เรื่องเล่า..เจดีย์มอญบ้านทุ่งก้างย่าง พยายามหาข้อมูล “มอญบ้านทุ่งก้างย่าง” ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี อยู่นานพอสมควรว่าเหตุไฉนชุมชนมอญบ้านหลายพันหลังคาเรือนที่เคยเจริญรุ่งเรืองเสมือน “เขตปกครองอิสระ” แห่งหนึ่งในช่วงปี 2500 – 2521 ถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของสังคมไทยและอนุชนคนมอญรุ่นหลัง นอกจากคำเล่าขานอันเป็นตำนานที่ถูกปล่อยออกมาว่า “มอญทุ่งก้างย่าง” มีผู้นำมอญบางคนคิดจะค้าอาวุธและตั้งกองกำลังเป็นของตนเองแล้ว ข้อมูลความยิ่งใหญ่และความเจริญของหมู่บ้านมอญทุ่งก้างย่างก็ห่างหายไปจากสารบบประเทศไทยไป มีคนบอกเล่าว่า “พิสัณฑ์ ปลัดสิงห์” ปัจจุบันอายุ 80 กว่าปีแล้วเคยเขียนเป็นเรื่องเล่ามอญบ้านทุ่งก้างย่างเอาไว้ พยายามหาและขอหนังสือก็ยังไม่ได้ ค้นดูประวัติการสร้างโรงเรียนบ้านทุ่งก้างย่างระบุว่าคนขอให้สร้างในปี 2508 ปรากฏชื่อว่า นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์ ไม่มั่นใจว่าเป็นคนเดียวกันกับคนมอญเรียกผู้นำสุงสุดในหมู่บ้านทุ่งก้างย่างสมัยนั้นว่า “อาจารย์ยัพ” หรือไม่ หากท่านผู้นี้จริง ผิดพลาดประการใดไม่ทราบมีเรื่องเล่าว่า อาจารย์ยัพคือทหารสังกัดในกองพล 93 ของพรรคก๊กมินตั๋ง ภายใต้การนำของเจียงไคเช็ค ในปี 2492 หลังพรรคก๊กมินตั๋งถูก “จีนแดง” ตีทัพร่นเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งหมู่บ้านและชุมชนของตนเองอาศัยอยู่ในพื้นที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และหมู่บ้านถ้ำง้อบ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันกลายเป็นคนไทยหมดแล้ว แต่ยังรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น “บ้านทุ่งก้างย่าง” มีลักษณะเฉกเช่นเดียวกับกับดอยแมสลองและบ้านถ้ำง๊อบภายใต้การนำของอาจารย์ยัพ ซึ่งเป็นทหารสังกัดในกองพล 93 แยกตัวออกมาสร้างชุมชนของตนเอง และเชิญชวนคนมอญในยุคนั้นมาร่วมกันทำมาหากินในพื้นที่ ๆ อาจารย์ยัพดูแล ซึ่งเชื่อกันว่า มีฝ่ายมั่นคงไทยและซีไอเอคอยดูแลและหนุนหลังอยู่ ประมาณปี 2520-2522 รัฐบาลไทยมองว่าหมู่บ้านมอญทุ่งก้างย่างนับวันยิ่งขยายขึ้นมีบ้านเรือนหลายพันหลังคาเรือน แม้ภาครัฐขอให้ทำบัตรประชาชนเป็นคนไทยก็ไร้คนทำ ท่ามกลางข่าวลือว่ามีการตั้งกองกำลังติดอาวุธและค้าอาวุธ จำเป็นต้อง “สลายหมู่บ้าน” จึงขอความร่วมมือให้ย้ายไปที่อื่นหรือบางครัวเรือนไม่มีที่ไป ทหารกองพลที่ 9 ก็ยินดีบริการรถไปส่งแถวสังขละบุรีและเจดีย์สามองค์ให้ สุดท้ายหมู่บ้านมอญทุ่งก้างย่างก็ “ล่มสลาย” เหลือไว้แต่เพียงร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าขานการล่มสลายของหมู่บ้านแห่งนี้จริงบ้างไม่จริงบ้าง แล้วแต่ “มุมมอง” ของแต่ละคน “พระเจดีย์ศิลปะมอญ” ตั้งตะหง่านสวยงามเด่นสง่าบนภูเขาทุ่งก้างย่าง มองลงไปเห็นทุ่งราบกว้างใหญ่ผ่านหมู่บ้านที่ผู้คนเคยอาศัยอยู่หลายพันครัวเรือน มีผู้คนหลายหมื่นคน เห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดนอนยาวขวางกั้นระหว่างแดนไทยกับพม่าดูแล้วสวยงามยิ่งยามพระอาทิตย์ตก ยิ่งสวยงาม พระเจดีย์ศิลปะมอญองค์นี้ สิ่งเดียวที่ยังหลงเหลือคงไว้เป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงซึ่งความยิ่งใหญ่ของหมู่บ้านมอญแห่งนี้จากข้อมูลเอกสารภาษามอญเขียนด้วยลายมือลงชื่อเจ้าอาวาสวัดมอญทุ่งก้างย่างระบุว่า “เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2516 แล้วเสร็จวันที่ 22 มีนาคม 2519 ในขณะที่เขียนท่านมีอายุ 80 พรรษา 57 ไม่สามารถดูแลต่อไปได้แล้ว จึงอนุญาตให้ใครก็ได้ที่มีความสามรถไปบูรณะปฎิสังขรณ์ตามใจชอบได้..” “ผู้เขียน”เคยขึ้นไปสักการะเจดีย์องค์นี้ประมาณเมื่อปี 2559 สมัยที่มีพระสงฆ์มอญและชาวมอญกลุ่มหนึ่งร่วมกันบูรณะปฎิสังขรณ์ หลังจากนั้นก็ไม่ได้ขึ้นไปสักการะถูกปล่อยให้รกร้างทรุดโทรมตั้งแต่นั้นมา จนถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้มีเหตุบังเอิญกลับบ้านพ่อและแม่ที่สวนไทรโยค น้ำไม่ไหล อยากไปดูต้นน้ำที่เคยของบประมาณ 36 ล้านบาท จากกรมชลประทานยุค ดร.