สืบสานแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย จัดกิจกรรมแถลงข่าวการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ชิงรางวัลพระราชทาน วันที่ 12 ก.ค. 65 เวลา 14.00 น. ที่ OTOP OUTLET@ศูนย์ราชการ กรมการพัฒนาชุมชน อาคารรัฐประศาสนภักดี ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผศ.ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ดร.ศรินดา จามรมาน กรรมการที่ปรึกษาโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Vogue ประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ภายใต้โครงการจัดแสดงและเชื่อมโยงการตลาดภูมิปัญญาผ้าไทย โดยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนร่วมในงานเป็นจำนวนมาก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวมหาดไทยและแม่บ้านมหาดไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคนในการสนองแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระผู้ทรงเป็นดั่งแสงพระอาทิตย์ในยามกลางวันและแสงพระจันทร์ในยามกลางคืน ส่องสว่างโชติช่วงชัชวาลทำให้ความลำบากยากแค้นแสนลำเค็ญที่เป็นความมืดมิดของพี่น้องประชาชนในชนบทห่างไกลได้มีแสงสว่างขึ้นอีกครั้ง ด้วยการทรงมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ด้วยการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีหลวง ที่ทรงฟื้นคืนชีวิตภูมิปัญญาผ้าไทยของประชาชนคนไทยให้กลายเป็นเครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพของตนเอง ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพราะทรงเล็งเห็นว่า ภูมิปัญญาหัตถศิลป์หัตถกรรมของบรรพบุรุษไทย อยู่ในมือทั้งสองมือของพสกนิกรของพระองค์ท่าน ที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้น รวมถึงครอบครัว ลูกหลาน ได้มีชีวิตที่ดี มีชีวิตที่มั่นคง และยั่งยืนได้ โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเพียรพยายาม ตั้งแต่ครั้งตามเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงมีจิตใจที่มุ่งมั่นในการศึกษาในด้านศิลปกรรมศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทรงทดลองทำด้วยพระองค์เอง เพื่อต่อยอดช่วยเหลือพี่น้องคนไทยสนองพระราชปณิธาน เริ่มตั้งแต่การเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน OTOP CITY เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 พร้อมกับพระราชทานลายผ้าลายแรก คือ ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวการสวมใส่ผ้าไทย กระตุ้นเม็ดเงินเศรษฐกิจฐานราก และได้พระราชทานผ้าลายใหม่ คือ “ลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” พร้อมกับพระราชทานโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งมีนัยยะ คือ คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถสวมใส่ผ้าไทยได้ทุกโอกาส เป็นการทำให้สิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นในประเทศนี้ คือ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน สามารถทำหน้าที่ในการเชิญชวนให้พี่น้องรวมกลุ่ม OTOP ที่มีมากกว่า 80,000 กลุ่มทั่วประเทศ เก็บสถิติยอดขายผ้าไทยทั้งหมดในแต่ละปี (ไม่นับปี 62) มียอดจำหน่ายถึง 21,000 กว่าล้านบาทในช่วงของเหตุการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา รวมถึงยอดขายลายขิดนารีรัตนราชกัญญาที่ถึงขณะนี้มีมากกว่า 80 ล้านบาท แต่ถึงกระนั้น ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของพระองค์ท่าน ก็ยังทรงตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้มีความทันสมัย มีลวดลาย สีสัน รูปแบบ ที่หลากหลาย และไม่ลืม “ประชาชน” ที่เป็นผู้ทอผ้าให้ได้รับการพัฒนาฝีมืออย่างก้าวกระโดด โดยทรงยุยงให้เกิดการประกวดประขันแข่งขัน ให้กลุ่มทอผ้ากลุ่มต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคของประเทศได้ผลิตชิ้นงานและส่งเข้าประกวด เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาฝีมือและเป็นการคืนกำไรให้ลูกค้า