“กรมคุ้มครองสิทธิฯยธ.” ระดมมุมมององค์กรศาสนาพุทธคริสต์อิสลาม ออกแบบการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรม เอบีน่าเฮ้าส์ วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า เป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อสะท้อนการออกแบบการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีผู้นำองค์กรด้านศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม เข้าร่วม ซึ่งจัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นการระดับการออกแบบการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างดีเยี่ยม

นักสันติวิธีฝรั่งเศสที่มีความรักเพื่อนมนุษย์เป็นที่สุดกล่าวปณิธานว่า “จะไม่ทำให้ผู้ใดเสียชีวิต แม้ตนเองจะต้องตาย” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนของการมีสันติในเรือนใจที่แท้จริง ซึ่งครั้งหนึ่งเขาตกเป็นเชลยศึกและใช้โอกาสที่ถูกคุมขังอยู่เผยแผ่ความเชื่อเรื่องความรักเพื่อนมนุษย์ให้แก่นักโทษและผู้คุม ซึ่งศัตรูที่แท้จริงคือความยากจน ความเกลียดชังและที่น่าสะพรึงกลัวมากที่สุดว่าสิ่งใดๆ คือ การสูญเสียความเป็นมนุษย์ ที่ถูกครอบงำโดยปีศาจไปทั่วในสังคมร่วมสมัยแห่งยุคนี้ วิธีการแก้ไขคือ “การฟื้นฟูและสร้างความเป็นมนุษย์ขึ้นมาใหม่” จึงมีการก่อตั้งสถาบันปรัชญาตะวันออก โดยมีไดซาขุ อิเคดะ เป็นผู้ตั้ง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก

ผ่านสัทธรรมปุณฑิริกสูตรภายใต้ 3 ประการ ประกอบด้วย 1)การอยู่ร่วมกันของชีวิตทุกรูปแบบ 2)การแสวงหาความเป็นนิรันดร์ 3)การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพสันติภาพที่แท้จริงนั้นต้องสามารถก้าวข้ามเรื่องของศาสนาโดยยึดความเป็นมนุษย์ เคารพให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรกล่าวว่า ศัตรูที่เข้มแข็ง 3 ชนิด พระมหาธรรมาจารย์เมียวลัก บุคคลในศตวรรษที่ 8 ได้กำหนดชื่อของศัตรูแต่ละชนิดว่า

ชนิดที่ 1 คือฆราวาสที่ทนงตัวอวดดี ชนิดที่ 2 คือนักบวชที่ทนงตัวอวดดี ชนิดที่ 3 คือผู้สูงยศผู้ลุแก่อำนาจที่ทนงตัวอวดดี คำว่า “ทนงตัวอวดดี” ใช้เรียกผู้ที่คิดว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น ๆ เกิดความรู้สึกอวดดีว่าตนรู้แจ้งในธรรมที่เหนือกว่าดีกว่า

การจัดการความขัดแย้งของพระพุทธเจ้า มุ่งให้เกิดความรักเพื่อนมนุษย์ เข้าใจเพื่อนมนุษย์ เห็นใจเพื่อนมนุษย์ รับใช้เพื่อนมนุษย์ เพราะมนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกันทั้งโลก โดยพระพุทธเจ้าเน้นการสร้างสันติภาพเริ่มจากการพัฒนาตัวเองก่อน ที่เรียกว่า สันติภาพภายใน (Inner Peace) ดังพุทธพจน์ที่ว่า”สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” (There is no greater happiness than peace) โดยเน้นสันติภาพภายในมากกว่าสันติภาพภายนอก(Outer Peace) โดยพัฒนาตนเองก่อนๆที่จะออกไปช่วยเหลือคนอื่น ความขัดแย้งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประการด้วยกัน คือความขัดแย้งภายในตนเอง(Inner Conflict) กับความขัดแย้งภายนอก (Outré Conflict) ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น และความขัดแย้งมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งความขัดแย้งเชิงบวกทำให้คนหันหน้ามาคุยกัน สานเสวนากัน แก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติ แต่ความขัดแย้งเชิงลบทำให้เกิดความรุนแรง ฆ่ากันทำร้ายกัน นำไปสู่สงครามซึ่งความโลภเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในมนุษย์ ไม่มีความพอ รวมไปถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ไม่ยุติธรรม ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะทุกคนต้องการทรัพยากร” โดยพุทธสันติวิธี (Buddhist Peaceful Means) โดยการนำคำสอนของพระพุทธเจ้าลงพื้นที่จริงลงสู่ชุมชน