ทองเปลว กองจันทร์ เป็นอธิบดี ตอนหลังย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงเกษตร ก็ตามให้อยู่ แต่มีแกนนำบ้านทุ่งก้างย่างบางคนไม่เห็นด้วยที่จะกระจายน้ำมายังอีกหมู่บ้านแห่งหนึ่ง “ผู้เขียน” เห็นว่ามีความเห็นต่างในพื้นที่ ไม่อยากวุ่นวาย แผนนี้จึงถูกพับไป ขับรถไปเห็นเจดีย์บนภูเขาท่ามกลางความแห้งแล้งและมีร่องรอยของไฟป่า ตระเวนขับรถดูร่องรอยแห่งหมู่บ้านแห่งนี้ปัจจุบันสวนมะพร้าวขนาดใหญ่ไม่มีแล้ว บ้านเรือนหายเกลี้ยง มีแต่หมู่บ้านที่ราชพัสดุจัดสรรที่ดินให้เกิดขึ้นใหม่ มีห้องแถวเก่า ๆ ของทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 พยายามหาทหารในพื้นที่เพื่อถามว่า หากต้องการบูรณะเจดีย์จะต้องทำอย่างไร แต่ไม่เห็นทหารสักนาย จึงโทรหานายเทศมนตรีเทศบาลไทรโยค และพลเอกธงชัย เกื้อสกุล ซึ่งเป็นทหารที่เคยอยู่ในพื้นที่ยุคก่อนปี พ.ศ.2520 ซึ่งทั้งสองท่านยินดีประสานให้ทั้งทหารในพื้นที่และระดับบน ความหวังเริ่มมี จึงติดต่อกับลูกหลานคนมอญที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้าง พยายามหาข้อมูลการสร้างเจดีย์บ้าง สุดท้ายนายกเทศมนตรีเทศบาลไทรโยค มอบให้ “พี่สมหวัง” ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในพื้นที่รับเป็นแม่งานหลักในการประสานกับคนมอญในพื้นที่โดยมีสมาชิกเทศบาลในพื้นที่ตั้งเจดีย์เป็นแม่งานสนับสนุน งานจึงเดินหน้าแบบราบรื่นทั้งประสานกับหน่วยทหารและเจ้าหน้าที่อุทยาน อนาคตหากไม่ผิดพลาดประการใดเท่าที่คุยกับนายกเทศมนตรีไทรโยค สถานที่ตั้งเจดีย์แห่งนี้อาจพัฒนาไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เนื่องจากหมู่บ้านมอญทุ่งก้างย่างมีเรื่องเล่ามีประวัติศาสตร์ และที่สำคัญที่ตั้งของเจดีย์อยู่ห่างจากถนนใหญ่ไม่เกิน 2 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวท่านใดต้องการจะเดินทางไปเที่ยวสังขละบุรี ทองผาภูมิ หรือน้ำตกไทรโยคใหญ่ หากต้องการสักการะบูชาเจดีย์ศิลปะมอญแห่งนี้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว พร้อมกับเก็บภาพบรรยากาศสวยงามก็ไม่ควรพลาด..ทั้งหมดที่เล่าคือความเป็นมาของหมู่บ้านมอญทุ่งก้างย่างพอสังเขป และรวมทั้งจุดมุ่งหมายในการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์แห่งนี้ ที่เล่ามานี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เป็นเรื่องเล่าจากประชาชนคนมอญและลูกหลานที่เคยอยู่ในพื้นที่ตรงนั้น ข้อมูลเหล่านี้นำไปอ้างอิงอะไรไม่ได้ ทั้งประวัติความเป็นมาของการสร้างเจดีย์จากลายมือเจ้าอาวาสที่เป็นภาษามอญที่ระบุไว้เป็นจุลศักราช 1335 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 วันศุกร์ เมื่อค้นดูในปฎิทิน 100 ปี เป็นวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2516 มิใช่วันศุกร์ตามที่เจ้าอาวาสท่านระบุไว้ การบูรณะเจดีย์แห่งนี้ต้องร่วมด้วยช่วยกัน เนื่องจากตรงนั้นไม่มีวัดและคนดูแลแล้ว ถือว่าเป็น “สมบัติของแผ่นดิน” ที่ทุกภาคส่วนต้องพื้นฟูและพัฒนา เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยกันครับ.. จำนวนผู้ชม : 1,230 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author สมาคมวอลเลย์บอลแจง “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับสัญลักษณ์ชูนิ้ว “โยงการเมือง” อุทัย มณี มิ.