ปลัด มท. นำคณะลงพื้นที่เมืองสองแควติดตาม “โครงการ 3 ป. มุ่ง “ปลุก-ปรับ-เปลี่ยน ” วิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง วันนี้ (21 ธ.ค. 65) เวลา 09.00 น. ที่ศูนย์เรียนรู้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน บ้านวังส้มซ่า อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิด “ศูนย์เรียนรู้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน บ้านวังส้มซ่า” และตรวจเยี่ยมประเมินผลเชิงประจักษ์อำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม ซึ่งอำเภอเมืองพิษณุโลกได้นำเสนอ “โครงการปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนเมืองพิษณุโลกสู่ความยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” (โครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก)” โดยได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัด มท. ร่วมลงพื้นที่ นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษา มท. นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ นางสร้อยฟ้า ตรีรัตนนุกูล ภาคีเครือข่ายสื่อมวลชน ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย โดยมีภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนาในพื้นที่ คือ พระครูโฆสิตธรรมสุนทร รองเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม พระใบฎีกาธนกฤต ธนลาโก เจ้าอาวาสวัดคุ้งวารี พร้อมด้วย นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายทรงพล วิชัยขัทคะ นายวาทิต ปัญญาคม รองผู้ว่าฯ หัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอในพื้นที่ ให้การต้อนรับ มีทีมอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้แก่ น.ส.มนัส สิงหเดช ปลัดอาวุโส อ.เมืองพิษณุโลก น.ส.ธัญลักษณ์ ภาคย์ดิฐพงศ์ ปลัด อ.เมืองพิษณุโลก นางจริยา สมวันดี พัฒนาการ อ.เมืองพิษณุโลก นายธวัช สิงหเดช นายก อบต.ท่าโพธิ์ นายสมาน นวนเกิด กำนัน ต.ไผ่ขอดอน ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.เมืองพิษณุโลก นางรุ่งทิวา ฆ้องแสง กก.พัฒนาสตรี อ.เมืองพิษณุโลก น.ส.วรัญญา หอมธูป กรรมการผู้จัดการ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีพิษณุโลก (วิสาหกิจเพื่อสังคม) อาจารย์ศรัณย์พร เกิดเกาะ รอง ผอ.วิทยาลัยนานาชาติ ม.นเรศวร ภายใต้การนำของ นายนิสิต สวัสดิเทพ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก นำเสนอการขับเคลื่อนโครงการฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ขอชื่นชมและขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนที่มีส่วนทำให้โครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง ภายใต้การนำของนายอำเภอเมืองพิษณุโลก ร่วมกับ “ทีมอำเภอ” ขับเคลื่อน ทั้งนี้ กระบวนการที่สำคัญของโครงการนี้ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ขั้นต้น คือ การสร้างทีม ปลุกความคิดของคนในพื้นที่ให้เป็นบัวพ้นน้ำ ช่วยกันดูแลครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน สังคม และจังหวัดให้เป็นจังหวัดที่มีความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ (UN SDGs) ซึ่งคำว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การดีอย่างแท้จริง” นั่นคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีลำดับการพัฒนาตั้งแต่ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นก้าวหน้า ด้วยการเน้นการสร้างทีม เพื่อให้ทีมไปขยายผลผลิตแห่งการพัฒนา ผลผลิตแห่งความยั่งยืนให้ครอบคลุมในทุกตำบล/หมู่บ้าน ทุกอำเภอ และขยายผลไปทุกจังหวัดให้ทั่วประเทศ เพื่อไปสู่เป้าหมาย 1 จังหวัด 1 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพิ่มโอกาสแห่งความเท่าเทียมของการมีชีวิตอยู่ อย่างมีคุณภาพ ให้กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองพระที่ผู้คนมีวัฒนธรรมอันดีงามตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายในการเคารพนบนอบผูกพันกับพระพุทธศาสนามาอย่างช้านาน เราจึงต้องช่วยกันถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงาม คือ วัฒนธรรมผู้น้อยทำความเคารพผู้มีอาวุโสกว่า วัฒนธรรมเคารพต่อผู้มีศีลสูงกว่า เช่น พระสงฆ์องค์เจ้า ผู้นำศาสนา เพื่อรักษาเมืองแห่งวัฒนธรรม เมืองแห่งศาสนา ให้มั่นคง ยั่งยืน นายนิสิต สวัสดิเทพ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก กล่าวว่า “โครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง” เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้นำทุกระดับในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” บูรณาการการทำงานด้วย “กลไก 357” คือ 3 ระดับ : ระดับชุมชน/หมู่บ้าน ระดับจังหวัด และระดับประเทศ 5 กลไก : การประสานงานภาคีเครือข่าย การบูรณาการแผนงานและยุทธศาสตร์ การติดตามหนุนเสริมและประเมินผล การจัดการความรู้ และการสื่อสารสังคม 7 ภาคีเครือข่าย : ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคผู้นำศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน โดยประชุมสร้างความเข้าใจกำหนด “เป้าหมายเดียวกัน” นำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ผ่านทฤษฎีต้นไม้ของ อ.เมืองพิษณุโลก โดยใช้หลักการทรงงาน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ตามภูมิสังคม โดยเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุด คือ “การพัฒนาคน” ด้วยการปลุกพลังความคิดเพื่อช่วยทำให้เกิดการ Change for Good ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระดมความเห็น วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค ศักยภาพ และโอกาสการพัฒนาตามภูมิสังคม รวมถึงการให้องค์ความรู้โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา และการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ( BCG ) มาต่อยอดโครงการ เพื่อเปลี่ยนเมืองพิษณุโลกให้เป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยขยายผล “ส้มซ่าโมเดล” ไปยังทุกหมู่บ้าน/ตำบล มีทีมอำเภอนำร่องฯ ภาคีเครือข่าย เป็นพี่เลี้ยงและมีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นกลไกหลักในการพัฒนาให้เกิดผล นายอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้นำเสนอการขับเคลื่อนโครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง อย่างน่าสนใจ โดยสรุปว่า “ทีมอำเภอนำร่องฯ ได้สร้างผู้นำในระดับพื้นที่ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. ส่วนราชการ และภาคีอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะ “ผู้นำทำก่อน” ลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อน โดยอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างนักขับเคลื่อนระดับตำบล (D-CAST)” จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวม 300 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ และจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นและสร้างการรับรู้ในระดับตำบล ตำบลละ 100 คน รวม 2,000 คน และนำกิจกรรมปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงผ่าน 6 กิจกรรม คือ 1) น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร “บ้าน” โดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ 19 ตำบล 173 หมู่บ้าน ๆ ละ 20 ครัวเรือน รวม 3,460 ครัวเรือน “วัด” ตำบลละ 1 วัด รวม 19 แห่ง “โรงเรียน” ตำบลละ 1 แห่ง รวม 19 แห่ง ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านมีการปลูกพืชผัก ผลไม้ สมุนไพร อย่างน้อย 15 ชนิด ไว้บริโภคเพื่อลดรายจ่ายหลายแสนบาทและจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในเวลา 3 เดือนจำนวนกว่า 3 ล้านบาท มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ทราบผลการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้มากขึ้น และยังมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน และขยายผลครบทุกครัวเรือน ควบคู่กับ 1 ตำบล 1 ถนนกินได้ เป็นแหล่งอาหารชุมชนสร้างความมั่นคงทางอาหารอีก 19 แห่ง ในระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร 2) ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ผ่านกิจกรรมหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ ห้องเรียนหัวคันนา ครูพาทำ สร้างฐานสอนลูกดำนา ส.