เริ่มต้นจากเยาวชน เป็นกระบวนการพุทธสันติวิธีฝึกการเดินเพื่อฝึกขันติธรรม แต่ต้องเดินทางสายกลาง (มัชฌิมาวิถี: Middle Way) มิใช่แนวทางสุดโต่ง (อันตวิถี : Extreme Way) หนทางสู่สันติในทางพระพุทธศาสนาคือ การเดินทางตามหนทางสู่อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เริ่มจากสัมมาทิฐิ (Right Understanding) สันติจึงต้องเริ่มจากภายใน ทางตะวันตกหันมาสนใจการฝึกสมาธิภาวนาเป็นจำนวนมาก เป็นการสร้างสันติภายใน เป็นความสุขที่แท้จริง แนวทางการสร้างสันติภาพของพระพุทธเจ้า การสร้างสันติภาพในระดับชุมชนต้องสร้างโมเดลการสร้างสันติสุข สันติภาพต้องลงสู่ดินลงสู่วิถีชีวิตวิถีปฏิบัติ ใช้หลักการพัฒนา 8 ด้าน ประกอบด้วย พัฒนากาย พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา ลงไปสร้างสันติภาพให้เกิดในชุมชน คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน แต่ละด้านมีการกิจกรรมรองรับในการสร้างสันติสุข จึงมีคำกล่าวว่า “สันติภาพจะเกิดก็ต่อเมื่อเราลงมือทำเท่านั้น สันติภาพไม่เกิดเมื่อเรามัวแต่พูด”

การเจริญสติเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาสันติศึกษาเพื่อเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นจึงย้ำว่า “จะไม่ทำให้ผู้ใดเสียชีวิต ถึงแม้ตนเองจะต้องตาย” จากแนวคิดนักสันติวิธีชาวฝรั่งเศลถือว่าเป็นการมองว่า “โลกทั้งผองเราคือ พี่น้องกัน” ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายกัน จึงต้องมอง ๔ สาระสำคัญหลัก ประกอบด้วย
1)ความยุติธรรม 2)เสรีภาพ 3)ความเสมอภาค 4.ภราดรภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เคารพกันและกันคือ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ไม่มีใครไม่เคยเป็นพี่เป็นน้อง เราจะต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน

เหมือนดร.อัมเบดการ์กล่าวว่า เกิดเป็นสุนัขจะดีกว่าเป้าหมายของความเป็นพี่น้องคือ ความเป็นหนึ่งเดียว สมัครสมานสามัคคี และท่าน ดร.อัมเบดการ์ได้กล่าวประโยคสำคัญคือ “เมื่อท่านเกิดมาในโลกนี้ให้ท่านทิ้งอะไรในโลกนี้ ให้โลกจดจำ ถ้าไม่ทำอะไรก็ไม่ต่างจากต้นไม้กับก้อนหิน มันก็สูญหายไปในที่สุด” ในปี ค.ศ.๑๙๒๗ ดร.อัมเบดการ์นำพิธีสัตยาเคราะห์ดื่มน้ำในสระโชว์ดาร์ที่เมืองมหัท (Mahad) ซึ่งเดิมห้ามคนวรรณะต่ำใช้น้ำในสระนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ “ศตวรรษแห่งความเสมอภาค” การที่คนจัณฑาลไม่สามารถใช้แท้งน้ำหรือสระน้ำกับวรรณะอื่นได้ จึงทำให้ดร.อัมเบดการ์ใช้วิธีการ คือใช้น้ำเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพสร้างความยุติธรรม โดยท่านดื่มน้ำเป็นแบบอย่าง ว่าทุกคนสามารถใช้น้ำในแท้งน้ำหรือสระน้ำเดียวกันได้ถือว่าท่านใช้น้ำเป็นตัวประสาน

Leave a Reply