ย. 30, 2023 วันที่ 30 มิ.ย. 66 วันนี้สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่เป็นกระแสข่าวในขณะนี้ว่า… ประชุม “พระธรรมทูตโลก” ณ USA “สมเด็จธีร์” เน้น พระธรรมทูตต้อง “สำรวม ใช้ปัญญา รักษาศรัทธาให้มั่นคง” อุทัย มณี มิ.ย. 11, 2022 วันนี้ 11 มิ.ย. 65 วานนี้เวลา 9.00 น. เวลาท้องถิ่น ณ วัดไทยลอสแองเจลีส… อธิบดี พช. พร้อมคณะเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม “พระธรรมรัตนากร” อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ท่าเตียน อุทัย มณี มี.ค. 27, 2021 ค่ำวานนี้ (26 มี.ค.64) เวลา 18.30 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… ผู้ปฏิบัติธรรม ศอ.บต. เยี่ยมชมดินแดนพุทธภูมิ สัมผัสวิถีวัฒนธรรมชาวฮินดู อุทัย มณี ม.ค. 22, 2023 เมื่อวานนี้ 21 มกราคม 2566 คณะผู้แสวงบุญภายใต้กิจกรรมส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติธรรมแหล่งสังเวชนียสถาน… “ณพลเดช” ชี้ “ต้นเรื่องพระห้ามเลือกตั้ง” เพราะรัฐบาลเผด็จการแอบแก้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2511 อุทัย มณี ต.ค. 31, 2022 วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ที่วัดโฝวกวงซัน(Fo Guang Shan) ประเทศไต้หวัน ดร.ณพลเดช… น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “ปลัดเก่ง” ลงชายแดนใต้ เปิดงาน “”วันท้องถิ่นไทย” ด้วยความจงรักภักดี อุทัย มณี มี.ค. 18, 2023 วันที่ 18 มี.ค. 66 เวลา 08:10 น. ที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว… สอบนักธรรมร.ร.พระปริยัติธรรมบาลี คณะสงฆ์เถรวาททางใต้สุดเวียดนาม อุทัย มณี ม.ค. 24, 2021 เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2564 เพจ SAwai Chotiko ได้โพสต์ข้อความว่า ระหว่างวันที่… “ตั๊น จิตภัสร์” ปลีกศึกซักฟอก! ถวายน้ำปานะ พระภิกษุ – สามเณร เรียนบาลีวัดโมลี อุทัย มณี ก.ค. 21, 2022 วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ… วัดลาดปลาเค้า “เป็นสะพานบุญ” ช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อุทัย มณี พ.ค. 30, 2021 วันที่ 30 พ.ค. 2564 พระมหาเขมานันท์ ปิยสีโล ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า… Related Articles From the same category “สมเด็จพระมหาธีราจารย์” พบ “ผู้บริหารวัดพระเชตุพน” มหาฤกษ์มาประทับจริง 23 พ.ค.นี้ เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (15 เม.ย.64) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร… “เจ้าคุณประสาร” หารือ คณะสงฆ์ลาว เตรียมลงนาม MOU ร่วมมือด้านการศึกษา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ฯ ” เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” วันที่ 23 ม.ค. 65 เวลา 10.00 น. ที่วัดธาตุประสิทธิ์ และหอประชุมโรงเรียนนาหว้าพิทยาคม… พช.ร้อยเอ็ดร่วมกับคณะสงฆ์จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคีปลูกสมุนไพรต้านภัยcovid-19” เฉลิมพระเกียรติ “พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด… รายชื่อพระภิกษุ-สามเณรผู้สอบได้ประโยคป.ธ.๖-๘ ทั่วประเทศ รายชื่อพระภิกษุ -สามเณรผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.๘ จำนวน ๖๙ รูป …
Leave a Reply