ว. เอามื้อสามัคคี ทำให้ยกระดับ บริหารพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้สู่ประชาชนได้ 3) ชุมชนสวัสดิการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยนำกลุ่มเป้าหมายใน TPMAP และ ThaiQM จำนวน 370 ครัวเรือน มาอบรมให้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ อบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ลูกประคบสมุนไพร ยาดม มีการทำกองทุนสวัสดิการเป็นรายได้เพื่อปันน้ำใจช่วยเหลือสังคม และไปพัฒนากลุ่มเปราะบางและผู้ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ 4) ธนาคารพันธุกรรมพืชสร้างเครือข่าย โดยสามารถจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมพืชในทุกตำบล และแหล่งรวบรวมอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืช สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน 5) ตลาดประชารัฐ โดยจัดตลาดหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เชื่อมโยงกิจกรรม “ชินะราชา เบิกฟ้าเสริมบุญ ตักบาตรรับอรุณ หน้าวิหารเสริมพลังศรัทธา @ เมืองสองแคว” ทุกเช้าวันเสาร์ ตั้งแต่ 5:00 – 10:00 น โดยนำผลผลิตจากกิจกรรมบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง โคก หนอง นา ชุมชนสวัสดิการ และพื้นที่การเรียนรู้ชุมชนพัฒนา มาจำหน่ายสร้างรายได้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวนกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลตลาดวัฒนธรรมตลาดชุมชนประจำหมู่บ้าน/ตำบลให้เป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตสร้างรายได้ และ 6) พื้นที่การเรียนรู้ชุมชน เป็นแปลงสาธิตต้นแบบบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง แหล่งขยายพันธุ์ข้าวหลากสี ข้าวพันธุ์พื้นถิ่นกว่า 50 สายพันธุ์ เป็นที่เก็บเกี่ยว/จำหน่ายผลผลิต เป็นตลาดประชารัฐ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และส่งเสริมขยายพื้นที่ต้นแบบให้มีมากขึ้น” จากนั้น ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้นำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อน ได้แก่ 1. โครงการถนนกินได้ ถนนแห่งความสามัคคี ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวตลอดแนวถนน 800 เมตร เพื่อให้เป็นถนนแห่งความสามัคคี เป็นถนนกินได้ 2. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขอดอน ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมูป่า โดยเอามูลหมูทำปุ๋ยบำรุงดิน เลี้ยงกบ ปลาเลี้ยงไก่ เพาะเห็ด พร้อมนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย 3. โคก หนอง นา สาธิตฐานเรียนรู้ โดยมีหลุมพอเพียง ทำให้เราได้พืชผักสวนครัวไว้กินตลอดทั้งปี มีพืชประธานไว้กลางหลุม พืชเลี้ยงไว้บังแดด เพื่อลดและประหยัดการใช้น้ำ และทำแซนวิชปลา ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 4. บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ไม่ใช้สารเคมี แบ่งปันกันกิน พอเหลือกินก็จะขาย 5. วิชชาลัยชาวนา มีแปลงผัก 28 ชนิด บ่อปลา แปลงสาธิตนาข้าวกว่า 50 สายพันธุ์ โดยความร่วมมือกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6. สวนแปลงผักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักขั้นบันไดเพื่อชะลอน้ำมาหล่อเลี้ยงพืชผักสวนครัว ขั้นที่ 1 ถั่วฝักยาว ขั้นที่ 2 พริก ขั้นที่ 3 มะเขือแป้น มะเขือยาว มะเขือเปราะ ขั้นที่ 4 กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผลผลิตทุกอย่างไม่ขาย แต่จะให้ลูกบ้านนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากไร้ เด็กนักเรียน และวัด 7. กิจกรรมบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง เอื้อต่อวิถีชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัว ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และ 8. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การบริการจัดการน้ำ การป้องกันการพังทลายหน้าดินด้วยการปลูกหญ้าแฝก สาธิตการปลูกนาข้าวในรูปแบบนาโยน และปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักในกระถาง ในยางรถยนต์ และจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน น.ส.วรัญญา หอมธูป และ อ.ศรัณย์พร เกิดเกาะ กล่าวว่า ทีม อ.