“มารค ตามไท” ชมกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือมีครบ 4 มิติ “สังคมพหุวัฒนธรรม สันติวิธี สันติวิถี และความมั่นคงของชาติ”

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ห้องประชุมภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 13 เปิดเผยว่า ได้ศึกษาดูงานครั้งที่ 3 ภายใต้ “หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 13” (4 ส.13) จัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

โดยรับฟังการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น หัวข้อ “การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมและจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีของกลุ่มชาติพันธุ์” โดย อาจารย์ ดร. มารค ตามไท กล่าวประเด็นสำคัญว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมและการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมุ่งกลุ่มชาติพันธุ์ในมิติภาคเหนือถือว่าเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย “สังคมพหุวัฒนธรรม สันติวิธี สันติวิถี และความมั่นคงของชาติ” โดยมีคำถามกับความมั่นคง โดยสังคมพหุวัฒนธรรมนำไปสู่สันติวิธีอย่างไร ? สันติวิถีนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยคำว่า สังคมพหุวัฒนธรรมกับสันติวิธีจะได้เกี่ยวกับอย่างไร ?

พหุวัฒนธรรมไม่ใช่ยอมรับและเคารพความต่างแต่รวมถึงการมองว่าเป็นเจ้าของประเทศร่วมกันโดยทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน จะทำให้การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ทั้ง Conflict resolution และ Conflict Transformation) เดินหน้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งความหลากหลายเป็นประโยชน์ สร้างภูมิคุ้มกันได้ ความเหมือนสร้างความอ่อนแอ แต่ความหลากหลายมีความเข้มแข็ง จะต้องสร้างความร่วมกันมีความหมายร่วมกัน โดยมีความสำคัญร่วมกัน จึงต้องสร้างพหุวัฒนธรรมในสังคม ซึ่งการจัดการความขัดแย้งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาด้วย เราจะต้องเข้าใจจุดยืนของทุกฝ่าย การรู้จักจุดยืนจะมีความง่ายในการเข้าไปหาทางออกของความขัดแย้ง ซึ่งสันติวิธีเป็นเครื่องมือที่ง่ายในการหาทางออกของความขัดแย้ง “ไม่ง่ายแต่ง่ายขึ้น”

สันติวิถีนำไปสู่สันติวิธี เพราะจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีเข้าไปอยู่เป็นส่วนของจิตวิญญาณของสังคม จะก่อให้เกิดสังคมสันติสุขที่มีวิถีชีวิตที่เรียกว่า “สันติวิถี” ถือว่าเป็นวิถีชีวิตทุกคนมีที่ยืนในสังคม โดยสันติวิธีถูกท้าทายมากว่าแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยจริงหรือไม่ ? จึงมองว่าสันติวิถี นำไปสู่ความมั่นคงของชาติ สันติวิธีจะต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ อะไรคือความมั่นคงของชาติ ใครควรดูแลเรื่องนี้ ซึ่งความมั่นคงของชาติคือการที่คนในชาติพร้อมร่วมกันเสียสละเมื่อเจอภัยต่างๆ ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารต้องวางกำลังอาวุธเเต่ตระหนักความรู้สึกของพลเมืองกลุ่มต่างๆ ว่าเขามีตัวตนมีเสียง มีตัวตนที่สังคมยอมรับร่วมกัน นั่นคือ สังคมอยู่อย่างสันติวิถี

ถามว่าใครจะพร้อมลงมือทำให้เกิดสันติวิถีขึ้น จะต้องไปสร้างความกลัวให้ใครแต่ความเข้มแข็งของประเทศของเรา ความมั่นคงไม่ใช่ไปรวบรวมอาวุธ แต่ต้องสร้างความมิตรกับเพื่อนบ้าน ภัยที่น่ากลัวคือ ภัยที่สติปัญญาไม่ได้ใช้ จึงต้องใช้สติปัญญา โดยให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของประเทศ ซึ่งประเทศที่มีดีจะต้องให้พลเมืองมีความหวัง ไม่ใช่พลเมืองจะต้องเจอสถานการณ์ที่หลังชนผา

งานสันติวิธีเป็นเรื่องของประเทศ ซึ่งการมองประเทศต่างกันสำหรับคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นผ่านประสบการณ์มาเยอะ ซึ่งอายุมากใช่ว่าจะรู้ทุกเรื่อง คนรุ่นใหม่ตั้งคำถาม ซึ่งวัฒนธรรมไทยต้องการความเคารพ แท้จริงคุณค่าของเราคือเคารพตนเอง แต่ถ้าต้องการเคารพจากคนอื่นจึงยอมทำผิดเพื่อให้คนอื่นเคารพ ซึ่งเหมือนกันจะมั่นคง แต่ปัจจุบันมั่งคงไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ซึ่งเราเห็นความแตกต่างในการปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องมีท่าทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องไม่ดูถูกในความเป็นมนุษย์ ไม่มองว่าคนอื่นต่ำกว่า จึงต้องระวังการเหยียด คำถามว่า “รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือไม่อย่างไร” รู้สึกว่าเป็นเจ้าของหรือไม่อย่างไร ?

Leave a Reply