ทำให้พวกเราที่ทอผ้าไม่เป็นได้ซื้อผ้าที่มีคุณภาพมาสวมใส่ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ พระกุศโลบายที่จะทำให้ช่างทอผ้าได้เกิดเป็นนิสัย เกิดเป็นความเคยชินที่จะไม่หยุดคิดค้นการผลิตชิ้นงานดี ๆ ใหม่ ๆ ให้เกิดกระแสความตื่นตัวและความนิยมผ้าไทยกันมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป “พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของลูกหลานที่มีความกตัญญูกตเวที พระองค์ท่านก็จะเล่าให้ฟังทุกครั้ง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงรักและห่วงใยพี่น้องคนไทย และพระองค์ท่านขอมาช่วยสืบสาน รักษา และต่อยอด สิ่งที่เป็นพระราชปณิธานของสมเด็จย่าของพระองค์ท่าน เพื่อช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสมเด็จพระบรมราชินี ในการดูแลพี่น้องคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพระองค์ท่านได้สอนช่างทอผ้าทุกกลุ่มให้คำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ด้วยการไม่ใช้สีเคมีในการย้อมผ้า และหันมาใช้สีธรรมชาติเพิ่มพูนขึ้น อันจะกลายเป็นวัฒนธรรมการทอผ้า การทำผ้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราชบพิตร ในเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการทรงส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเองในทุกเรื่อง ทั้งปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติ ในทุกหนทุกแห่งที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินไป และการนำเอาวิชาการแฟชั่นสมัยใหม่มาออกแบบชุดที่จะให้ถูกใจคนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่ม เพื่อที่จะทำให้เด็กวัยรุ่นที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ได้เห็นเป็นแบบอย่างและซึมซับปลูกฝังให้เขาได้ใช้ผ้าไทยตั้งแต่ยังเด็ก ก็จะทำให้ชีวิตผ้าไทยยืนยาวอย่างยั่งยืน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า แผ่นดินไทยของเราโชคดีเหลือเกินที่มีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทั้งสองพระองค์ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนที่อาศัยอยู่ทุกตารางเมตรของประเทศไทยทั่วทุกภูมิภาคตลอด 70 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงรื้อฟื้นเรื่องผ้าไทยที่หายไปให้กลับคืนมาด้วยความยากลำบาก โดยทรงเสด็จฯ ไปในพื้นที่ทุรกันดารกระทั่งเกิดเป็นศูนย์ศิลปาชีพครั้งแรก คือ ที่บ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม และในวันนี้ผ้าไทยได้กลับมาคืนสู่ชีวิต คืนสู่สังคมไทย คืนสู่คนไทย ด้วยการต่อยอดพระราชดำริโดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงได้ซึมซับในการโดยเสด็จสมเด็จย่าในช่วงยังทรงพระเยาว์ ทำให้ได้เรียนรู้ว่าชีวิตของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศมีความยากลำบาก โดยทรงนำเอาวิชาการสมัยใหม่ที่เป็นความชำนาญพิเศษของพระองค์ ในเรื่องของการออกแบบ packaging การ branding ที่เราต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องสมัยใหม่เข้ามาช่วยยกระดับคุณค่า มูลค่าของผ้า ดังเช่น “ดอนกอยโมเดล” ที่ชุบชีวิตชาวดอนกอย อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จากได้มีรายได้เพียง 700 บาท/คน/เดือน เป็น 12,000 – 15,000 บาท/คน/เดือน อันสะท้อนว่า พวกเราเหล่านั้นจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดี มีเงินไปรักษาตัวในยามเจ็บป่วย มีเงินเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวคนในบ้าน และด้วยพลังศรัทธาอันแรงกล้า พระปณิธานอันมุ่งมั่น จึงทรงพระราชทานพระดำริในการจัด “การประกวดผ้าลายพระราชทานผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ในปีนี้ “และเนื่องในปีมหามงคลที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนร่วมกันสวมใส่ผ้าไทยกันตลอดทั้งปี เพื่อร่วมกันถวายเป็นพระราชกุศลด้วยการปฏิบัติบูชาตามพระราชดำริ เพื่อทำให้เบื้องหลังของผ้าไทยทุกผืน คือ ชีวิตอีกหลาย ๆ คนในชนบทห่างไกล ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” ดร.