เมืองพิษณุโลก มุ่งพัฒนาโดยยึด”คน” เป็นฐาน สิ่งที่เป็นกลยุทธ์ที่แยบยลที่สุด คือ “การสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนและการลุกขึ้นมาเข้าใจในสิ่งที่เป็นหลักการ” ให้รู้ว่าการพัฒนาพื้นที่และการพัฒนาคนให้มีความสุขที่แท้จริง มีกระบวนการ คือ “ความพอเพียงที่จะทำให้เกิดความพอดี” และแม้ว่าโครงการอำเภอนำร่องฯ จะหมดไป แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะถูกสานต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยความเข้าใจของคน เพราะคนเป็นองค์ความรู้ที่ยั่งยืนที่สุด เมื่อเขาเรียนรู้แล้วก็จะบอกต่อความรู้ไปยังคนอื่น ๆ จนกลายเป็นวิถีชีวิต และส่งต่อจากคนสู่คน ทำให้เกิดผลสำเร็จมากที่สุด และเกิดความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness : GVH ) โดยเติมเต็มด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะคน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้น “ความสำเร็จของเมืองพิษณุโลกอยู่ในใจพวกเราทุกคนแล้ว และนายอำเภอเมืองพิษณุโลกเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างของนายกรัฐมนตรีของอำเภอที่นั่งอยู่ในหัวใจประชาชน ครองตน ครองคน ครองงาน เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอให้นายอำเภอ และชาวมหาดไทยทุกคนได้ยึดเป็นแบบอย่าง และนำแนวทางปฏิบัติมาประยุกต์ในการทำงานเพื่อพัฒนาคนในระดับพื้นที่ อันจะเป็นการสร้างสิ่งที่ดีงาม Change for Good บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชน เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนปรากฏเป็นรูปธรรมตลอดไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม จำนวนผู้ชม : 276 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘กรรมการ มส.’มอบประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ ๑๔ รุ่น ๒,๕๗๓ รูป อุทัย มณี มิ.ย. 18, 2019 วันอังคาร ที่ ๑๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่วัดพิชยญาติการาม… ย้อนรำลึก “พระกิตติวุฑโฒ” 19 ปี เก็บสรีระสังขาร ปิดตำนาน 1 ในวงการสงฆ์ เจ้าของวาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” อุทัย มณี มี.ค. 13, 2024 วันที่ 13 มี.ค. 67 รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์… ในหลวง-พระราชินี ทรงเวียนเทียนเนื่องเนื่องในวันวิสาขบูชา อุทัย มณี มิ.ย. 04, 2023 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี… ศิษย์นับหมื่นร่วมส่ง ‘ครูบาบุญชุ่ม’เข้าถ้ำ ปิดวาจา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน อุทัย มณี เม.ย. 29, 2019 เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 29 เม.ย.2562 เฟซบุ๊ก "สาย เลือน แลง" ได้โพสต์ข้อความแจ้งว่า… ธรรมกายจัดงานวันเด็กชมนิทรรศการพุทธ4.0 อุทัย มณี ม.ค. 05, 2019 คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี… มติมส.ทราบโครงการธนาคารเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาของธ.ออมสิน อุทัย มณี มี.ค. 20, 2019 เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจโท พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์… สุดปลื้ม!สร้าง’พุทธนวัตกร’เป็นวิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนยั่งยืน อุทัย มณี ธ.ค. 02, 2018 วันที่ 2 ธ.ค.2561 เฟซบุ๊ก Phra Dhammawong ได้โพสต์ข้อความว่า "คิดถึงวันนั้น… ส่องศีลธรรม!ส่องผู้สมัครส.ส. พรรคแผ่นดินธรรมทั่วไทย หวังปกป้องพุทธศาสนาในสภา อุทัย มณี ก.พ. 04, 2019 เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2562 วันแรกของการสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศ… “ผอ.สันติศึกษา มจร”เห็นคุณโควิด กระตุ้นคนทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น อุทัย มณี ม.ค. 06, 2021 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… Related Articles From the same category ศาลฏีกาพิพากษาให้ “วัดกัลยาณมิตร” แพ้!! ต้องสร้าง “เจดีย์จอมมารดาแช่ม” ขึ้นใหม่ วันที่ 1 กรกฏาคม 2566 เฟชบุ๊ค กิติบดี ประวิตร ได้โพสต์ขอความเกี่ยวกับการฟ้องร้องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่าง… จับตา!! ผู้จัดการวิสาหกิจ มจร เลือดใหม่!! แก้วิกฤติปัญหาได้หรือไม่?? และแล้วผู้บริหาร “มจร” ก็ได้ฤกษ์คลอด “ผู้จัดการ” รัฐวิสาหกิจ… “ประธานวุฒิสภา” เผยเคยตักเตือน ‘สว.กิตติศักดิ์’ แล้ว อย่าไปมีเรื่องกับใคร วันที่ 20 ก.ย. 66 นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวภายหลังวุฒิสภามีมติไม่ชี้ความผิดนายกิตติศักดิ์… เทวัญ เสนอมส. ถ่ายทอดบทสวดมนต์ ‘บทพระรัตนสูตร’ สร้างขวัญฝ่าวิกฤต’โควิด-19′ ‘เทวัญ’ เสนอ มส.กราบทูลเชิญเสด็จ “สมเด็จพระสังฆราช”… “วิชา” ย้ำไม่ทิ้งผู้นำศาสนา ดึงร่วมสร้างวัฒนธรรมสุจริตธรรมในชุมชนและสังคม วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา…
Leave a Reply