอกกับทีมงานว่า ครั้งแรกเลยเมื่อปี 2559 ก็ได้เรียนรู้ในเรื่องของการจัดการน้ำกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. ไปอบรมหลายที่รวมทั้งที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์การมหาชนที่ปทุมนะครับก็กลับมาลงมือทำแปลง จากนั้นก็ได้มีโอกาสไปอบรมกับกรมการพัฒนาชุมชนเรื่องของผู้นำต้นแบบที่ศูนย์ พช.พิษณุโลกด้วย “หัวใจสำคัญการบริหารจัดการน้ำ เราต้องทำความเข้าใจกับบริบทพื้นที่ของเราก่อน ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ แล้วเอาความรู้ที่ได้จากการอบรมมาจัดการกับแปลงที่ดินของเรา ซึ่งสอดคล้องกับหัวใจสำคัญของการทำโคกหนองนา คือ ในเรื่องของ การอนุรักษ์ดินและน้ำ เรื่องของการสร้างความมั่นคงของอาหาร และก็ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงฐานราก จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจพอเพียงฐานราก ก็เหมือนบันได 4 ขั้น ขั้นแรกพอกินพอใช้พออยู่ และพอร่มเย็นก่อน อันนี้เป็นขั้นพื้นฐาน ที่คนเดินตามเศรษฐกิจแนวนี้ต้องทำให้ได้ก่อนแล้วค่อยขยับไปสู่ขั้นต่อไป..” เมื่อทีมงานถามว่า ก่อนที่จะเดินตามเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์ของพระราชานี้ ได้ทำอะไรมาก่อน อดิรุจ บอกความหลังของชีวิตว่า ตนเองขายแรงงานในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เด็ก อยู่ห้องเช่า รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ชีวิตอยู่ด้วยความเครียด ทุกข์ จึงกลับมาอยู่บ้านเกิด ทำนาอยู่ 3-4 ปี กลับมาจากกรุงเทพก็ทำนา ทำนาอยู่ 3-4 ปี ขาดทุนต่อเนื่องเป็นหนี้หลายแสน ทุกข์อีก ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร จนตรอก จึงนึกถึงเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชแบบผสมผสาน จึงไปอบอรมกับ กปร. หลายครั้ง รวมทั้งของอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร และมูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำเรื่องนี้ กลับมาลงมือทำเลย ที่ดินมีอยู่ 17 ไร่ แบ่งทำโคกหนองนา 7 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมสงาน ขายผัก ขายของได้ก็เอาเงินมาขุดสระ ทำเป็นโคก ใช้หนี้ ตอนนี้ปลดหนี้แล้ว ของในสวนมีทุกอย่าง มีรายได้ประจำ คิดง่าย ๆ อยากได้เงินเมื่อไรก็เก็บผัก จับปลา ขายได้ตลอด อยู่กรุงเทพ ไม่ได้แบบนี้ กรุงเทพขายแรงงานอย่างเดียว ขายแรงไม่ได้ก็อด อยู่นี่ของกินในสวนมีทุกอย่าง เงินไม่มีก็อยู่ได้ “แปลงโคกหนองนาของผมน้ำไม่ท่วม เพราะทำคันนาทองคำไว้สูงประมาณ 2 เมตร ทำคันดินไว้ 3 ระดับ มีน้ำตลอดปี ตอนขุดสระมีน้ำ เลยบริหารจัดการน้ำได้ ตั้งใจไว้ว่าตรงนี้ อยากให้เป็นแปลงพื้นที่ต้นแบบในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการใช้ชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้ ในส่วนหนึ่งจะให้เด็กรุ่นหลัง เดี๋ยวนี้พวกเขาจะไปในเรื่องของทุนนิยมกันมาก เช่นเรื่องโทรศัพท์ ไอโฟน แบบนี้ บางทีเด็กชนบทบ้านนอกเขามีความคิดเอาแบบลูกคนรวยมาใช้ แต่เขาไม่ได้ดูพื้นฐานการเป็นอยู่ครอบครัวหรือพ่อแม่ อยากจะทำให้เป็นแปลงต้นแบบเพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้เห็นว่าอาจจะไปทำงานที่อื่นไปไม่รอดอะไรแบบนี้ ก็อยากกลับมา กลับมาคือยังมีพื้นฐานตรงนี้ไว้รองรับก็คือ ทุนทางสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ดินที่เรายังมีให้พึ่งตนเองได้อยู่ โคกหนองนา มันไม่ได้ให้ความสุขเฉพาะคนทำเท่านั้น มันให้ความสุขแก่ชุมชน สังคมและโลกด้วย เพราะโคกหนองนา เน้นปลูกต้นไม้ ปลูกผักปลอดสารเคมี สร้างอากาศที่ดี หายใจสะดวก ทุกอย่างมันก็ดูดีหมด ” อำเภอศรีสำโรงมีแปลงโคกหนองนาทั้งสิ้น 117 แปลง ขนาด 15 ไร่ มีถึง 10 แปลง และขนาด 1 ไร่ 3 ไร่ มี 107 แปลง บางแปลงยังไม่ได้ขุด เพราะเจอน้ำท่วม “กัญญา จิตงามขำ” พัฒนาการอำเภอศรีสำโรง พร้อม อดิรุจ แสงชัย และ นพต.หรือนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอีกหลายชีวิต พาเดินชมรอบ ๆ แปลง ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผัก ผลไม้และไม้เศรษฐกิจหลากหลายชนิด “วรรณรา อินทรภักดี” นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ บอกกับเราว่า เราเป็น นพต.