วันดีฯ กล่าวเพิ่มเติม นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ได้กล่าวถึงแนวทางและเกณฑ์การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ประจำปี 2565 ซึ่งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP หรือช่างทอผ้าทั่วไป ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ที่ได้นำแบบผ้าลายพระราชทานไปเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย ของใช้ ของประดับตกแต่ง ตามวิถีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” โดยมีเงื่อนไขการส่งผ้าเข้าประกวด คือ ผู้ส่งผ้าลายพระราชทานเข้าประกวดให้ส่งตามภูมิลำเนาที่ผลิตผ้าและต้องเป็นผ้าทอมือหรือทำจากมือเท่านั้น เส้นใยที่ใช้ทอ หรือผลิตผ้า เป็นเส้นใยไหมพันธุ์พื้นบ้าน หรือฝ้ายเข็นมือ หรือเส้นใยไหมที่เป็นเส้นใยแท้ (ไหมพันธุ์พื้นเมือง) หรือเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ ใช้สีธรรมชาติ โดยส่งผลงานผ้าพร้อมแนวคิดในการทำบรรจุภัณฑ์ (packaging) และเรื่องเล่า (storytelling) และเมื่อชิ้นงานผ่านเข้ารอบการประกวดระดับประเทศ ผู้สมัครต้องส่งผลงาน พร้อมบรรจุภัณฑ์จริง (packaging) และเรื่องเล่า (storytelling) มาเพิ่มเติม “ประเภทผ้าลายพระราชทานที่ส่งเข้าประกวด แบ่งเป็น 14 ประเภท ตามเทคนิค/เอกลักษณ์ของผ้าประจำถิ่นของจังหวัดนั้น ๆ โดยต้องมีองค์ประกอบหลักของลายพระราชทานครบถ้วน และประเภทงานหัตถกรรม เช่น งานเซรามิก งานจักสาน ฯลฯ ที่นำลายพระราชทานมาต่อยอดที่มีความโดดเด่น และยอดเยี่ยม ซึ่งในการจัดประกวดผ้าลายพระราชทาน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับภาค และระดับประเทศ การประกวดระดับภาคในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. 65 และคณะกรรมการจะนำผ้าที่ได้รับจากระดับจังหวัดมาจัดประกวดระดับภาค แล้วคัดเลือกผ้าให้เหลือ 300 ผืน และ 150 ผืน โดยภาคใต้ ระหว่างวันที่ 26-27 ส.ค. 65 ภาคกลาง 2-3 ก.ย. 65 ภาคเหนือ 9-10 ก.ย. 65 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16-18 ก.ย. 65 และระดับประเทศ โดยคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ ในเดือน ต.ค. 65 ซึ่งจะทำการคัดเลือกผ้า จากจำนวน 150 ผืน ให้คงเหลือ 50 ผืน เข้าสู่รอบตัดสินระดับประเทศ (Final) โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานการประกวด สำหรับรางวัลการประกวด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “ประเภทที่ 1 รางวัลพิเศษ” ประกอบด้วย 1) Best of the Best รางวัลชนะเลิศรางวัลเดียวจากในแต่ละประเภท นำมาออกแบบตัดเย็บ ฉลองพระองค์ และรางวัลเหรียญพระราชทานพร้อมสร้อยคอทองคำ 2) สี Trend Book 3) ลวดลายตามแบบพระราชทานยอดเยี่ยม 4) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยอดเยี่ยม 5) ผ้าไหมพื้นบ้านยอดเยี่ยม (ผ้าที่ใช้ไหมพันธุ์พื้นบ้าน และสาวไหมยอดเยี่ยม) 6) Young OTOP และสำหรับงานหัตถกรรมที่นำลายพระราชทานมาต่อยอดที่มีความโดดเด่นและยอดเยี่ยม เช่น งานเซรามิก งานจักสาน ฯลฯ ประกอบด้วย 1) ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ 2) ผ้าบาติกลายพระราชทาน และ 3) ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา และ “ประเภทที่ 2 เหรียญรางวัลพระราชทาน” ได้แก่ เหรียญทองคำ 21 รางวัล เหรียญเงิน 21 รางวัล และเหรียญนาก 21 รางวัล” นายธนันท์รัฐฯ กล่าวเพิ่มเติม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนพี่น้องช่างทอผ้า และผู้ประกอบการ OTOP ได้ร่วมกันทอผ้าและผลิตชิ้นงานส่งเข้าประกวด ทั้งนี้ สิ่งที่นอกเหนือจากการประกวด สถานที่จัดการแข่งขันจะกลายเป็น “ตลาดนัดผ้าไทย” ให้ผู้เดินทางมาให้กำลังใจ ผู้เดินทางมาติดตามชมการประกวด จะได้จับจ่ายใช้สอย เลือกซื้อเลือกหาผ้าไทยซึ่งเป็นงาน Handmade ที่คาดว่าจะมีกว่า 4,000 – 5,000 ผืน แปรเปลี่ยนเป็นรายได้ กลับไปสู่เศรษฐกิจฐานราก หมุนเวียนกลับคืนช่วยดูแลครอบครัว ไปดูแลลูกหลาน ไปสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี จึงขอเชิญชวนว่าอย่าลังเล และรีบส่งเข้าประกวดด้วยการสมัครให้ทันวันที่ 5 สิงหาคม 65 นี้ เพื่อร่วมกันถวายพระกำลังใจแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเพื่อสร้างเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ความภาคภูมิใจ และความเป็นสิริมงคลแก่วงศ์ตระกูล โดยขอรับรายละเอียดการประกวดได้ที่กรมการพัฒนาชุมชน หรือสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทั่วประเทศ http://thebuddh.com/wp-content/uploads/2022/07/679309215.766592.mp4 จำนวนผู้ชม : 350 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ในหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระภิกษุจำนวน11 รูป อุทัย มณี มิ.ย. 06, 2021 วันที่ 6 มิ.ย. 64 ประกาศราชกิจจานุเบกษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ… เครือข่ายชาวพุทธบุก พศ. จี้เปิดข้อมูลปลด 3 เจ้าคณะจังหวัดทำไม? อุทัย มณี พ.ย. 04, 2021 เครือข่ายชาวพุทธบุก พศ. จี้เปิดข้อมูลปลด 3 เจ้าคณะจังหวัด… ‘น้องพลอย’The Voice ซีซั่น 6 สมัครเรียนป.ตรี ม.สงฆ์พิจิตร อุทัย มณี เม.ย. 25, 2019 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 นางสาวสุภัคชญา รัตนใหม่ หรือ พลอย ผู้เข้าประกวดร้องเพลงในรายการ… “บิ๊กแดง”เตรียมบวชถวายในหลวง-ราชินี : วัดหงษ์ศูนย์กลางศรัทธาบิ๊กทหาร – ตำรวจ ?? อุทัย มณี ต.ค. 06, 2020 “บิ๊กแดง”เตรียมบวชถวาย "ในหลวง-พระราชินี”และ ถวาย “ร.9” เนื่องวันสวรรคต… อำเภอพยุห์ศรีสะเกษ ขับเคลื่อนอำเภอต้นแบบ “อำเภอศีล 5 ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง” อุทัย มณี พ.ย. 11, 2022 เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองค้า… “เจ้าคุณหรรษา” ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ ป.โท อายุ 20 ปี พร้อมแนะเรียนอย่างไรให้ “เข้าถึงพระไตรปิฏก” อย่างครอบคลุมและตรงจุด? อุทัย มณี เม.ย. 02, 2024 วันที่ 2 เมษายน 67 พระเมธีวัชรบัณฑิต (ป.ธ.6,ศ.ดร.) หรือ "เจ้าคุณหรรษา"… ผู้นำศาสนาอิสลามเฮ!! ก.คลัง อนุมัติเงินเพิ่ม ครบทุกตำแหน่ง อุทัย มณี เม.ย. 30, 2022 วันที่ 30 เม.ย. 65 เพจ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย… เป็นเรื่อง?? เผาศพผู้ติดเชื้อโควิด“พระโอเค”แต่โยมข้างวัดหลายแห่งแตกตื่น!! อุทัย มณี พ.ค. 16, 2021 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกที่ 3 ของประเทศไทย… เจ้าคณะปทุมธานีมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์เผยแผ่พุทธดีเด่น อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2019 เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี มอบโล่เชิดชูเกียรติ "ผู้บำเพ็ญประโยชน์ขับเคลื่อนภารกิจ… Related Articles From the same category เจ้าอาวาสวัดราชาฯนั่งรถเข็นเติมตู้ปันสุขชุมชนหน้าวัด วันที่ 15 พ.ค.2563 พระธรรมกวี เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร… จังหวัดอุบล ฯ ขับเคลื่อนนำร่องหา “วัดต้นแบบ” ตามกรอบความร่วมมือ “MOU” กระทรวงมหาดไทย – มหาเถรสมาคม วันที่ 15 เม.ย. 65 พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… จนท.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 4,282 รูป/คน ทั่วประเทศเข้ารายงานตัว วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่… ‘ซิโก้’วันว่าง! เข้าวัดถวายความรู้พระ’มจร’ วันที่ 22 พ.ค.2562 ร.ต.ท.เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หรือซิโก้ อดีตกุนซือทีมชาติไทย… “เจ้าคณะภาค14″ ชื่นชมคณะสงฆ์สมุทรสาคร โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหมู่บ้านศีล 5 พร้อมขอให้ทุกวัดเปิดโบสถ์ให้ประชาชนเข้ากราบได้ทุกวัน วันที่ 2 กรกฏาคม 2567 ณ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร…
Leave a Reply