สื่อสะท้อนนักสันติวิธีต้องติดดิน เน้นป้องกันมากกว่าแก้ไขเยียวยา

วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า หลักสูตรสันติศึกษา มจร มีการสอบสัมภาษณ์วัดคุณสมบัตินิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นประธานการสัมภาษณ์นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา มจร โดยการสัมภาษณ์ในครั้งนี้มีผู้แทนจากความร่วมมือทางวิชาการประกอบด้วย สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม และหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

โดยนิสิตแต่ละบุคคลมีบทบาททางสังคมอย่างยิ่ง โดยมาจากหลากหลายอาชีพ ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจจากนักข่าวคนหนึ่งมองประเด็นความขัดแย้งในสังคมไทยกับบทบาทของกระบวนการทำงานของสันติศึกษาทั้ง มจร สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรมว่ากระบวนการสันติวิธีหรือนักสันติวิธีจะต้องลงพื้นที่ทำอย่างต่อเนื่อง “นักสันติวิธีจะต้องเน้นการป้องกันมากกว่าแก้ไขเยียวยา” ซึ่งการศึกษาในระดับปริญญาเอกควรลงพื้นที่ให้มากกว่าแค่การทำเอกสารเท่านั้น แต่ยังยึดมั่นในแนวทางของหลักสูตรตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย จึงมีการเตรียมนัดหมายเพื่อปรึกษาหารือในการทำงานร่วมกันที่จะขับเคลื่อนงานสันติวิธีในเชิงรุกระหว่างสถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม และหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ย้ำถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่า คณะสงฆ์ควรต้องพัฒนาเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างจริงจังสำหรับพระสงฆ์ให้เป็นนโยบายเชิงป้องกันความขัดแย้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น โดยพัฒนาพระสงฆ์ให้สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเมื่อคนในชุมชนสังคมเกิดความขัดแย้งถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม และหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเตรียมนัดหมายเพื่อปรึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนงานสันติวิธีแบบองค์รวมเน้นการป้องกันมากกว่าแก้ไขต่อไป

Leave a Reply