ทำทุกอย่าง ตั้งแต่เป็นผู้ช่วยช่างออกแบบ ตีผัง เรื่องเอกสารเราก็ทำได้ ตอนนี้หลายแปลงถูกน้ำท่วมเข้าไปไม่ได้ ได้แต่ไปเยี่ยมและไปให้กำลังใจเจ้าของแปลงในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งเช่นเดียวกันกับ นพต.อีกท่านคือ “ธนาภรณ์ ภูมิรา” บอกว่า เดิมเป็นช่างเสริมสวย งานไม่มีก็เลยสมัครมาทำงานตรงนี้ ทำทุกอย่างตามที่กรมการพัฒนาชุมชนให้ทำ โดยเฉพาะประสานงานกับเจ้าของแปลงต่าง ๆ มีความสุขมาก ที่ได้มาทำตรงนี้ เพราะนอกจากพบกับชาวบ้านที่สนใจเรื่องเหล่านี้แล้ว เราได้วิชาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปในตัวด้วย เฉกเช่นเดิมเพื่อให้เข้าถึงชาวบ้านและชาวบ้านจะได้มั่นใจในการเดินสายศาสตร์ของพระราชาว่าเป็นที่พึ่งได้ ทางทีมงานได้ต่อโทรศัพท์สายตรงถึง สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ได้พูดคุยกับ อดิรุจ แสงชัย ตามที่ท่านได้สั่งเอาไว้ว่า ไปลงพื้นที่ไหนให้พี่ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านและข้าราชการในพื้นที่นั้น ๆ บ้าง!! จำนวนผู้ชม : 417 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พิธีจัดการศพไทย “สมัยอยุธยา” ในบันทึกต่างชาติ อุทัย มณี ม.ค. 11, 2024 วันที่ 11 ธันวาคม 2566 พิธีศพของชาวสยามในบันทึกของต่างชาติ จากบันทึกของ… “พระพรศักดิ์ ส่องแสง”รู้ซึ้ง! ชีวิตพระไม่ได้สุขสบาย อย่างที่คนภายนอกพูดกัน อุทัย มณี ม.ค. 24, 2021 วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2564 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… ดร.คุณหญิงสุดารัตน์ เข้าถวายมุทิตาสักการะ พระเทพวัชรบัณฑิต อุทัย มณี ก.พ. 22, 2021 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… ‘พุทธศิลปกรรม’ชาวพุทธควรทำอย่างไรต่อไป? อุทัย มณี ก.ย. 18, 2019 วันที่ 18 กันยายน 2562 จากปรากฏการณ์ กรณี “ภาพเขียนศิลปะพระพุทธรูปอุลตร้าแมน”พระครูพิพิธสุตาธร… “ปลัดเก่ง” ทำงานจนวินาทีสุดท้าย ก่อนเกษียนราชการ ต้อนรับ มท.3 “ซาบีดา” ชมบูธกิจกรรมกระทรวงมหาดไทยในงาน Sustainability Expo 2024 อุทัย มณี ก.ย. 30, 2024 วันนี้ (27 ก.ย. 67) เวลา 16.30 น. ที่บริเวณ Hall 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์… พช.ร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมปฏิบัติบูชา เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมราชินี” อุทัย มณี มิ.ย. 02, 2021 วันพุธที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด… ศาลรธน.รับคำร้องยุบไทยรักษาชาติแล้ว อุทัย มณี ก.พ. 14, 2019 วันที่ 14 ก.พ.2562 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องยุบพรรคไทยรักษาชาติไว้พิจารณาแล้ว… สมเด็จพระสังฆราช ประทานคติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชา 2565 อุทัย มณี ก.พ. 15, 2022 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวันมาฆบูชา… ไทยพุทธ-มุสลิมร่วมแสดงมุทิตาจิต พิธีฉลองอายุวัฒนมงคลเจ้าคณะนราธิวาส อุทัย มณี ม.ค. 07, 2019 วันที่ 7 ม.ค.2562 ไทยพุทธ มุสลิมร่วมแสดงมุทิตาจิตในพิธีฉลองอายุวัฒนมงคลพระเทพศีลวิสุทธิ์… Related Articles From the same category ปธพ.8 จัดหน่วยแพทย์อาสา ตรวจสุขภาพพระสงฆ์ 200 รูป ปธพ.8 จัดหน่วยแพทย์อาสาถวายการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ วัดบำเพ็ญเหนือ… ฮือฮา!!ผู้ว่าฯจันทบุรียื่นหนังสือลาออก..ละทางโลกบวชเป็นพระเพื่อปลีกวิเวก ฮือฮาพ่อเมืองจันทบุรีขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณราชการ… คณะยุวสงฆ์ปลดแอกประณาม“มหาเถร ฯ-สำนักงานพุทธฯ” วันนี้ ( 23 ก.พ.64) เพจคณะปฎิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่ออกแถลงการณ์… แรง!!! ปรีดิยาธร เทวกุล: 8 เหตุผลที่ผมไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯอีก 24 ธ.ค.61 สำนักข่าวอิศรา ได้เผยแพร่บทความของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร… “พุทธะอิสระ”ออกโรงย้ำปลด 3 เจ้าคณะจังหวัด “ในหลวงไม่เกี่ยวข้อง” ให้ช่วยกันค้นหา “ใครเป็นผู้เสนอปลด” วันที่ 10 ต.ค. 64 เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือเดิมคือ …
Leave a Reply